ถาม-ตอบทุกหมวดหมู่

แสดง 1 - 20 จาก 935
หน้า
  • ถาม-ตอบ
    การเกษตรทั่วไป
    ถ้าเปลี่ยนชื่อผู้ถือสมุดไปแล้วแต่จะเปลี่ยนคืนกลับมาได้ไหม
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 23 เมษายน 2567
    ได้ค่ะ ให้นำหลักฐานไปติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอที่เคยลงทะเบียนไว้เท่านั้นนะคะ แล้วยื่นแบบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร (ทบก.) พร้อมแนบหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาของผู้ยื่นคำร้อง หากมีสมุดเล่มเขียวก็ให้นำติดตัวไปด้วยค่ะ สามารถอ่านคำอธิบายเพิ่มเติมได้จากภาพประกอบด้านล่างนี้นะคะ ใช้แบบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร (ทบก.) โดยสมาชิกในครัวเรือน มีความประสงค์เปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนต้องมีหนังสือยินยอมจากสมาชิกในครัวเรือนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง พร้อมรับรองสำเนา หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อผ่านช่องทาง Facebook ทางอินบ็อกซ์ Facebook Digital DOAE ได้ที่ https://web.facebook.com/digitaldoae/ หรือสอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่ โทร. 0 2579 3926 หรือที่ไลน์ @yzd6514b โดยเจ้าหน้าบริการตอบข้อมูล เวลา 08.00-16.30 น. ในวันและเวลาราชการค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 21 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    การเกษตรทั่วไป
    เปลี่ยนผู้ถือสมุดจากตาเป็นหลานแล้วเปลี่ยนจากหลานเป็นแม่ของหลานได้ไหมครับ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 23 เมษายน 2567
    ได้ค่ะ ให้นำหลักฐานไปติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอที่เคยลงทะเบียนไว้เท่านั้นนะคะ แล้วยื่นแบบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร (ทบก.) พร้อมแนบหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาของผู้ยื่นคำร้อง หากมีสมุดเล่มเขียวก็ให้นำติดตัวไปด้วยค่ะ สามารถอ่านคำอธิบายเพิ่มเติมได้จากภาพประกอบด้านล่างนี้นะคะ โดยใช้แบบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร (ทบก.) โดยสมาชิกในครัวเรือน มีความประสงค์เปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนต้องมีหนังสือยินยอมจากสมาชิกในครัวเรือนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง พร้อมรับรองสำเนา หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อผ่านช่องทาง Facebook ทางอินบ็อกซ์ Facebook Digital DOAE ได้ที่ https://web.facebook.com/digitaldoae/ หรือสอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่ โทร. 0 2579 3926 หรือที่ไลน์ @yzd6514b โดยเจ้าหน้าบริการตอบข้อมูล เวลา 08.00-16.30 น. ในวันและเวลาราชการค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 20 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    ความผิดปกติของพืช
    สวัสดีครับ ต้นขนุนปลูกแถวประเวศ มีอาการใบร่วงเยอะมาก และปลายกิ่งแห้ง มีอาการมาตั้งแต่ต้นปี ปกติใช้น้ำจากคลองประเวศฯ รด ขอทราบวิธีรักษาครับ ขอบคุณครับ
    รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี
    ตอบเมื่อ 19 เมษายน 2567
    สันนิษฐานว่า แหล่งน้ำที่ใช้มีความกร่อย/ความเค็ม ดินน่าจะมีความเค็ม อาการเหมือนเกิดจากดินเค็ม/น้ำเค็ม เพราะขนุน/มะม่วงอ่อนแอต่อความเค็มมาก ๆ ครับ ถ้าเป็นเพราะความเค็ม เบื้องต้นให้แก้ปัญหาแบบนี้ครับ - หาปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก โรยใต้พุ่ม อย่าให้หนาเกิน 5 ซม. - หาวัสดุ ฟาง หญ้าแห้งคลุมใต้พุ่ม อย่าให้ผิวดินสัมผัสแดด/ลม - ใช้น้ำจืด รดน้ำอย่าให้ดินแห้ง แต่ต้องอย่าให้แฉะ สักระยะหนึ่ง 2-3 เดือน อาการจะดีขึ้นครับ *ช่วงนี้คลองประเวศฯ ไม่แน่ใจว่าน้ำเค็มขึ้นถึงรึไม่นะครับ คงต้องเช็คค่า EC น้ำในคลองจะแน่ชัดขึ้นครับ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 19 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    ความผิดปกติของพืช
