แจ้งเตือน

แจ้งเตือน
ศัตรูพืช
โรคพืช
ระวังหนอนเจาะขั้วผลในลำไย

ประกาศเตือนภัยการผลิตพืช เรื่อง การเฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืชในลำไยช่วงอากาศร้อนและมีฝนตกต่อเนื่อง จากสภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีอากาศร้อนและฝนตกต่อเนื่อง รวมถึงฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่งผลให้มีความชื้นสูงในแปลงปลูก เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อราบนผลลำไยและการเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผล โดยเฉพาะในระยะที่ลำไยเริ่มติดผล

คำแนะนำในการป้องกันและรับมือหนอนเจาะขั้วผลลำไย ดังนี้
* เก็บผลลำไยที่ร่วงหล่นและดักแด้ที่พบตามใบ นำไปทำลายนอกแปลงปลูก
* หากพบการระบาดของหนอนเจาะขั้วผล ให้พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ดังนี้:
- อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
- คาร์บาริล 85% WP อัตรา 45 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
- ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร


ขอให้เกษตรกรติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดและดำเนินการตามคำแนะนำเพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิต

 


อ่านต่อ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2568
แจ้งเตือน
ศัตรูพืช
ประกาศเตือนภัยการผลิตพืช เรื่อง การเฝ้าระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบในมะเขือเปราะช่วงอากาศร้อนและมีฝนตกบางพื้นที่

ด้วยสภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกบางพื้นที่ ส่งผลให้มีความเหมาะสมต่อการระบาดของแมลงหวี่ขาวยาสูบ ซึ่งสามารถพบได้ในมะเขือเปราะทุกระยะการเจริญเติบโต โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และยังเป็นพาหะสำคัญของเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบหงิกเหลืองในมะเขือเปราะ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตอย่างชัดเจน

แนวทางป้องกันกำจัด
1. ในระยะก่อนย้ายปลูก
1.1 รองก้นหลุมด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช *ไดโนทีฟูแรน 1% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม
1.2 หลังใส่สารแล้วควรโรยดินกลบบาง ๆ เพื่อป้องกันรากพืชสัมผัสสารโดยตรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช
1.3 วิธีนี้สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวได้ประมาณ 45 วัน
2. ในระยะหลังปลูก
2.1 เมื่อพบการระบาด ให้พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ สลับกลุ่มสารตามคำแนะนำ ได้แก่:
* บูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 25 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
* ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
* สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
* ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
* ไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
* ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
* น้ำมันปิโตรเลียม (เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC) อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

2.2 ควรพ่นสารทุก 5 วัน จำนวน 2–3 ครั้งติดต่อกัน เมื่อพบการระบาด
ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังและหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 


อ่านต่อ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2568
แจ้งเตือน
โรคพืช
เตือนภัย! โรคกุ้งแห้งในพริกระบาดหนักช่วงฝนตก 🌧️

โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici พบมากในช่วงอากาศร้อนสลับฝนตก โดยเฉพาะในผลพริกที่เริ่มสุก

🔍 อาการของโรค 
- จุดช้ำยุบตัวเล็กน้อยบนผลพริก
- แผลขยายเป็นวงรีหรือวงกลม มีตุ่มสีดำเรียงเป็นวง
- ในอากาศชื้นจะมีเมือกสีส้มอ่อน (กลุ่มสปอร์)
- ผลเน่า โค้งงอคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว

✅ แนวทางป้องกันและรับมือ
- เลือกเมล็ดพันธุ์ปลอดโรค หรือเก็บจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50°C นาน 20–25 นาที ก่อนนำไปเพาะ
- จัดระยะปลูกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกัน กำจัดวัชพืช ลดความชื้นในแปลง
- ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
- พบผลเป็นโรคให้เก็บทำลายนอกแปลง แล้วพ่นสารป้องกันเชื้อรา เช่น อะซอกซีสโตรบิน 25% SC 10 มล./น้ำ 20 ลิตร แมนโคเซบ 80% WP 40–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โพรคลอราซ 50% WP 20–30 กรัม/น้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
- ปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ระบาดหนักเพื่อตัดวงจรโรค

📌 เกษตรกรผู้ปลูกพริกทุกระยะการเจริญเติบโต ควรเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ


อ่านต่อ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2568

ข่าวสาร

ข่าวสาร
ปรับปรุงพันธุ์พืช
ไบโอเทค สวทช. เปิดตัว “เห็ดแครงสายพันธุ์ใหม่” ผลผลิตสูง ตอบโจทย์ตลาด และเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือก
เห็ดแครงสายพันธุ์ใหม่: ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ และโอกาสใหม่ของเกษตรกรไทย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ที่ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก จังหวัดนครปฐม คณะวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เปิดตัว “เห็ดแครงสา
อ่านต่อ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2568
ข่าวสาร
การค้าระหว่างประเทศ
จากแชมป์โลกสู่ขาลง… ทำไมมันสำปะหลังไทยถึงส่งออกได้น้อยลง
📉 มันสำปะหลังไทย รายได้ส่งออกหาย 40,000 ล้านบาทใน 2 ปี เพราะจีนเปลี่ยนทิศทางการนำเข้ามันสำปะหลังเคยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ที่สร้างรายได้จากการส่งออกถึงระดับแสนล้านบาทต่อปีโดยเฉพาะในปี 2565 👉 ส่งออกสูงถึง 152,795 ล้านบาท ทำให้ไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก ในการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภั
อ่านต่อ
วันที่ 8 กรกฎาคม 2568
ข่าวสาร
การอนุรักษ์ธรรมชาติ/ที่ดิน
วัสดุชีวภาพใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ นวัตกรรมดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าต้นไม้
ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริค (ETH Zurich) ได้ร่วมกันพัฒนาวัสดุชีวภาพชนิดใหม่ โดยผสานไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) ซึ่งเป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสง เข้ากับไฮโดรเจล ที่มีโครงสร้างอ่อนนุ่มและโปร่งแสง ทำให้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) จากอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าต้นไม้ วัสด
อ่านต่อ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2568

ถาม-ตอบ

ถาม-ตอบ
โครงสร้างพื้นฐานเกษตร
อยากได้โครงสร้างโรงเรือนปลูกมะเขือเทศ หลังคาพลาสติกจะปลูกมะเขือเทศ โดยใส่กระถางพื้นดินปูยาง จะสร้างโรงเรือนเองขนาดเล็ก อาจจะหลายๆ โรง ปลูกโรงละไม่เกิน 20-30 ต้น ควรสร้างโรงเรือนขนาดกว้างยาวเท่าไหร่ อยากได้แบบและโครงสร้างด้วยครับ
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
ตอบ คุณ NITI - Ahar 1. ขนาดโรงเรือนที่เหมาะสม สำหรับปลูกมะเขือเทศจำนวน 20–30 ต้น มะเขือเทศในกระถางต้องการพื้นที่ต่อกระถาง ~0.4–0.6 ตร.ม./ต้น รวมทางเดิน จำนวนต้น ขนาดโรงเรือนโดยประมาณ 20 ต้น         กว้าง 3 เมตร x ยาว 6 เมตร (18 ตร.ม.) 30 ต้น         กว้าง 3.5 เมตร x ยาว 7 เมตร (24.5 ตร.ม.) ความสูง 2.5–3 เมตรทรงจั่ว เพื่อให้ระบายอากาศดี และสามารถพยุงต้นมะเขือเทศได้ (โดยเชือกห้อย หรือไม้ค้ำ) 2. โครงสร้างโรงเรือนแบบง่าย โครงสร้างหลัก - เสาเหล็กกล่อง (ขนาด 1.5–2 นิ้ว) หรือเสาท่อประปาเหล็กชุบกัลวาไนซ์ - ค้ำด้วยเหล็กแป๊บกลมหรือกล่องแนวนอน - หลังคาทรงจั่ว คลุมด้วยพลาสติกใส UV 200 ไมครอน หลังคา - ใช้พลาสติก PE UV เกรดสำหรับการเกษตร สีใสหรือฟ้าอ่อน หนา 150–200 ไมครอน - ด้านข้างติดมุ้งกันแมลง - ด้านหน้า-หลังเจาะช่องระบายอากาศ (เปิด/ปิดได้) พื้น - ปูด้วยยางพารารีไซเคิล / ผ้ายาง / แผ่นพลาสติกคลุมดิน - มีทางเดินตรงกลางกว้าง 60 ซม. หรือพอเข็นรถเข็นผ่านได้ 3. โครงสร้างเบื้องต้น แบบ 3x6 เมตร (สำหรับปลุก 20 ต้น) มีประตูหน้า/หลัง หลังคาพลาสติกใส มุ้งด้านข้าง มีเชือกห้อยต้น 📐 วัสดุที่แนะนำ - เสากล่องเหล็ก 6-8 ต้น - เหล็กค้ำด้านบนและด้านข้าง ~10 เส้น - พลาสติกคลุมหลังคา PE UV 4 x 8 เมตร - มุ้งกันแมลง 2 ด้านข้าง x ความสูง 1.8 เมตร - ผ้ายางคลุมพื้น 3 x 6 เมตร ทั้งนี้ ได้แนบภาพประกอบไว้ด้านล่างเพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลแนวทางการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนได้จากกรณีตัวอย่างของเกษตรกรในบทความ “มะเขือเทศเชอร์รี – พืชประหยัดน้ำ ปลูกลงดิน ดกจนกิ่งหัก ทำเงิน 40,000 บาทต่อสัปดาห์” ซึ่งแนบไว้ในข้อมูลเพิ่มเติม หมายเหตุ: ได้จัดทำโครงสร้างตัวอย่างไว้ด้านล่าง ซึ่งสามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ได้นำข้อมูลที่ได้รับจากคำถามมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างและจัดทำภาพประกอบโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้เกษตรกรสามารถมองเห็นภาพรวมและประกอบการตัดสินใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
ถาม-ตอบ
การผลิตพืช
อยากทราบวิธีปลูกและดูแล ให้ปุ๋ย เก็บเกี่ยว ต้นมะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ลูกเล็ก ๆ ที่กินผลสด จะปลูกที่ปากช่องโคราช ตอนนี้ผมเพาะพันธุ์โซดาดีน่าไว้ส่วนหนึ่ง
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
ตอบ คุณ NITI - Ahar การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต - การเตรียมดินปลูก ขุดดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดินแล้วใส่ปูนขาวหรือโดโลไมด์อัตรา 0-100 กรัม/ต.ร.ม.คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. และปุ๋ยสูตร 0-4-0 อัตรา 100 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน - การเตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 เมตร ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม.รองพื้นด้วยไตรโคเคอร์มา แล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หรือเพาะกล้าในถาดหลุม อายุกล้า 20-25 วัน จึงย้ายปลูก - การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน แล้วย้ายกล้ามาปลูกกลบดินรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-2 วัน/ครั้ง - การให้ปุ๋ย 1. การให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้ ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก หรือสูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน ระยะที่ 2 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ต.ร.ม./วัน ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก ปุ๋ย 20-10-30 5 ส่วนน้ำหนัก หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า 2. การให้ปุ๋ยเม็ด ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-15 วัน ใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 25 กรัม/ต.ร.ม. เพื่อเร่งการเติบโต ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50 กรัม/ต.ร.ม. ครั้งที่ 3 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 15 วัน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 30 กรัม/ต.ร.ม. - การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ช่วงเก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุประมาณ 60 วัน (หลังย้ายปลูก) การเก็บเกี่ยว 1. เก็บเกี่ยวเมื่ออายุเหมาะสม โดยใช้กรรไกรตัดก้านผลให้เหลือก้านยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ควรเก็บผลที่มีสีเขียวปนเหลืองหรือชมพู (Pink stage) 2. คัดแยกผลที่มีสีใกล้เคียงกันและจัดชั้นคุณภาพ 3. บรรจุในตะกร้าพลาสติกให้น้ำหนักไม่เกิน 17 กิโลกรัม 4. ขนส่งโดยรถบรรทุกธรรมดาหรือรถห้องเย็นที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบได้ค่ะ ซึ่งได้แนบตัวอย่างสวนและฟาร์มที่ประสบความสำเร็จในการปลูกมาเป็นแนวทางในการตัดสินใจปลูกด้วยค่ะ
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
ถาม-ตอบ
การแปรรูปวัสดุเหลือใช้เกษตร
การแปรรูปอาหาร
มังคุดที่ราคาตกอยู่ในขณะนี้ สามารถนำไปแปรรูปทำอะไรได้บ้าง
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 24 มิถุนายน 2568
จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันมีผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมังคุดเพื่อจัดการผลผลิต ถนอมอาหาร และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ดังนี้ - น้ำมังคุด เช่น วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์เพ็ญทิวา จ.จันทบุรี โทร. 08 4123 0082 - ซอสมังคุด/น้ำพริกเผามังคุด เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลายคลอง จ.จันทบุรี โทร. 0 90285 8964 - มังคุดกวน เช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีศรีขันเงิน จ.ชุมพร โทร. 0 7752 0137 - แยมมังคุด เช่น วิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ผลต้นน้ำตาปี จ.นครศรีธรรมราช โทร. 08 1979 6110 - สเปรย์ฆ่าเชื้อสารสกัดจากมังคุด และสารสกัดเปลือกมังคุดสำหรับเวชสำอาง เช่น วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มังคุดตำบลคมบาง จ.จันทบุรี โทร. 09 8552 3118 - และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโนโลยีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในการผลิต เช่น มังคุดแช่แข็งอบแห้ง น้ำส้มสายชู มังคุดไซเดอร์ มังคุดกระป๋อง ยาทำความสะอาดแผล สบู่ เจลรักษาสิว หน้ากากอนามัย เจลล้างหน้า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลืิอทิ้ง เช่น แป้งโรยเท้า สเปรย์ดับกลิ่นเท้า แผ่นรองรองเท้า สติ๊กเกอร์แปะรองเท้า เครื่องเรือน ของใช้ ของที่ระลึก วัสดุทดแทนไม้ ปุ๋ยหมัก โดยสามารถอ่านข้อมูลและรายละเอียดการทำ ได้จากเอกสารเผยแพร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลืิอทิ้งมังคุด ที่ข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 24 มิถุนายน 2568

คลังความรู้

แหล่งความรู้อื่นๆ
การผลิตพืช
มะเขือเทศเชอรี่
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดทำความรู้เกี่ยวการปลูก มะเขือเทศเชอรี่ ประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ถิ่นกำเนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คุณค่าทางอาหาร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เทคนิคการปลูก การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
โพสต์เมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
แหล่งความรู้อื่นๆ
โครงสร้างพื้นฐานเกษตร
คู่มือ โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นและการบริหารจัดการปลูกพืช
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับ สวทช. และพันธมิตร ได้พัฒนา ชุดเทคโนโลยีโรงเรือนปลูกพืชและการบริหารจัดการการผลิตพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีโรงเรือนร่วมกับองค์ความรู้ด้านการจัดการ เพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำ คู่มือโรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และตอบโจทย์ตลาดได้อย่างยั่งยืน
โพสต์เมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
แหล่งความรู้อื่นๆ
การผลิตพืช
การปลูกมะเขือเทศเชอรี่ในภาคกลาง
บทความนำเสนอเทคนิคการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ในภาคกลาง ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ การเตรียมดิน การดูแลในฤดูกาลต่างๆ ไปจนถึงการป้องกันโรคและเพิ่มผลผลิต เหมาะสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจปลูกพืชผักเพื่อบริโภคหรือจำหน่าย
โพสต์เมื่อ 4 กรกฎาคม 2568
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู