แจ้งเตือนทุกหมวดหมู่
- ประกาศแจ้งเตือนภัย เรื่องโรคลิชมาเนียจากริ้นฝอยทราย
📢 ประกาศแจ้งเตือนภัยสุขภาพ ระวัง! ริ้นฝอยทรายพาหะโรคลิชมาเนีย ภัยเงียบที่อาจถึงชีวิต
ภาพริ้นฝอยทรายเพศเมีย ขณะกำลังดูดเลือดมนุษย์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) หลังพบผู้ป่วยในประเทศไทยแล้ว 2 รายในปี 2568 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพริ้นฝอยทรายเพศเมีย ขณะกำลังดูดเลือดมนุษย์
โรคลิชมาเนีย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Leishmania spp. ซึ่งแพร่กระจายผ่านการกัดของริ้นฝอยทราย (Sand fly) แมลงขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร มักพบในบริเวณที่ชื้น รกทึบ เช่น ป่ารก ซอกหิน หรือคอกสัตว์
อาการที่ควรระวัง ตุ่มแดง คัน หรือแผลเรื้อรังที่ไม่หาย หากเชื้อรุนแรง อาจมีภาวะซีด ตับ-ม้ามโต และอันตรายถึงชีวิต
วิธีป้องกัน
✅ สวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาว โดยเฉพาะเวลากลางคืน
✅ ใช้ยาทากันแมลงทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
✅ นอนในมุ้งตาข่ายที่มีรูละเอียด
✅ กำจัดแหล่งหลบซ่อนของแมลงรอบบ้าน เช่น กองไม้ กอหญ้า คอกสัตว์ข้อควรรู้
1. ริ้นฝอยทรายตัวเมียเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ
2. เชื้อสามารถอยู่ในตัวแมลงได้นาน 10 วัน และฟักตัวในร่างกายมนุษย์หลังถูกกัด
💡 แม้ตัวจะเล็ก...แต่ภัยไม่เล็ก! อย่าชะล่าใจหากพบอาการผิดปกติของผิวหนังที่ไม่หายภายในระยะเวลาอันควร ควรรีบพบแพทย์ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
อ่านต่อ - ประกาศแจ้งเตือนภัยทางการเกษตร: การระวังโรคผลแกนในสับปะรดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีความร้อน แห้งแล้ง และมีฝนตก ผู้ปลูกสับปะรดควรระวังโรคผลแกนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีลักษณะอาการดังนี้
ลักษณะอาการ
- ภายนอกผล: ผลสับปะรดดูปกติ แต่เมื่อเคาะผลจะมีเสียงแตกต่างจากผลปกติ
- ภายในผล: เนื้อเริ่มแรกเป็นสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแดง เนื้อกรอบและแข็งเป็นไต กระจายทั่วทั้งผล
แนวทางป้องกันและกำจัด
- ควรมีระบบการให้น้ำและการระบายน้ำที่ดี
- ไม่ควรให้สับปะรดขาดน้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วงแล้ง ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพ่นโพแทสเซียมคลอไรด์หลังการบังคับดอก 90-105 วัน โดยใช้อัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร
- ไม่ควรปลูกสับปะรดให้มีระยะเก็บเกี่ยวในช่วงแล้ง
- หลีกเลี่ยงการให้ปุ๋ยมากเกินไปเพื่อเร่งความหวาน ซึ่งมีส่วนทำให้โรคระบาดรุนแรงมากขึ้น
ขอให้ผู้ปลูกสับปะรดทุกท่านปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคผลแกนในสับปะรด
อ่านต่อ - ระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่าเกณฑ์ เตือนชะลอทำนา หวั่นน้ำไม่พอ
สถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ณ ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา พบว่าระดับน้ำเหนือเขื่อนยังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แม้จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทางตอนบนของประเทศ ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน
การปรับลดการระบายน้ำ เขื่อนเจ้าพระยาได้ปรับลดการระบายน้ำจาก 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงมาอยู่ที่ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อรักษาระบบนิเวศลำน้ำและผลักดันน้ำเค็มปากแม่น้ำ ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนลดลงเล็กน้อย ทำให้สามารถมองเห็นสันดอนทรายโผล่พ้นน้ำขึ้นมาจนสามารถเดินข้ามไปมาได้ในหลายจุด
ประกาศเตือนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานราชการในพื้นที่ได้ออกประกาศเตือนเกษตรกรให้ชะลอการทำนาปลูกข้าวออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่นาข้าวจะเสียหายจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม พบว่ามีชาวนาจำนวนมากที่เริ่มไถดินเตรียมปลูกข้าวนาปีกันแล้ว เนื่องจากมั่นใจว่าฝนปีนี้จะมาตามกำหนดในเดือนพฤษภาคม
อ่านต่อ - เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มระวังด้วงแรดมะพร้าวระบาด
ด้วงแรดมะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros (Linnaeus)
การเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวทำให้ทางใบหัก และกัดเจาะทำลายยอดอ่อนทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม บริเวณรอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดทำให้ด้วงงวงเข้ามาวางไข่ หรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคยอดเน่าจนถึงตายได้ในที่สุด
พืชอาหาร ได้แก่ มะพร้าว พืชตระกูลปาล์ม
ฤดูการระบาด ระบาดตลอดทั้งปี โดยด้วงแรดผสมพันธ์และวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
และมักพบความเสียหายในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม
การป้องกันกำจัด
วิธีเขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ดังนี้
ฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออก โดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
หมั่นพลิกกลับกองมูลสัตว์ หรือนำใส่ถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่น และนำไปเรียงซ้อนกันไว้
วิธีกล
หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัด
ใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัยและนำมาทำลาย
ชีววิธี ทำกองล่อให้ตัวเต็มวัยมาไข่ เมื่อเจริญเป็นตัวอ่อน
ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมโรย หรือคลุกเพื่อทำลายการใช้สารเคมี โดยเลือกสารใดสารหนึ่ง ดังนี้ ไดอะซินอน 60% EC หรือคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอหรือยอดมะพร้าว โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน ควรใช้ 1-2 ครั้งช่วงระบาด
อ่านต่อ - สวนเงาะติดผลอ่อนให้ระวังโรคราดำ
คำแนะนำสำหรับเกษตรกรชาวสวนเงาะ ในช่วงที่อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ ขอแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ ซึ่งมักพบในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน โดยโรคราดำจะมีคราบราสีดำติดตามส่วนต่าง ๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำบนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ หากคราบราดำปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้และมีดอกร่วง หากคราบราดำปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวยและจำหน่ายไม่ได้ราคา
แนวทางการป้องกันโรคราดำ
- พ่นน้ำเปล่า: หากพบโรค ให้พ่นน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่าง ๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
- กำจัดวัชพืช: หมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสมและทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด
- พ่นสารกำจัดแมลง: หากพบเพลี้ยแป้ง ให้พ่นด้วยสารกำจัดแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หลีกเลี่ยงการพ่นสารในช่วงที่ดอกเงาะบานหรือเริ่มติดผลอ่อน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสร
- ตัดแต่งกิ่ง: ตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้นใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ
- ทำความสะอาดเครื่องมือ: เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้ในแปลงที่มีการระบาด ควรนำมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง
อ่านต่อ - คำแนะนำสำหรับเกษตรกรชาวสวนเงาะในการรับมือแมลงค่อมทอง
ช่วงที่อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า ขอเตือนผู้ปลูกเงาะให้เฝ้าระวังแมลงค่อมทอง โดยเฉพาะในระยะเตรียมต้นก่อนการออกดอก แมลงค่อมทองตัวเต็มวัยจะกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเว้าแหว่ง หากระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏตามบริเวณยอด
ลักษณะของแมลงค่อมทองตัวเต็มวัย
- ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของพืช
- สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลือง
- มักพบเป็นคู่หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนใบ
- เมื่อถูกกระทบกระเทือน แมลงค่อมทองจะทิ้งตัวลงสู่พื้นดินแนวทางป้องกัน
1. ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้น: ตัวเต็มวัยของแมลงค่อมทองมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อกระทบกระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าต้น ตัวเต็มวัยจะหล่นลงมา จากนั้นรวบรวมนำไปทำลาย
2. พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบริเวณที่พบการระบาด ควรพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในระยะที่เงาะแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10-14 วัน
อ่านต่อ - ปัญหาผลไม้แตกก่อนเก็บเกี่ยว
ในระยะก่อนเก็บเกี่ยว ชาวสวนมักประสบปัญหาผลไม้หลายชนิดแตกเสียหาย เช่น เงาะโรงเรียน มังคุด ลำไย ลองกอง และกระท้อน สร้างความเสียหายและเสียดาย เพราะผลไม้กำลังจะเก็บขายได้เงิน แต่มาแตกเสียก่อน ผลไม้ยิ้ม แต่ชาวสวนไม่ยิ้มด้วย
สาเหตุการแตกของผล อาการแตกของผลเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ
1. ความไม่สมดุลของการขยายตัวของส่วนเปลือกกับเนื้อ โดยส่วนเนื้อมีการขยายรวดเร็วมากกว่าการขยายของเปลือกจึงทำให้เปลือกปริร้าวแตกออก
2.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เช่นร้อนแล้งสลับฝน ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ ในภาวะอากาศร้อนแล้งผนังเซลส์พืชจะมีอาการเหี่ยวเมื่อได้รับน้ำปริมาณมากกระทันหัน เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนพืชปรับตัวไม่ทันจึงเกิดการปริแตกของผนังเซลส์
3.เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารในพืช ผนังเซลส์พืชไม่แข็งแรง
4.เกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่นการไว้ผลดกมากเกินไป อาหารไม่เพียงพอทำให้เปลือกผลบางแตกง่าย หรือการเข้าทำลายของเชื้อราและแมลงที่เปลือกผลเกิดรอยแผลก็ทำให้แตกได้ง่ายเช่นกันวิธีการป้องกันผลแตก
1.รักษาระดับความชื้นให้คงที่ด้วยการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อความต้องการของพืช ให้น้ำครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งไม่เว้นช่วงให้น้ำห่างเกินไป
2.ให้ธาตุอาหารรองแคลเซี่ยมแก่พืชอย่างเพียงพอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลส์พืช
3.ตัดแต่งผลให้เหลือปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ต้น และดูแลป้องกันกำจัดโรค-แมลงที่ทำลายผล
อ่านต่อ - ระวังหนอนเจาะขั้วผลเงาะ
ช่วงที่อากาศร้อน ลมกระโชกแรง และฝนตกหนัก ขอเตือนผู้ปลูกเงาะให้เฝ้าระวังหนอนเจาะขั้วผลเงาะ โดยเฉพาะในระยะผลอ่อน หนอนเจาะขั้วผลมักพบอยู่ภายในผลบริเวณขั้วหรือต่ำกว่าขั้วลงมาเล็กน้อย การทำลายของหนอนไม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก ต่อเมื่อรับประทานเงาะจึงจะพบหนอนอยู่ที่ขั้ว โดยหนอนจะกัดกินที่ขั้วและบางทีถึงเมล็ด
แนวทางป้องกันและแก้ไข
- เก็บเกี่ยวผลเงาะในขณะที่ยังไม่สุกเกินไป: เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของหนอน และเก็บผลเงาะที่ร่วงหล่นนำไปฝังหรือเผา เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูต่อไป
- พ่นสารฆ่าแมลง: บริเวณที่มีการระบาด เมื่อผลเงาะเริ่มเปลี่ยนสี ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน และหยุดพ่นสารก่อนเก็บ 7 วัน
อ่านต่อ - 📢 ประกาศเตือนภัยทางการเกษตร: ระวังโรคราแป้งในเงาะ
ช่วงที่อากาศแปรปรวน อากาศเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอเตือนผู้ปลูกเงาะให้เฝ้าระวังโรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium nephelii) โดยเฉพาะในระยะออกดอกและผลอ่อน
ลักษณะอาการของโรค
- พบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนช่อดอกและตามร่องขนของผล
- ทำให้ติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ถ้าติดผลจะมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ หลุดร่วงง่าย หรือทำให้ผลเน่าแห้งติดคาที่ก้านช่อ
- หากเป็นโรคในระยะผลโตจะทำให้ขนแห้ง แข็ง ผิวผลมีสีคล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขนเกรียน
- ในระยะที่ผลกำลังสุก ส่วนที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติ
- อาจพบอาการของโรคได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงแนวทางป้องกันกำจัด
1. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งทรงพุ่มเงาะให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความชื้นในทรงพุ่ม และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
2. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
3. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช หากพบการระบาดของโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ซัลเฟอร์ 80% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรโฟรีน 19% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบโนมิล 50% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บผลผลิตอย่างน้อย 15 วันข้อควรระวัง
- ไม่ควรพ่นสารในช่วงดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการผสมเกสร
- สำหรับสารซัลเฟอร์ ไม่ควรพ่นในสภาพอากาศร้อนหรือมีแดดจัด เพราะอาจทำให้เกิดอาการไหม้ที่ช่อดอกและผลอ่อนได้
อ่านต่อ - ระวังโรคใบจุดสีเทาในมะพร้าว
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักมากบางพื้นที่ (ภาคใต้) เตือนผู้ปลูกมะพร้าวในระยะยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือโรคใบจุดสีเทา (เชื้อรา Pestalotiopsis palmarum)
อาการเริ่มแรกเกิดจุดเล็ก ๆ บนใบ ต่อมาขยายใหญ่เป็นแผลสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล มักพบมีสีเหลืองล้อมรอบ บริเวณแผลพบจุดเล็ก ๆ สีดำซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อสาเหตุโรค หากอาการรุนแรงแผลจะขยายทำให้ใบไหม้ และใบแห้งตาย
แนวทางป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคตัดส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก
2. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอโรทาโลนิล 75% WP อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
อ่านต่อ - 📢 เตือน! ประชาชนเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ดิบ
กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก และไม่ชำแหละหรือสัมผัสสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะโค กระบือ แพะ แกะ หลังพบผู้เสียชีวิตจากโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) 1 รายในจังหวัดมุกดาหาร
รายละเอียดเหตุการณ์
- ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 53 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน อาชีพรับจ้างก่อสร้าง เริ่มมีตุ่มแผลขึ้นบริเวณมือข้างขวาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 27 เมษายน 2568
- แผลที่มือเริ่มมีสีดำ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ข้างขวาโต และมีอาการหน้ามืด ชักเกร็ง ก่อนเสียชีวิต
- ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อ Bacillus anthracisการสอบสวนโรค
- คาดว่าปัจจัยเสี่ยงมาจากการชำแหละโคในงานบุญผ้าป่า และมีการนำเนื้อโคที่ชำแหละไปแจกจ่ายให้รับประทานกันในหมู่บ้าน
- ทีมสอบสวนโรคพบผู้สัมผัสจำนวน 247 คน แบ่งเป็นผู้ที่ชำแหละโค 28 คน และผู้ที่บริโภคเนื้อโคดิบ 219 คน ได้ให้ยาในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงข้อมูลโรคแอนแทรกซ์
- โรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis
- การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น การชำแหละเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก
- อาการ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง มีแผลคล้ายบุหรี่จี้ หายใจขัด หายใจลำบาก หากอาการรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 80%วิธีการป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโค กระบือ แพะ แกะ
2. ล้างมือและชำระล้างร่างกายหลังสัมผัสสัตว์
3. เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองอาหารปลอดภัย
4. หากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที
5. หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
อ่านต่อ - เตือนภัย! โรคเหี่ยวเขียว หรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum) คุกคามขิงในระยะปลูกใหม่
ในช่วงนี้สภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมกระโชกแรงและฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ ขอเตือนเกษตรกรผู้ปลูกขิงในระยะปลูกใหม่ เฝ้าระวังโรคเหี่ยวเขียว หรือเหง้าเน่า ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่สามารถทำความเสียหายอย่างหนักแก่แปลงปลูกได้
อ้างอิงภาพ https://www.opsmoac.go.th/kamphaengphet-warning-preview-442891791799
อาการของโรคที่ควรสังเกต
- เริ่มแรก ใบขิงจะเหี่ยวและม้วนเป็นหลอด มีสีเหลือง และจะลุกลามจากโคนต้นขึ้นไปยังยอด
- ทั้งต้นจะแห้งตายอย่างรวดเร็ว
- โคนต้นและหน่อใหม่จะมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลเข้มถึงดำ
- เมื่อผ่าลำต้นตามขวาง จะพบเมือกสีขาวขุ่นไหลซึมออกมา
- ลำต้นเน่าและหลุดจากเหง้าได้ง่าย
- เหง้ามีอาการฉ่ำน้ำ สีคล้ำ และสุดท้ายเหง้าจะเน่าเสียแนวทางป้องกันและแก้ไขโรคเหี่ยวเขียว/เหง้าเน่าในขิง
1. เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม
- เลือกแปลงที่ไม่เคยมีประวัติการระบาดของโรค และมีการระบายน้ำดี
2. เตรียมดินอย่างถูกวิธี
- ไถพรวนดินลึกมากกว่า 20 เซนติเมตร และตากดินตากแดดนานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน
3. ฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด
- โรยยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่
- ไถกลบดิน รดน้ำให้ดินชุ่ม และทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ ก่อนเริ่มปลูกขิงใหม่
4. ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรคเท่านั้น
- คัดเลือกหัวพันธุ์จากแหล่งผลิตที่ไม่มีประวัติการระบาดของโรค
5. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- หากพบต้นที่แสดงอาการเหี่ยว ควรขุดต้นไปทำลายนอกแปลงทันที
- โรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
6. ทำลายซากพืชหลังเก็บเกี่ยว
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรนำส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ติดเชื้อไปทำลายนอกแปลงอย่างถูกวิธี
7. สลับปลูกพืชเพื่อตัดวงจรโรค
- ในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด ควรงดปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง มะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง
- สลับปลูกพืชที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง เพื่อลดการสะสมของเชื้อในดิน
อ่านต่อ - เตือนผู้ปลูกกุหลาบ! ระวังเพลี้ยไฟพริกเข้าทำลายช่วงออกดอก
ช่วงนี้อากาศร้อนและมีฝนตกบางพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบควรเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟพริก ซึ่งจะเข้าทำลายในระยะที่กุหลาบกำลังออกดอก
สังเกตอาการของกุหลาบที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย
- เพลี้ยไฟตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน
- ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอ มีรอยสีน้ำตาลดำ และเหี่ยวแห้ง
- ถ้าเพลี้ยไฟทำลายส่วนดอก จะทำให้ดอกแคระแกร็น กลีบดอกมีสีน้ำตาลไหม้
- ดอกเสียคุณภาพ ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแนวทางป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟพริกในกุหลาบ เมื่อพบการระบาดควรพ่นสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
- สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 10-20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
- คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรหมายเหตุ
- พ่นสารให้ทั่วบริเวณยอดอ่อนและดอกที่กำลังบาน
- หลีกเลี่ยงการพ่นซ้ำ ๆ ด้วยสารชนิดเดียวกันนานเกินไป เพื่อป้องกันการดื้อยา
อ่านต่อ - ระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบในมะเขือเปราะ
ช่วงนี้มีฝนตกและฝนตกหนักในบางพื้นที่ ขอเตือนผู้ปลูกมะเขือเปราะในทุกระยะการเจริญเติบโตให้ระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างเหลืองในมะเขือเปราะ ทำให้ผลผลิตลดลง
แนวทางป้องกันกำจัด
1. ก่อนย้ายปลูก
- รองก้นหลุมปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ไดโนทีฟูแรน 1% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม
- ควบคุมการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวได้ประมาณ 45 วัน
- หลังใส่สารลงในหลุมแล้วให้โรยดินกลบสารบาง ๆ ก่อนย้ายกล้าลงหลุม เพื่อป้องกันรากพืชสัมผัสสารโดยตรง2. เมื่อพบการระบาด
- พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามอัตราส่วนที่กำหนด
- บูโพรเฟซิน 40% SC: 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- ฟลอนิคามิด 50% WG: 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- สไปโรเตตระแมท 15% OD: 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD: 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไบเฟนทริน 2.5% EC: 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไดโนทีฟูแรน 10% WP: 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- น้ำมันปิโตรเลียม เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC: 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
** ควรพ่นสารทุก 5 วัน 2-3 ครั้งติดต่อกันเมื่อพบการระบาด
หมายเหตุ บูโพรเฟซินควรงดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน
อ่านต่อ - แมลงศัตรูพืชและโรคพืชที่มักระบาดในฤดูร้อน
ฤดูร้อนเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของศัตรูพืช รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคพืชหลายชนิด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของศัตรูพืชและโรคพืชที่ระบาดในช่วงนี้ รวมถึงแนวทางป้องกันและควบคุมที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสียหายและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศัตรูพืชที่ระบาดในฤดูร้อน
1. เพลี้ยไฟ
- ทำลายใบอ่อน ดอก และผล ทำให้ใบหงิกงอ ผลผลิตลดลง
- เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสพืช เช่น ไวรัสใบด่างพริก
- การป้องกัน ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย หรือสารสกัดจากพืชสมุนไพร เช่น สะเดา
- การใช้สารเคมี ใช้สารกลุ่มสไปนีโทแรม (Spinetoram) หรืออิมิดาคลอพริด (Imidacloprid) โดยใช้ตามคำแนะนำ2. เพลี้ยแป้ง
- ดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตช้าและแคระแกร็น
- ขับถ่ายสารหวาน ทำให้เกิดราดำที่ลดการสังเคราะห์แสง
- การป้องกัน ใช้แตนเบียน (Anagyrus sp.) ควบคุมตามธรรมชาติ
- การใช้สารเคมี ใช้สารไดโนทีฟูแรน (Dinotefuran) หรือไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam)3. แมลงหวี่ขาว
- ดูดน้ำเลี้ยงพืช ทำให้ใบเหลืองและเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส
- แพร่ระบาดในพืชตระกูลแตงและพืชผักทั่วไป
- การป้องกัน: ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง และปลูกพืชหลากหลายลดการสะสมของแมลง
- การใช้สารเคมี: ใช้สารอเซทามิพริด (Acetamiprid) หรือไพริพรอกซีเฟน (Pyriproxyfen)4. หนอนกระทู้ผัก
- กัดกินใบและต้นของพืชผัก เช่น คะน้า กะหล่ำปลี
- การป้องกัน: ใช้แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) ในการควบคุม
- การใช้สารเคมี: ใช้คลอแรนทรานิลิโพรล (Chlorantraniliprole) หรือแลมบ์ดาไซฮาโลทริน (Lambda-cyhalothrin)โรคพืชที่ระบาดในฤดูร้อน
1. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
- พบมากในพริก มะม่วง และพืชตระกูลแตง ทำให้เกิดแผลเน่าและผลร่วง
- การป้องกัน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) ป้องกันการเกิดโรค
- การใช้สารเคมี ใช้สารแมนโคเซบ (Mancozeb) หรือโพรคลอราซ (Prochloraz)2. โรคใบจุด (Leaf Spot)
- พบในพืชผัก เช่น ผักชี ขึ้นฉ่าย ทำให้ใบมีจุดแผลและแห้งตาย
- การป้องกัน หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย และใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมเชื้อรา
- การใช้สารเคมี ใช้สารไตรฟลอกซีสโตรบิน (Trifloxystrobin) หรืออะซอกซีสโตรบิน (Azoxystrobin)3. โรครากเน่าโคนเน่า (Root and Stem Rot)
- พบในพืชตระกูลแตงและพืชตระกูลถั่ว ทำให้รากและโคนต้นเน่า
- การป้องกัน ปรับปรุงระบบระบายน้ำและหลีกเลี่ยงการให้น้ำมากเกินไป
- การใช้สารเคมี ใช้สารเมทาแลกซิล (Metalaxyl) หรือฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (Fosetyl-Al)แนวทางป้องกันและควบคุมศัตรูพืชในฤดูร้อน
1. การจัดการแปลงปลูก
- ปลูกพืชหมุนเวียนลดการสะสมของศัตรูพืช
- ใช้พืชคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นและลดอุณหภูมิของดิน2. การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช เช่น
- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อแบคทีเรียบีที (Bt) ควบคุมโรคพืชและศัตรูพืช
- ใช้แมลงตัวห้ำ เช่น เต่าทองลายหยัก (Cryptolaemus montrouzieri) กำจัดเพลี้ยแป้ง3. การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร เช่น
- สารสกัดสะเดาและน้ำส้มควันไม้ช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืช
- สารสกัดข่าและตะไคร้หอมมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อรา4. การใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม
- เลือกใช้สารเคมีตามประเภทของแมลงศัตรูพืชและโรคพืชที่พบ
- ใช้สารเคมีตามอัตราที่แนะนำและสลับกลุ่มสารเพื่อลดการดื้อยา
- ปฏิบัติตามหลักการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม5. การเฝ้าระวังและสำรวจแปลงปลูก
- หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการแพร่ระบาดของศัตรูพืช
- ใช้ระบบเตือนภัยแมลงศัตรูพืชเพื่อคาดการณ์และป้องกันล่วงหน้าการจัดการแมลงศัตรูพืชและโรคพืชในฤดูร้อนต้องอาศัยแนวทางแบบบูรณาการ โดยรวมถึงการใช้ชีวภัณฑ์ การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร และการใช้สารเคมีอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสียหายต่อพืชผลและสิ่งแวดล้อม
อ่านต่อ - ระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในทุเรียน
สภาพอากาศที่ร้อนแล้งจะมีการระบาดของเพลี้ยไฟรุนแรง เข้าทำลายใบอ่อน ดอก และผลอ่อนทุเรียนให้เสียหาย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและรีบทำการป้องกันกำจัดให้ทันท่วงทีเพื่อลดความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- การควบคุมด้วยสารเคมีกลุ่มต่างๆ เช่น
กลุ่ม 1 คาร์โบซัลแฟน / คาบาริล
กลุ่ม 2 พิโพรนิล
กลุ่ม 4 อิมิดาโคลพริด / อะเซตทรามิพริด / ไดโนทีฟูแรน
กลุ่ม 6 อะบาเม็กติน / อิมาแมคติน เบนโซเอต
กลุ่ม 3A ไบเฟนทริน
กลุ่ม 5 สไปนีโทแรม สปินโนแซด
พ่นทุก 7-10 วัน และควรสลับกลุ่มยาต่างๆ เพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟดื้อยา
*ในระยะทุเรียนเป็นดอกหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นสูตรน้ำมัน คือ สูตร EC (ที่ชาวสวนเรียกว่ายาร้อน) ในระยะทุเรียนเป็นดอก เพราะอาจเกิดทำให้ดอกฝ่อ ดอกร่วงได้
อ่านต่อ - เตือนภัยเกษตรกร! โรคกิ่งตายระบาดหนักในสวนทุเรียนภาคใต้ เสี่ยงรุนแรงช่วงหน้าแล้ง
กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคกิ่งตาย ที่กำลังแพร่ระบาดในสวนทุเรียนภาคใต้ โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งที่อาจทำให้โรครุนแรงขึ้น
ภัยเงียบจากโรคกิ่งตาย
เชื้อราฟิวซาเรียมแพร่กระจายผ่านทางน้ำและสารอาหาร ทำให้ใบเหี่ยว กิ่งแห้ง และอาจลุกลามถึงต้นตาย หากพบต้นที่ติดโรค ควรรีบตัดและเผาทำลายทันที เพื่อลดการแพร่ระบาด
ภาวะแล้งซ้ำเติมโรคระบาด
ภัยแล้งทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย เกษตรกรควรสำรองน้ำให้เพียงพอ ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด
แนวทางป้องกันและลดความเสียหาย
- เฝ้าระวังอาการติดเชื้อ สังเกตใบเหลือง เหี่ยว และกิ่งแห้งผิดปกติ
- กำจัดต้นที่ติดเชื้ออย่างถูกวิธี ตัดและเผากิ่งที่เป็นโรคทันที
- บริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ สำรองน้ำและดูแลต้นทุเรียนให้แข็งแรง
- ใช้สารชีวภัณฑ์และปรับปรุงดิน ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เพื่อควบคุมเชื้อโรค
แนวโน้มตลาดทุเรียนไทย
ทุเรียนไทยเผชิญการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรควรมุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐานการผลิต เพื่อลดปัญหาทุเรียนอ่อนและรักษาความสามารถในการแข่งขัน
ขอให้เกษตรกรติดตามข่าวสาร และดำเนินมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด เพื่อปกป้องผลผลิตทุเรียนไทยจากวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้
อ่านต่อ - ระวังเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า ศัตรูร้ายที่ต้องควบคุม
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผล เมื่อระบาดรุนแรงจะทำให้พืชเหี่ยวแห้งและผลเสียคุณภาพ เพลี้ยแป้งยังถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของราดำ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลผลิต เพลี้ยแป้งสามารถเคลื่อนย้ายจากพื้นดินขึ้นต้นน้อยหน่าตั้งแต่ระยะออกดอกจนถึงผลแก่ โดยมีมดเป็นพาหะช่วยแพร่กระจายแนวทางป้องกันและกำจัด
- หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบการระบาดตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยลดความเสียหายได้
- ตัดแต่งส่วนที่ถูกทำลาย หากพบการระบาดเล็กน้อย ควรตัดแต่งส่วนที่พบเพลี้ยแป้งแล้วนำไปทำลายนอกแปลง
- ใช้วิธีกายภาพกำจัด เช่น ใช้แปลงปัดออกจากผล หรือฉีดพ่นน้ำแรงดันสูงให้เพลี้ยแป้งหลุดไป
- นอกจากนี้สามารถใช้น้ำผสมไวท์ออยล์ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อเคลือบตัวเพลี้ยแป้งและลดการแพร่ระบาด
ควบคุมมด เนื่องจากมดเป็นตัวพาเพลี้ยแป้งขึ้นต้น ควรใช้เหยื่อพิษกำจัดมด หรือฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงที่เหมาะสม
ใช้สารเคมีเมื่อจำเป็น โดยเลือกใช้
- อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- คาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และสลับกลุ่มสารเคมีเพื่อลดโอกาสดื้อยาคำแนะนำเพิ่มเติม
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในช่วงที่มีผึ้งหรือแมลงผสมเกสร
หากใช้สารเคมี ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ส่งเสริมการใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น เต่าทอง และแตนเบียน เพื่อลดปริมาณเพลี้ยแป้งการป้องกันที่ดี คือการจัดการแปลงปลูกให้สะอาด ตรวจสอบสม่ำเสมอ และใช้วิธีผสมผสานเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งอย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านต่อ