    ปาล์มน้ำมัน อายุ 9 ปี ทางใบพับลงหมดเป็นเพราะอะไร ควรแก้ไขอย่างไรได้บ้างคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 17 เมษายน 2567
    ตอบ คุณ Mily boon-Itt ได้นำข้อมูลไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ แจ้งว่าอาการดังกล่าวเรียกว่า ปาล์มนุ่งโสร่ง เกิดจากการขาดน้ำ เพราะมีช่วงแล้งติดต่อกันนานหลายเดือน การแก้ไขยังทำอะไรไม่ได้มากนะครับ ปล่อยไปตามสภาพ รอฝนตก และควรใส่ปุ๋ยบำรุงตามปกติ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 17 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    ความผิดปกติของพืช
    อยากทราบว่าจอกขอบใบไหม้เกิดจากอะไรและมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขอย่างไรครับ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 17 เมษายน 2567
    วิธีแก้ไขให้แยกต้นที่ยังดีมาปลูกกลางแจ้ง แล้วเด็ดใบที่มีปัญหาออกให้หมดค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 17 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    โครงสร้างของพืช
    หนูรบกวนถามเรื่องตำลึงหน่อยค่ะ เรื่องเพศผู้เพศเมียเราจะดูออกตอนพืชอายุเท่าไรคะ มีเกษตรกรบอกว่าปลูกไปนาน ๆ จากกลายเป็นเพศผู้เยอะเก็บขายไม่ได้ ต้องทำอย่างไรคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 3 เมษายน 2567
    การแยกเพศของต้นตำลึงให้สังเกตุตอนออกดอก เพราะการแยกเพศของตำลึงนั้นเราจะดูที่เพศของดอก (ตามรูปประกอบด้านล่างค่ะ) และต้นตำลึงจะไม่กลายเพศ แต่จะเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันคนละต้น กรณีที่มีแต่ใบที่เว้าและไม่พึงประสงค์ ขอให้เกษตรกรรื้อและปลูกใหม่และควรทำค้างให้เกาะค่ะ เพราะตำลึงเป็นพืชที่โตเร็ว โดยเฉพาะเมื่อปลูกในช่วงที่เหมาะสมคือต้นฤดูฝน ก็จะแตกยอดให้เก็บจำนวนมาก
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 3 เมษายน 2567
  • ถาม-ตอบ
    ความผิดปกติของพืช
    ใบตำลึงมีอาการผิดปกติเป็นที่ใบล่างตามภาพที่แนบมา อาการเหมือนกะเพราที่ส่งมาถามก่อนหน้า รดน้ำวันละครั้งจะชุ่มไปไหมคะ หรือมากไปไหมคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 29 มีนาคม 2567
    อาการปลายใบไหม้แบบนี้น่าจะมาเกิดสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงนี้ ถ้าเป็นไม่มากเด็ดออกได้เลยค่ะ ส่วนเรื่องการรดน้ำ วันละครั้งไม่มากไปค่ะ ปกติถ้าอากาศร้อนจัดเช่นในช่วงนี้ สามารถรดน้ำเพิ่มได้ค่ะ โดยสังเกตุจากวัสดุปลูก ถ้าวัสดุปลูกแห้งก็รดน้ำได้ค่ะ การตรวจสอบให้ใช้นิ้วจิ้มลงดินปลูก หากดินชื้นจะรู้สึกถึงความเย็น นิ้วจะไม่เปียกหรือแห้ง จะมีเศษดินติดรอบนิ้วขึ้นมาเล็กน้อยอันนี้ไม่ต้องรดน้ำ แต่ถ้าหากดินแฉะจะรู้สึกถึงความเปียก เหลว เละอย่างชัดเจน อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าแฉะไป ก็ควรงดน้ำ * วิธีการดูแลต้นตำลึงหากไม่มีฝนตกควรรดน้ำให้ชุ่มทุกวันเพื่อป้องกันไม่ให้ดินแห้งจะช่วยให้ต้นตำลึงแตกยอดและโตไวขึ้น เมื่อต้นตำลึงเริ่มโตและขึ้นค้างควรจัดเถาให้เป็นระเบียบเพื่อที่จะได้รับแสงและสังเคราะห์แสงไปเลี้ยงต้นได้เต็มที่
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 29 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก แมลงหวี่ขาว หนอนแมลงวันชอนใบ ผีเสื้อหัวกะโหลก ด้วงเต่า ผีเสื้อปีกไข่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ด้วงหมัดผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก ต้องใช้ชีวภัณฑ์อะไรในการป้องกันกำจัดได้บ้างคะ ขอรบกวนด้วยนะคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 29 มีนาคม 2567
    1. เพลี้ยอ่อนใช้บิวเวอเรีย 2. หนอนกระทู้ผัก ใช้แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis 3. แมลงหวี่ขาวใช้บิวเวอเรีย 4. หนอนแมลงวันชอนใบ ใช้จุลินทรีย์แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) หรือเชื้อราเมตาไรเซียม ใน การป้องกันกำจัด 5. ผีเสื้อหัวกะโหลก ใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทรูริงเจนซิส (บีที) 6. ด้วงเต่า ใช้ชีวภัณฑ์เมตาไรเซียม และใช้น้ำส้มควันไม้ช่วยป้องกัน 7. ผีเสื้อปีกไข่ใช้ชีวภัณฑ์เมตาไรเซียม 1. หนอนกระทู้หอม ใช้ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedroviral Virus: NPV) หรือใช้แบคทีเรีย (BT) Bacillus thuringenensis 2. หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ใช้สารป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น โพรฟีโนฟอส หรือโพรไทโอฟอส หรือแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 3. ด้วงหมัดผัก อ่านวิธีป้องกันกำจัดได้จาก เะอกสารจากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เรื่อง "ระวังด้วงหมัดผักและหนอนกระทู้ผักผในพืชผักตระกูลกะหล่ำ ในข้อทูลเพิ่มเติมด้านล่าง 4. หนอนแมลงวันชอนใบ ใช้จุลินทรีย์แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) หรือเชื้อราเมตาไรเซียม ใน การป้องกันกำจัด 5. หนอนคืบกะหล่ำ ใช้สารที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน หรือเดลทาเมทริน หรือคลอฟลูอาซูรอน 6. หนอนใยผัก ใช้ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki และสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ได้แก่ สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโทลเฟนไพแร็ด 16% EC อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออินดอกซาคาร์บ 15% SC อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้ ศัตรูพืชบางชนิดต้องใช้การป้องกำจัดโดยวิธีผสมผสานจึงจะได้ผล เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก คู่มือป้องกันแมลงศัตรูผัก ด้านล่างประกอบค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 29 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    หนูรบกวนสอบถามศัตรูพืชของผักบุ้งจีนและคะน้าหน่อยค่ะ อีบุคส์ที่ให้มีแต่โรคค่ะ หนูขอรบกวนด้วยนะคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 27 มีนาคม 2567
    เกษตรกรสามารถศึกษาข้อมูลจากหนังสือ โรค-แมลงศัตรูผัก และการป้องกันกำจัด จากข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างได้ค่ะ ศัตรูพืชที่พบระบาด ได้แก่ ผักบุ้งจีน : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก แมลงหวี่ขาว หนอนแมลงวันชอนใบ ผีเสื้อหัวกะโหลก ด้วงเต่า ผีเสื้อปีกไข่ คะน้า : หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ด้วงหมัดผัก หนอนแมลงวันชอนใบ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 27 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    มวนปีกแก้ว ต้องใช้บิวเวอเรีย หรือเมทาไรเซียมคะ หนูหาข้อมูลจากผู้ขายชีวภัณฑ์ไม่พบชื่อของเขาค่ะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 27 มีนาคม 2567
    การป้องกันกำจัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ป้องกันกำจัดแมลง ให้พ่นด้วยน้ำ หรือน้ำสบู่บ่อย ๆ ก็สามารถช่วยกำจัดเพลี้ยชนิดนี้ได้ แต่ถ้าระบาดมากสามารถใช้เชื้อราเมธาไรเซียม หรือบิวเวอร์เรียควบคุมก็ได้ค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 27 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    ความผิดปกติของพืช
    การผลิตพืช
    ใบกะเพราของหนูโดนหนอนกัดไหมคะ หนูไม่เจอตัวเค้า รบกวนขอทราบข้อมูลศัตรูพืชของกะเพราและโหระพาด้วยนะคะ ที่ผ่านมาหนูใช้บิวเวอเรีย และบาซิลลัส ทุริงเยนซิสค่ะ ตามข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ต ไม่รู้ว่าถูกต้องไหมนะคะ ส่วนนี่คือใบล่างสุดที่ติดกับดินค่ะ มีอาการแบบในรูป ต้องแก้ไขอย่างไรบ้างคะ หนูตัดดอกออกตั้งแต่อายุ 3 เดือน แบบนี้ไวเกินไปไหมคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 27 มีนาคม 2567
    - ถ้าปลูกไม่มาก แค่เด็ดใบทิ้งเดี๋ยวก็แตกใหม่ ปกติกะเพราจะชอบแดดจัด ลองย้ายกระถางออกไปรับแดดบ้างก็ดีนะคะ และเมื่อต้นแก่และติดดอกควรตัดแต่งออก ก็จะช่วยยืดอายุกะเพราออกไปได้ค่ะ รอยกัดไม่น่าห่วงค่ะ เพราะเท่าที่สังเกตจากภาพที่ส่งมาอาจเป็นจากสาเหตุอื่นได้ แต่ถ้ามีรอยทางเดินเหมือนแผนที่คือ หนอนชอนใบค่อยพ่นสารป้องกัน และในฤดูร้อนช่วงแล้งๆ แบบนี้จะพบศัตรูพืชที่สำคัญคือ มวนแก้ว หรือมวนปีกแก้วกะเพราตามใบกะเพรา มวนแก้วจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบสีซีดโทรม ชะงักการเจริญเติบโต กรณีที่ปลูกไว้ไม่มากการป้องกันกำจัดควรหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ให้พ่นด้วยน้ำ หรือน้ำสบู่บ่อย ๆ ก็สามารถช่วยกำจัดเพลี้ยชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถศึกษาศัตรูพืชของกะเพราและโหระพา ได้จากเอกสาร "แมลงศัตรูพืช กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี และการป้องกันกำจัด" จากข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 27 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    สวัสดีค่ะ ต้นพุดศุภโชคมีอาการใบเหลืองแดงและใบหยิกมา 2 อาทิตย์แล้ว และทำให้เหี่ยวตาย ก่อนหน้านี้ได้พ่นยาแก้เพลียค่ะ จะแก้ไขแบบไหนคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 25 มีนาคม 2567
    ตอบ คุณ 65002/แอน อาการคล้ายโดนพวกแมลงปากดูดเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยไฟ คำแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ทำได้โดย 1. เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรงให้ใช้สารสกัดใบยาสูบ พ่นทุก 2-3 วัน และเมื่อประชากรเพลี้ยไฟลดลงแล้วสามารถพ่นสารสกัดใบยาสูบทุก 7-10 วัน โดยสลับกับการพ่นไวท์ออยล์ หรือปิโตรเลียมออยล์ 5-7 วัน/ครั้ง 2. และเมื่อประชากรเพลี้ยไฟลดลง ให้ใช้สารสกัดสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ชีซี/น้ำ 20 ลิตร พ่น 1 ครั้ง/สัปดาห์ 3. ใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราเมตาไรเชียม หรือเชื้อราบิวเวอเรีย ฉีดพ่น 1 ครั้ง/สัปดาห์ 4. ใช้กับดักกาวเหนียวติดตั้งรอบบริเวณแปลง 5. กำจัดวัชพืชรอบแปลงซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยไฟ ทั้งนี้ เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดในสภาวะที่อากาศร้อนจัดและลมแรง ควรลดความเครียดของพืชก่อน โดยการพ่นปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลักทั้ง N-P-K แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยพ่นสารกำจัดเพลี้ย แล้วเว้นระยะไว้ 2-3 วันจึงพ่นสารกำจัดเพลี้ยไฟอีกครั้งหนึ่ง จะสามารถลดปริมาณตัวอ่อนที่ฟักออกมาใหม่ได้ หลังจากนั้นสังเกตยอดที่แตกมาใหม่ และสำรวจปริมาณเพลี้ยไฟในแปลง ถ้ายังพบตัวอ่อนหลงเหลืออยู่ ก็อาจต้องพ่นซ้ำอีกครั้ง ที่ต้องพ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อ เพื่อลดปริมาณประชากรเพลี้ยไฟให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 25 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    สวัสดีครับ ผมประสบปัญหาต้นขนุนมีอาการ ใบเหลืองทั้งต้นและร่วงเยอะมาก ลำต้นมีลักษณะแตกร่อน ด้านในมีแผลสีเหมือนสนิมตามภาพ คิดว่าน่าจะมาจากให้น้ำมากไป เพราะเปิดspringer สำหรับหญ้าภายในสวนครับ รบกวนขอสอบถามวิธีรักษา และป้องกันในอนาคตด้วยครับ ขอขอบพระคุณครับ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 25 มีนาคม 2567
    ลักษณะคล้ายถูกด้วงเจาะลำต้นขนุนเข้าทำลายค่ะ โดยตัวด้วงจะไข่ที่เปลือกแล้วจะเจริญเติบโตเป็นหนอนเจาะไชเข้าไปในลำต้น ต้นที่ถูกทำลายจะเริ่มมีใบเหี่ยวและใบหล่น ถ้าเป็นกิ่งเล็กอาจถูกเจาะจนหัก ถ้าการทำลายสูงจะทำให้ต้นขนุนเหี่ยวแห้งตาย การป้องกันกำจัดทำได้โดย 1) ดูแลตกแต่ง โดยริดกิ่งแห้ง หรือทำลายต้นที่ตายโดยการเผาหรือนำออกไปทิ้งนอกแปลงปลูก 2) กิ่งที่ถูกทำลายควรตัดทิ้งแล้วทำลายตัวหนอนและดักแด้ที่พบ 3) โคนต้นและรากที่มีรอยถูกทำลายควรรดให้ด้วยยาน้ำ บีเอชซี (เบนซีนเฮกซะคลอไรด์) [BHC (benzene hexachloride)] ความเข้มข้น 0.1% 4) ขุดดินรอบโคนต้นให้ลึกประมาณ 1 ฟุต โรยด้วยยาผง บีเอขซี 10% รอบโคนต้นในอัตราส่วน 300-500กรัมต่อต้น แล้วกลบด้วยดิน 5) ใช้สำลีจุ่มสารป้องกันกำจัดแมลงชนิดดูดซึมอุดเข้าไปที่รูที่ถูกทำลาย แล้วปิดรูด้วยดินเหนียว
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 24 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    สวัสดีครับ ไม่ทราบว่าจะหาซื้อ NEMA DOA 50 WP ได้ที่ไหนครับ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 25 มีนาคม 2567
    ลองติดต่อ กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0 2579 4535 ต่อ 138 (ปาริชาติ จำรัสศรี นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ ติดต่อ 08 1239 4191) (อัจฉรียา นิจจรัลกุล นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ ติดต่อ 09 9263 0263) ค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 24 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    การผลิตพืช
    สวัสดีค่ะ หนูขอรบกวนวิธีการเพาะเมล็ดมะเขือพวงและปวยเล้งค่ะ เนื่องจากเพาะมา 1 อาทิตย์แล้วยังไม่งอกเลยค่ะ ต่างจากผักสวนครัวและผักสลัดอื่น ๆ ที่หนูเพาะแล้วงอกไว หนูใช้พีทมอสเพาะค่ะ จะทำอย่างไรให้เขางอกได้ไวขึ้นคะ หนูรบกวนสอบถามอีกเรื่องนะคะ เราควรโรยหน้าด้วยพีททอสในเมล็ดชนิดไหนคะ เพราะเมล็ดบางอย่างโรยด้วยพีทมอสก็ทำให้อัตราการงอกต่ำลง หนูค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือไม่เจอเลยค่ะ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์และนักวิชาการทุกท่านที่เมตตาให้ความรู้นะคะ 🙏♥️
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 19 มีนาคม 2567
    - ทั้งนี้ ไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่นำมาเพาะเป็นเมล็ดที่เก็บไว้นานหรือไม่ ถ้าเก็บไว้นานอัตราการงอกก็จะลดลงเรื่อยๆ ค่ะ ในกรณีเป็นเมล็ดที่ยังใหม่อยู่ ก็สามารถเร่งการงอกได้ เช่น มะเขือพวง ควรแช่เมล็ดก่อนปลูกค่ะ โดยนำเมล็ดไปแช่น้ำแล้วห่อด้วยผ้าหมาด ๆ ทิ้งไว้ 1-2 วัน หรืออาจจะแช่น้ำอุ่นประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส (อุ่นพอที่จะแช่มือลงไปได้) นานประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาห่อผ้าหมาด ๆ จะช่วยเร่งความงอกได้ นำเมล็ดลงเพาะในแปลงเพาะหรือกระบะเพาะ หมั่นรดน้ำดูแลจนอายุได้ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ - ส่วนปวยเล้งควรเพาะดังนี้ นำเมล็ดปวยเล้งไปแช่ในน้ำ 1 คืน นำกล่องพลาสติกที่มีฝาปิด รองด้านในด้วยกระดาษทิชชู่ 2-3 ชั้น แล้วพรมน้ำพอชุ่มทั่วกระดาษ เทน้ำที่ค้างออก นำเมล็ดปวยเล้งที่แช่น้ำมาแล้วโรยลงบนกระดาษทิชชู่ ปิดฝาให้สนิทแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นช่องแช่ปกติ ประมาณ 7-14 วัน เมล็ดปวยเล้งจะเริ่มแตกออก และมีปลายรากโผล่ออกมาจากเมล็ด จึงสามารถนำเมล็ดที่มีรากงอกออกมานั้นไปเพาะลงวัสดุปลูก **ทั้งนี้ ปวยเล้งเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น สามารถปลูกได้ดีในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและช่วงแสงสั้น จึงจะได้ผลผลิตค่ะ กรณีที่ปลูกในสภาพที่ไม่เหมาะสมอาจเจริญเติบโตช้า - ประโยชน์ของพีทมอส​​ คือช่วยรักษาความชื้น สามารถเก็บความชื้นและปลดปล่อยออกมาให้พืชอย่างช้า ๆ เมื่อพืชต้องการ ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะ ส่วนการคลุมด้วยพีทมอสมักจะใช้กับเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เมล็ดผักสลัด ส่วนเรื่องอัตราการงอกของเมล็ดพืชต้องอาศัยปัจจัยทั้งหมด 4 อย่างในการเจริญเติบโต คือ น้ำ แสง อุณหภูมิ และออกซิเจน ซึ่งพีทมอสเป็นเพีียงหนึ่งในปัจจัยควบคุมเรื่องน้ำ - หากชอบปลูกผักอาจนำวัสดุปลูกจำพวกดินผสมปุ๋ยมูลไส้เดือนมาใช้ก็จะได้ผลดีค่ะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 19 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    โรคพืช
    ศัตรูพืช
    ปุ๋ย
    หนูรบกวนสอบถามเกี่ยวกับตำลึงค่ะ เท่าที่ค้นหาข้อมูล พบว่ามีโรคราแป้ง ราน้ำค้าง และแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยไฟ มีเพียงเท่านี้ใช่หรือไม่คะ (โรคราแป้งหนูค้นพบจากอีบุคส์ที่แนบมาในคำตอบที่แล้วค่ะ) ส่วนศัตรูพืชค้นหาในอินเทอร์เน็ตค่ะ ถ้าหากไม่ใช่ฤดูฝน หรือฤดูหนาว สามารถเกิดโรคราแป้งและราน้ำค้างได้ไหมคะ และพืชอีก 1 ชนิดที่หนูปลูก คือ มะแว้ง ค้นหาข้อมูลแล้ว หนูพบแค่เพลี้ยอ่อน กับเพลี้ยไฟที่เข้าทำลาย ส่วนโรคไม่พบค่ะ ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่คะ หนูรบกวนขอวิธีการใส่ปุ๋ยและสูตรปุ๋ยสำหรับต้นตำลึง และมะแว้งด้วยนะคะ หาข้อมูลไม่เจอเลยค่ะ วันนี้หนูรบกวนถามหลายเรื่อง ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์และนักวิชาการทุกท่านด้วยนะคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 19 มีนาคม 2567
    ขอตอบทีละข้อ ดังนี้ - ใช่ค่ะ ตำลึงไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมากนัก จึงเน้นที่การป้องกันมากกว่า โดยใช้น้ำส้มควันไม้พ่น 2 อาทิตย์ครั้ง กรณีของเพลี้ยไฟอาจต้องใช้ชีวภัณฑ์และสารอื่นร่วมด้วย โดยพิจารณาว่าระบาดขนาดไหนร่วมด้วยค่ะ (ดูวิธีได้จากภาพด้านล่าง) และสามารถศึกษาวิธีปลูกเชิงการค้าได้ทาง https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=7347&s=tblplant - โรคราแป้งมักพบการแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนต่อเข้าฤดูหนาว เนื่องจากเชื้อราโรคราแป้งแพร่ระบาดได้ดีในสภาพความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง และสภาพอากาศเย็น ส่วนโรคราน้ำค้างเป็นโรคที่พบการระบาดมากในช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง แต่ทั้งนี้โรคพืชทั้งสองชนิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสมค่ะ - ไม่ทราบว่าเป็นมะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ แต่สามารถดูข้อมูลโรคพืชและศัตรูพืชของมะเขือพวงประกอบได้ค่ะ - มะแว้ง ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น หรือปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 และ 30 กรัมต่อต้น กรณีปลูกจำนวนมากให้ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ - ตำลึง ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกตอนเตรียมดิน กรณีปลูกเชิงการค้า ให้ใส่ปุ๋ยยูเรียพรมบาง ๆ เดือนละ 2 ครั้ง หนูขอรบกวนวิธีการเพาะเมล็ดมะเขือพวง และเมล็ดปวยเล้งค่ะ เนื่องจากหนูเพาะมา 1อาทิตย์แล้วยังไม่งอกเลยค่ะ ต่างจากผักสวนครัวและผักสลัดอื่น ๆ ที่หนูเพาะแล้วงอกไว หนูใช้พีทมอสเพาะค่ะ จะทำอย่างไรให้เขางอกได้ไวขึ้นคะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 16 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    โรคพืช
    ขออนุญาตสอบถามผู้รู้ค่ะ เนื่องจากมะนาวมีอาการเหมือนเป็นโรคราดำที่ใบและลำต้น มีวิธีกำจัดที่ไม่ต้องพึ่งสารเคมีไหมคะ หรือถ้าไม่มี มีวิธีไหนที่จะใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดไหมคะ ขอบคุณค่ะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 14 มีนาคม 2567
    มะนาวที่ใบดำเรียกว่าราดำ เชื้อราชนิดนี้ขึ้นปกคลุมผิวใบเพราะว่ามีเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยง เมื่อเพลี้ยขับถ่ายสารเหนียวราดำจะขึ้นปกคลุม แนวทางป้องกันกำจัดคือต้องกำจัดเพลี้ยและราดำจะไม่เกิด แต่ถ้าเกิดแล้วนานไปจะแห้งเป็นสะเก็ดหลุดออกไปเอง แล้วสร้างความเสียหายอะไรหรือไม่ การที่ใบสีดำไม่มีสีเขียวทำให้ใบนั้นสร้างอาหารสังเคราะห์ไม่ได้ ต้นไม่เจริญเติบโต การป้องกันกำจัด 1. หากพบราดำเริ่มระบาดหรือเป็นไม่มาก ให้กำจัดโดยการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลายเสีย 2. ถ้าพบโรคราดำมากให้ใช้สารในกลุ่มคาร์เบนดาซิม หรือผสมกับสารกลุ่มแมนโคเซ็บ และการใช้สารเคมีพ่นเพื่อกำจัดแมลงปาดดูด ก็สามารถลดปริมาณการระบาดของราดำลงได้ 3. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคราดำ ทั้งนี้ ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีการผลิตมะนาวไทย และวิธีการใช้ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช ไว้ในข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างนะคะ
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 14 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ปุ๋ย
    การปรับปรุงดิน
    รบกวนเรียนถามว่า สำหรับสวนปาล์ม เราสามารถใส่ ปุ๋ย 0-0-60 พร้อมกับแมกนีเซียม ได้ไหมคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 13 มีนาคม 2567
    ไม่ทราบว่าจะใช้แมกนีเซียมในรูปแบบไหน ถ้าเป็นคีเซอร์ไรท์ ควรใส่ในช่วงที่ใส่ปุ๋ย 0-0-60 ในปริมาณน้อย เช่น ช่วงต้นฝน ส่วนโดโลไมท์ควรใส่แยกกับปุ๋ยเคมี เพราะโดโลไมท์เป็นปูน ถ้ารวมกับปุ๋ยเคมีจะจับตัวกันเป็นก้อน ควรใส่ช่วงหน้าแล้งก่อนฝน ใช้เพื่อปรับปรุงดินที่มีความเป็นกรด (pH ต่ำ) และให้ธาตุแมกนีเซียมกับปาล์มน้ำมัน แต่ควรใช้ไดโลไมท์เมื่อมีการวิเคราะห์ดินเท่านั้น การหว่านปูนไดโลไมท์ควรหว่านในระหว่างแถวของปาล์มน้ำมัน และไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียทันทีหลังจากหว่านไดโลไมท์ เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนเร็วขึ้น สำหรับสวนปาล์มที่ดินเป็นกรด (ค่า pH ต่ำกว่า 5) ควรใส่คีเซอร์ไรท์สลับกับโดโลไมท์ เนื่องจากโดโลไมท์จะช่วยลดความเป็นกรดของดินลง สามารถใส่ในช่วงแล้งเพื่อรอฝนได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ธาตุอาหารอื่น ๆ ที่ถูกตรึงอยู่ในดินปลดปล่อยออกมาให้ต้นปาล์มดึงเอามาใช้ได้ แต่ในสวนปาล์มที่แสดงอาการขาดแมกนีเซียมรุนแรงควรใช้คีเซอร์ไรท์ เพราะจะได้ผลเร็วกว่ากว่าโดโลไมท์ ควรใส่ช่วงต้นฝน ปริมาณ 1.5-2.0 กก./ต้น/ปี ในต้นที่แสดงอาการขาด ส่วนในดินที่เป็นกรดอาจจะใส่โดโลไมท์ 2 กก./ต้น/ปี
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 13 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ศัตรูพืช
    โรคพืช
    สวัสดีค่ะ หนูรบกวนสอบถามวิธีการป้องกันและรักษาโรคและแมลงศัตรูพืชในมะเขือพวงค่ะ หาจากอีบุคของกรมวิชาการเกษตร พบแต่มะเขือยาวและมะเขือม่วงค่ะ หนูรบกวนขอเป็นการใช้ชีวภัณฑ์นะคะ ขอบพระคุณท่านผู้รู้ค่ะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 12 มีนาคม 2567
    ศัตรูพืชที่พบเข้าทำลายมะเขือพวง ได้แก่ - เพลี้ยจักจั่นสีเขียว จะดูดกินน้ำเลี้ยงและเป็นพาหะโรคไวรัส ทำให้มีอาการใบเหลืองและขอบใบไหม้ ป้องกันกำจัดโดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียและเมตาไรเซียมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช - โรคแอนแทรคโนส อาการจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาล ซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นจนทำให้แผลเน่า และกิ่งแห้งตาย บนแผลมีเชื้อราขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีดำขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด ขึ้นเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบต่ำลงจากในระดับเดิมเล็กน้อย การป้องกันกำจัดควรพ่นสารป้องกันเชื้อราเป็นครั้งแรก และตัดแต่งกิ่งและผลที่เป็นโรคนำไปเผาไฟทำลายเพื่อป้องกันการระบาดไปต้นอื่น และสามารถใช้สารชีวภัณฑ์ Bs หรือบาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) - โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อรา อาการของผลและกิ่งจะปรากฏสีน้ำตาลแล้วลามเข้าไปทั้งผล และกิ่งจนแห้งตาย บนกิ่งแห้งพบเมล็ดราสีดำ ขนาดเล็กกว่าเข็มหมุดขึ้นตรงกลางแผลสีน้ำตาล การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและผลเน่าออกจากแปลง พ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัด - โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อรา อาการที่พบคือต้นเหี่ยวเฉาตาย เมื่อถอนต้นขึ้นมาตรวจพบเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวโคนต้นระดับดิน ทำให้โคนต้นแห้งเป็นสีน้ำตาล เชื้อราสร้างเส้นใยและมีเม็ดราเป็นสีขาวและดำเท่ากับเมล็ดผักกาดแทรกอยู่ระหว่างก้อนดินโคนต้น การป้องกันกำจัดให้ถอนต้นที่เป็นโรคเผาทิ้งนอกแปลง และใส่ปูนขาวในหลุมที่เป็นโรค หรือละลายปูนขาวกับน้ำรดโคนต้น และใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรารดโคนต้นเมื่อปลูกใหม่ (ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดได้เช่นกัน) ควรปรับดินด้วยปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก ควรปลูกพืชหมุนเวียนในแหล่งที่มีโรคระบาดมาก - เพลี้ยไฟ ตัวอ่อนมีลำตัวยาวสีเหลืองเคลื่อนไหวเร็ว อาศัยตามยอด ซอกใบและใต้ใบ ตัวเต็มวัยสีดำบินเร็ว เป็นศัตรูที่สำคัญ ระบาดได้รวดเร็ว โดยจะดูดน้ำจากใบทำให้ใบเหลือง แข็ง กรอบ ผิวใบอาจฉีกขาด ยอดมีสีน้ำตาล ไม่ค่อยเจริญเติบโต และต้นทรุดโทรมเร็ว ระบาดมากช่วงฤดูหนาว-ฤดูแล้ง การป้องกันกำจัดพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น คาร์โบซัลแฟน, ฟิโปรนิล, อะบาเมกติน หรือใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการป้องกันกำจัด - เพลี้ยแป้งทำให้เกิดใบหยิกหด ใบและยอดอ่อนหยิกและหด ข้อสั้นและอวบหญ่มีสีเขียวเข้มไม่เจริญต่อไป เพราะมีศัตรูพืชที่มีแป้งสีขาวเกาะติดอยู่เป็นกระจุก การป้องกันกำจัดควรพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดประเภทดูดซึมเช่นเดียวกับการกำจัดเพลี้ยไฟ หรือใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการป้องกันกำจัด *การพ่นสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลง ควรทำในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงบ่ายหรือเย็น เพราะเชื้อราจะออกฤทธิ์ทำลายแมลงที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส แต่ต้องไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส และความชื้นประมาณร้อยละ 80 ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำลายแมลง และความอยู่รอดของเชื้อรา และไม่ควรพ่นสารชีภัณฑ์พร้อมสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยเด็ดขาด ทั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คำแนะนำที่ 1/2563: การใช้เชื้อจุลินทรีย์ (ชีวภัณฑ์) ในการควบคุมศัตรูพืช ตรงข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 12 มีนาคม 2567
  • ถาม-ตอบ
    ปุ๋ย
    การปรับปรุงดิน
    สวัสดีค่ะ หนูต้องการหมักแกลบ เพื่อนำไปใช้ผสมดินปลูก รบกวนขอวิธีการหมักด้วยค่า หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตแล้วยังไม่เจอแหล่งที่น่าเชื่อถือค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ
    นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
    ตอบเมื่อ 1 มีนาคม 2567
    กรณีหมักจำนวนไม่มาก ให้นำแกลบดิบมาบรรจุใส่กระสอบ ตั้งและเปิดปากกระสอบไว้ รดด้วยน้ำที่ผสมกับน้ำหมักชีวภาพ หรือใช้น้ำผสม พด.1 อัตราส่วน น้ำเปล่า 10 ลิตรต่อ พด.1 1ซอง ปิดปากกระสอบไว้ เมื่อครบ 7 วัน เปิดปากถุงแล้วรดซ้ำ จะทำให้หมักง่าย ประมาณ 2 เดือนจึงนำไปใช้ผสมวัสดุปลูก นอกจากนี้ สามารถหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ปรับปรุงดินในปริมาณมากได้ดังน้ี - แกลบดิบ จำนวน 1 กระสอบ - ปุ๋ยคอก (ขี้หมู, ขี้วัว, ขี้ไก่) จำนวน 1 กระสอบ - แกลบเผา (ไม่ใช่ขี้เถ้าแกลบ) จำนวน 1 กระสอบ - สารเร่ง พด. 1 จำนวน 1 ซอง - น้ำเปล่าที่ไม่ใช่น้ำประปา วิธีทำ 1. นำแกลบดิบ ปุ๋ยคอก และแกลบเผา มาคลุกเคล้าผสมกันบนกองหมัก 2. ใช้น้ำเปล่ารดบนกองส่วนผสมให้ได้ความชื้นที่เหมาะสม โดยสังเกตจากการกำวัสดุให้แน่นและปล่อย สังเกตดูถ้าวัสดุที่ผสมเป็นก้อนและพอแตกออกบ้างเล็กน้อยพอหมาดจึงถือว่าใช้ได้) 3. ละลายสารเร่ง พด. 1 ในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้เข้ากัน รดบนกองปุ๋ยหมักให้ทั่วกองหมัก 4. กลับกองทุก ๆ 7 วัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กองปุ๋ยมีความร้อนจนเกินไป เนื่องจากความร้อนดังกล่าวจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตาย 6. หมักไว้ 21 วัน จากนั้นสามารถนำปุ๋ยหมักปรับสภาพดินไปใช้งานได้
    อ่านต่อ
    ถามเมื่อ 1 มีนาคม 2567
แสดง 1 - 20 จาก 935
หน้า
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู