แจ้งเตือน

แจ้งเตือน
ศัตรูพืช
ระวังหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
เพศเมียวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบ และบนใบพืช แต่ละกลุ่มจะมีไข่ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ ฟอง มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม การทำลายพืชเกิดขึ้นในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น หนอนจะระบาดทำลายข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วัน จนกระทั่งออกเป็นฝัก โดยกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบ ทำลายช่อดอกตัวผู้ กัดกินไหม ฝัก เมล็ด และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบข้าวโพด ความเสียหายที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในระยะต้นอ่อนทำให้พืชตาย ระยะต้นแก่พืชจะไม่เจริญเติบโต ฝักลีบไม่สมบูรณ์ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหาย 73 เปอร์เซ็นต์
 
แนวทางป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน
1. การเตรียมดิน ไถพรวนและตากดิน เพื่อกำจัดระยะดักแด้ที่อยู่ในดิน
2. ระยะก่อนปลูก คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ด้วยสารไซแอนทรานิลิโพรล 20% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม วิธีคลุกเมล็ด ใส่สารลงไปในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้สนิท รีดสารให้ทั่วถุงแล้วจึงเปิดปากถุง นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดใส่ลงไป มัดปากถุงโดยทำให้ถุงพองลม เขย่าให้ทั่ว เปิดปากถุงผึ่งเมล็ดพันธุ์ให้แห้งในที่ร่ม แล้วจึงนำไปปลูก
3. ระยะหลังปลูก
3.1 หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที
3.2 ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น
3.3 ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.4 หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
3.5 ใช้อัตราพ่นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของข้าวโพด ขณะพ่นสารพ่นให้ละอองสารลงสู่กรวยยอดมากที่สุด
การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี
- ต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน (1 รอบวงจรชีวิต) เพื่อลดความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง
- ขณะพ่นสารผู้พ่นควรอยู่เหนือลมเสมอ ผู้พ่นสารควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด
สารคลุกเมล็ด
IRAC กลุ่ม 28
1. สารไซแอนทรานิลิโพรล 20% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
สารเคมีพ่นทางใบ
IRAC กลุ่ม 5
1. สารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2. สารสไปนีโทแรม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 6
1. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 5% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 13
1. สารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 15
1. สารลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 22
1. สารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 18+5
1. สารเมทอกซีฟีโนไซด์+สไปนีโทแรม 30+6% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
IRAC กลุ่ม 28
1. สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2.สารฟลูเบนไดอะไมด์ 20% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
สารชีวภัณฑ์
IRAC กลุ่ม 11
1. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์ไอซาไว อัตรา 80 กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
2. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์เคอร์สตากี้ อัตรา 80 กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

อ่านต่อ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567
แจ้งเตือน
ศัตรูพืช
โรคพืช
ระวังหนอนแมลงวันชอนใบและโรคเหี่ยวเขียวในแปลงมะเขือเทศ
 
ระวังหนอนแมลงวันชอนใบและโรคเหี่ยวเขียว ชี้หากพบระบาดขั้นรุนแรงต้นตาย แนะเกษตรกรหมั่นสำรวจแปลง หากพบการะบาดให้เผาเศษใบมะเขือเทศที่ถูกทำลายตัดวงจรแพร่ระบาด ขุดต้นที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง พร้อมกับไม่ปลูกพืชอาศัยเชื้อสาเหตุโรคช่วยลดการแพร่ระบาดโรคเหี่ยวเขียว
 
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศหมั่นสำรวจสวนและเฝ้าระวังการเข้าทำลายของศัตรูพืชที่มักพบระบาดในช่วงเวลานี้คือหนอนแมลงวันชอนใบ ซึ่งพบการเข้าทำลายได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ โดยตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบมะเขือเทศมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งแสงใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบหากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่นซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตหากมะเขือเทศไม่สามารถสร้างใบทดแทนได้ก็จะตายไปในที่สุด
วิธีการป้องกันกำจัด หากพบการเข้าทำลายของหนอนแมลงวันชอนใบตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช คือ เผาทำลายเศษใบมะเขือเทศที่ถูกทำลายตามพื้นดินจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบมะเขือเทศจะถูกทำลายไปด้วย ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพตามคำแนะนำ เช่น อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบการระบาดพ่น 2 ครั้งติดต่อกันทุก 5 วัน
นอกจากนี้ เกษตรกรยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโรคเหี่ยวเขียวจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โดยอาการเริ่มแรกใบล่างจะเหี่ยวและลู่ลง ใบแก่ที่อยู่ด้านล่างมีอาการเหลือง และใบที่เหี่ยวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ระยะแรกจะแสดงอาการเหี่ยวเฉพาะเวลากลางวันที่อากาศร้อนจัดต่อมาอาการเหี่ยวจะนานขึ้นจนกระทั่งเหี่ยวถาวรทั้งวัน อาการจะลามขึ้นไปยังส่วนยอด ขอบใบม้วนลงด้านล่าง เมื่อถอนต้นขึ้นมาพบว่ารากเกิดอาการเน่า และถ้าตัดลำต้นตามขวางแช่น้ำสะอาด ภายใน 5-10 นาทีจะมีเมือกสีขาวขุ่นไหลออกมาตามรอยตัดเป็นสายละลายปนกับน้ำ หากอาการรุนแรงจะพบภายในลำต้นกลวงเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยเชื้อสาเหตุโรคและมะเขือเทศจะตายในที่สุด
แนวทางในการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเขียว เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อนและมีการระบายน้ำที่ดี ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตรจากผิวดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก สำหรับพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค สามารถฆ่าเชื้อโรคในดินโดยใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่หว่านลงในแปลงหลังไถพรวนดินครั้งแรก จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์จึงเริ่มปลูกพืช พร้อมกับหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอเมื่อพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันทีและโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดเพื่อป้องกันการระบาดของโรค อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรควรฆ่าเชื้อโดยจุ่มหรือพ่นด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือคลอรอกซ์ 10% ก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดของเชื้อ ปรับระบบการให้น้ำ ควบคุมความชื้นในดินไม่ให้มากเกินไปเพื่อลดการเกิดโรค ไม่ควรปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรคเช่นพืชตระกูลขิงพืชตระกูลมะเขือพริกและถั่วลิสงบริเวณใกล้แปลงปลูกมะเขือเทศที่เป็นโรคเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ในแปลงที่มีการระบาดของโรคหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้นำส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก และในพื้นที่เกิดโรคระบาดควรปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรคเช่นข้าวโพดข้าวฝ้ายถั่วเหลืองสลับกันเป็นเวลามากกว่า 1 ปี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ่านต่อ
วันที่ 17 กรกฎาคม 2567
แจ้งเตือน
โรคพืช
เตือนระวังโรคบนหน้ากรีดยางในฤดูฝน
ขณะนี้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ทำให้หลายพื้นที่มีฝนตกและความชื้นสูงเหมาะสมต่อการเจริญและแพร่ระบาดของเชื้อราสาเหตุของโรคต่าง ๆ ของยางพารา ที่สามารถเกิดได้ทั้งส่วนใบ ส่วนลำต้นและราก และเกิดได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคมากน้อยแตกต่างกันไปตามแหล่งปลูกยางและจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพของแปลงปลูกสภาวะอากาศในแต่ละพื้นที่ รวมถึงพันธุ์ยางที่ใช้ปลูก อย่างไรก็ตามโรคยางพาราส่วนใหญ่มักระบาดไม่รุนแรงมาก จนทำให้ต้นยางตาย แต่มีผลทำให้ผลผลิตลดลง สำหรับโรคที่เกิดส่วนลำต้นและมีความสำคัญได้แก่ โรคเส้นดำ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นบนหน้ากรีดยาง ทำให้ไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้อีกเป็นผลให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตสั้นลง ดังนั้น เกษตรกรควรทำความเข้าใจกับโรคที่เกิดขึ้นเพื่อสามารถป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
- โรคเส้นดำ (Black stripc) เป็นโรคของ ยางพาราที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า (Phytophthora botryosa, P. palmivora) เป็นโรคทางลำต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเชื้อเข้าทำลายหน้ากรีดซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บเกี่ยวน้ำยาง หากอาการรุนแรงจะไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนห้ากรีดเดิมได้อีกทำให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตสั้นลง โรคเส้นดำเป็นโรคที่แพร่ระบาดในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบร่วงและผักเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทราเป็นประจำ เนื้องจากเชื้อราที่เข้าทำลายฝักยาง ใบ และก้านใบเป็นแห่งเชื้อที่สามารถแพร่ระบาดเข้าทำลายหน้ากรีด เกษตรกรสามารถสังเกตลักษณะอาการของโรคเส้นดำได้ ตรงเหนือรอยกรีด จะมีลักษณะเป็นรอยช้ำ ต่อมาจะกลายเป็นรอยปุ๋มสีดำตามแนวยางชองลำต้น เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยปุ๋มสีดำจะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด ถ้าอาการรุนแรง บริเวณที่เป็นโรคจะปริเน่า มีน้ำยางไหลเปลือกเน่าหลุดออกมา ถ้าการเข้าทำลายของเชื้อไม่รุนแรง เปลือกงอกใหม่จะเป็นปุ่มปม ทำให้ไม่สามารถกรีดยางได้
เชื้อราสาเหตุของโรคเส้นดำแพร่ระบาดโดยเชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด และจะระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มีการป้องกันรักษาหน้ากรีด เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความชื้นสูง ๆ หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ พบว่าเชื้อราสาเหตุของโรคสามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด เช่น มะละกอ แตงโม ส้ม ทุกเรียน พริกไทย โกโก้ มะพร้าว ยาสูบ กล้วยไม้ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ปลูกพืชเหล่านี้เป็นพืชแซมยางหรือพืชร่วมยาง และไม่ควรเปิดกรีดยางในช่วงฤดูฝนในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง ระยะที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราระบาด แนะนำให้ใช้สารเคมีทา ป้องกันโรคที่หน้ากรีดสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ คือเมทาแลคซิล เช่น เอพรอน หรือ ฟอสเอทธิล อลูมินัม เช่น อาลีเอท ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 7-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ทาพื้นที่หน้ากรีดหรือทาเหนือรอยกรีดภายใน 12 ชั่วโมง หลังการกรีดยางทุกสัปดาห์ แต่หากพบอาการที่หน้ากรีดต้องเฉือนเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกเสียก่อน แล้วจึงทาแผลด้วยสารเคมี สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ คือ เมทาแลคซิล เช่น เอพรอน อัตรา 14 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือฟอสเอทธิล-อลูมินั่ม เช่น อลีเอทอัตรา 20-25 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ ออกซาไดซิล+แมนโคเซนโดแฟน-เอ็ม อัตรา 40-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งผสมสารจับใบ 2 ซีซี พ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 5-7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง
ในช่วงที่ฝนตกชุก เกษตรกรควรหมั่นตรวจตราดูแลสวนยางอย่างสม่ำเสมอและสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของต้นยางที่เกิดขึ้น เพื่อตรวจวินิฉัยพิจารณาแก้ไขปัญหาเบื้อต้น และป้องกันกำจัด ก่อนที่การระบาดของโรคจะรุนแรงมากขึ้น การบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดี

อ่านต่อ
วันที่ 15 กรกฎาคม 2567

ข่าวสาร

ข่าวสาร
การผลิตพืช
เห็ดฟางพันธุ์ใหม่ “กวก. สทช.1” ให้ผลผลิตสูง ดอกตูม ทรงน้ำเต้า ตรงเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตรเห็ดฟาง
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยได้รับความนิยมเพาะบริโภคอย่างแพร่หลาย มีกำลังการผลิตสูงถึง 55 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตเห็ดรวมที่ผลิตได้ในประเทศ โดยมีพื้นที่ภาคกลางเป็นแหล่งการผลิตหลักและมีตลาดกลางที่จำหน่ายผลผลิตเห็ดฟาง ได้แก่ ตลาดไทและ
อ่านต่อ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567
ข่าวสาร
การค้า/การตลาด
แข่งขันการจัดกล้วยไม้ งาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ครั้งที่ 16
มก. ขอเชิญร่วมแข่งขันการจัดกล้วยไม้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ครั้งที่ 16มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ขอเชิญร่วมแข่งขันการจัดกล้วยไม้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าส
อ่านต่อ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567
ข่าวสาร
การศึกษา
เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
มก. ร่วมลงนามกับ AGRIFOOD FUTURES และ Y&Archer เพื่อพัฒนาธุรกิจสตาร์ตอัปสู่ระดับนานาชาติ
จากความร่วมมือระหว่างเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ เมืองนวัตกรรมอาหาร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ AGRIFOOD FUTURES ในโครงการ “แพลตฟอร์มการยกระดับและเร่งรัดพัฒนาธุรกิจสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารเชิงลึกสู่การเติ
อ่านต่อ
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567

ถาม-ตอบ

ถาม-ตอบ
การค้า/การตลาด
สวัสดีครับ ขอสอบถามตลาด-แหล่งรับซื้อมะละกอแขกนวลภาคอีสานในจังหวัดอุดรธานีครับ
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567
ตลาดอุดรเมืองทอง ค่ะ เกษตรกรสามารถเข้าร่วมกลุ่มตลาดเมืองทองเจริญศรี จ.อุดรธานี ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/568700640394003/
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567
ถาม-ตอบ
การปรับปรุงดิน
ถ้าเป็นดินดานเอามาถมที่ จอบขุดไม่ลง น่าจะเป็นดินก้นบ่อ ต้องปลูกอะไร ยังไง ดีครับ ฝนตกลงมาไม่ซึมลงไปเลย
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567
รบกวนพิจารณาตามนี้ค่ะ 1. ดินดานที่พบบนพื้นที่ดอน ถ้าเป็นชั้นดานแข็งที่มีแนวสัมผัสหินแข็งและเป็นดินตื้น ควรใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าทดแทน หรือปลูกพืชไร่ที่มีระบบรากสั้น ในกรณีที่พบชั้นดานอยู่ตื้น ถ้าจะปลูกไม้ผลควรมีการปรับปรุงเฉพาะหลุมเพื่อให้รากพืชสามารถหาน้ำและอาหารได้ 2. ดินดานที่พบในที่ลุ่ม มีความเหมาะสมในการทำนา แต่ต้องจัดการดินโดยปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การปรับคันนาเพื่อการกักเก็บน้ำ และการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด 3. ถ้าเป็นชั้นดานที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ การจัดการดินต้องไถระเบิดดินดาน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเตรียมดินอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ไถพรวนบ่อย หรือไม่ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไป เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินเพื่อให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ลดความหนาแน่นรวมของดินเพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567
ถาม-ตอบ
การปรับปรุงดิน
นวัตกรรมที่ช่วยฟื้นฟูดินหลังจากเผาตอซังข้าวมีอะไรบ้าง
นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มก.
ตอบเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567
การปรับปรุงดิน สามารถทำได้โดยหว่านพืชปุ๋ยสดก่อนปลูกข้าวแล้วไถกลบในระยะออกดอก เนื่องจากมีธาตุอาหารสูงสุด หรือใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับดินเปรี้ยวการใส่ปูนจะทำให้สภาพดินเหมาะสมต่อการปลูกเพิ่มขึ้นค่ะ หลังจากปรับปรุงดินแล้ว ควรงดการเผาตอซังและใช้การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวในรอบถัดไป สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้จาก ข้อมูลเพิ่มเติมและภาพประกอบ ด้านล่าง
อ่านต่อ
ถามเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567

คลังความรู้

แหล่งความรู้อื่นๆ
ศัตรูสัตว์
สำรวจการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ
“ปลาหมอคางดำ” ส่อระบาดหนัก ร่วมกันชี้พิกัดเพื่อเร่งแก้ ก่อนระบบนิเวศสัตว์น้ำไทยพินาศ ขณะนี้มีรายงานพบปลาหมอคางดำ หนึ่งในสัตว์น้ำต่างถิ่นต้องห้าม หรือเอเลียนสปีชีส์ ในแหล่งน้ำภาคกลาง ใต้ และอิสานหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบกับการเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งของเกษตรกรและสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบนิเวศสัตว์น้ำของไทยเสียหายหนัก โดยนับเป็นเวลามากกว่า 10 ปี นับจากปี 2553 ที่กรมประมงได้อนุญาตให้บริษัทเอกชน นำเข้าปลาหมอคางดำ จากประเทศกานามาทดลองเลี้ยง แต่ต่อมาได้พบว่าปลาได้ทยอยตาย และมีการแจ้งว่าได้ทำการกำจัดไปแล้ว อย่างไรก็ตามปี 2555 ได้พบการระบาดของปลาหมอคางดำเป็นครั้งแรกใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหาจากผู้เกี่ยวข้อง เป็นระยะ แต่ยังไม่สามารถระงับการขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำได้ทัน เพราะปลาหมอคางดำสามารถวางไข่และฟักตัวได้ตลอดทั้งปี โดยแม่ปลา 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ประมาณ 150 – 300 ฟอง ปลาหมอคางดำ ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลน สามารถทนความเค็มได้สูง นอกจากนี้ยังพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่น้ำจืด แม่น้ำ และทะเลสาบน้ำจืด ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไม่ไหลแรง ชอบกินทั้งพืช และสัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงกุ้งทะเล กุ้งกุลาดํา กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งแชบ๊วย กรมประมงฯ ออกประกาศห้ามเพาะสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ 13 ชนิด เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 64 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปลาหมอคางดำ ปัจจุบัน มีประชาชนรายงานพบปลาหมอคางดำผ่านเครื่องมือ Inaturalist แพร่ระบาดหลายพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง ไปจนถึงภาคใต้ ภาคอิสาน และจากการรวบรวมพิกัดการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำลงในแผนที่ดิจิตอลของ ครอบครัวห้องเรียนสุดขอบฟ้า พบว่ามีผู้พบเห็นปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเดิมระบาดในแหล่งน้ำภาคกลาง ได้เริ่มกระจายตัวอยู่บริเวณจังหวัดชุมพร และสงขลา เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบพิกัดและเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส ชวนผู้สนใจ ร่วมกันสำรวจพิกัดกับ C-Site พบการระบาดปลาหมอคางดำในพื้นที่ของท่าน เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
โพสต์เมื่อ 15 กรกฎาคม 2567
แหล่งความรู้อื่นๆ
การผลิตพืช
การผลิตผักอินทรีย์
หลักการของผลิตผัก โดย ดร.แสงเดือน อินชนบท สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โพสต์เมื่อ 14 พฤษภาคม 2567
แหล่งความรู้อื่นๆ
การส่งเสริม
Line เกษตรมาแล้ว
แหล่งรวมองค์ความรู้ ที่ทำให้ทุกคนค้นหาสื่อ/ข้อมูล ด้านการเกษตรได้ง่าย สามารถค้นหาเบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่ ส่วนกลาง/ภูมิภาคได้ ค้นหาการอบรม/ดูงาน และเข้าถึงช่องทางการบริการต่างๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร คลิกเพิ่มเพื่อน >> https://lin.ee/rqDwz1g
โพสต์เมื่อ 14 พฤษภาคม 2567
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู