แจ้งเตือนทุกหมวดหมู่

แสดง 1 - 20 จาก 310
หน้า
  • แจ้งเตือน
    อุตุนิยมวิทยา
    พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่างวันที่ 27 มิ.ย. 2568 ถึง 3 ก.ค. 2568
     
    ⚠️ 1–3 ก.ค. 68 เกษตรกรใน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรระวังฝนตกหนักและฝนสะสม อาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก
    📍 เฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ลาดเชิงเขา ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มต่ำ
    💧 เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ ป้องกันความเสียหายล่วงหน้า

    อ่านต่อ
    วันที่ 30 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    กรมการข้าวแนะวิธีป้องกันด้วงดำบุกนา

    ด้วงดำ” หรือที่ชาวนาเรียกว่า ด้วงซัดดัม เป็นแมลงศัตรูพืชที่พบมากในนาข้าวภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณ ทุ่งกุลาร้องไห้ มักระบาดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ใน นาหว่านข้าวแห้ง ที่ปลูกเร็วกว่าฤดูปกติ

    🔹 ด้วงดำจะกัดกินส่วนอ่อนใต้ดินของต้นข้าว (ช่วงรากกับลำต้น) ทำให้ต้นข้าว เหลือง เหี่ยว และแห้งตาย
    🔹 ต้นข้าวที่ถูกทำลายมักอายุระหว่าง 15-45 วันหลังงอก
    🔹 ลักษณะต้นข้าวที่เสียหายจะดูคล้ายขาดปุ๋ยหรือถูกเพลี้ยไฟ แต่จะมี รอยขุดในดินเป็นแนวยาว เพราะด้วงมุดดินไปกัดต้นใหม่

    วิธีป้องกันและกำจัด
    1. ปลูกข้าวแบบ ปักดำ แทนการหว่านแห้ง
    2. ถ้าหว่านแห้ง ควรปลูกตามฤดูกาล (เดือน สิงหาคม)
    3 .ใช้ ไฟแบล็คไลท์ ล่อและทำลายตัวเต็มวัยของด้วง
    4. เฝ้าระวัง ถ้าเจอด้วงในกับดักแสงไฟมากกว่าปกติ

    👉 ข้อมูลจาก กรมการข้าว


    อ่านต่อ
    วันที่ 17 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    🌧️ เตือนภัยฤดูฝน! รู้ทัน โรคตายพรายกล้วย ก่อนผลผลิตเสียหาย เชื้อราร้ายแฝงในดิน ป้องกันได้ก่อนสาย!

    ช่วงฤดูฝน เกษตรกรต้องเฝ้าระวัง โรคตายพรายกล้วย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า โรคเหี่ยว/โรคปานามา ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense มักพบในกล้วยทุกช่วงการเจริญเติบโต โดยเฉพาะต้นที่ขาดการดูแลและมีความชื้นสูง

    🔍 อาการของโรค
    - ใบกล้วยรอบนอกเหลือง เหี่ยว หักพับ
    - ลำต้นชะงักการเจริญเติบโต
    - เมื่อตัดลำต้นตามยาวจะพบเนื้อเยื่อเน่าสีน้ำตาล

    🛡 แนวทางป้องกันกำจัดโรค อย่าใช้หน่อพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค
    - ชุบหน่อด้วยสารป้องกันเชื้อรา
    - ปรับดินไม่ให้เป็นกรด และมีการระบายน้ำดี
    - ขุดต้นที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง และโรยปูนขาว
    - หมั่นตรวจแปลง และเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่นหากพบการระบาด


    อ่านต่อ
    วันที่ 17 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    🐛 ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ศัตรูเงียบที่ทำลายคุณภาพผลผลิต

    หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หรือที่ชาวสวนเรียกว่า “หนอนรู” เป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายผลทุเรียนจากด้านในโดยไม่แสดงอาการภายนอก เมื่อหนอนโตจะเจาะเปลือกเป็นรูออกมา และทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ทำให้เกษตรกรมักตรวจพบความเสียหาย หลังเก็บเกี่ยว แล้วเท่านั้น

    🔍 ลักษณะการทำลาย
    - หนอนจะฟักจากไข่ที่วางบนผลอ่อน แล้วเจาะเข้าไปกินเมล็ด
    - มูลของหนอนปนกับเนื้อทุเรียน ทำให้ เนื้อเสียคุณภาพ ขายสดไม่ได้
    - มักพบในผลที่เมล็ดแข็งแล้ว
    - รูที่หนอนเจาะออกมีขนาด 5-8 มม.

    🛡 แนวทางป้องกันและกำจัด
    - งดนำเมล็ดจากแหล่งอื่นโดยไม่คัดกรอง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลงก่อนปลูก
    - ห่อผลทุเรียน ด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่นขนาด 40x75 ซม. เริ่มห่าตั้งแต่ผลอายุ 6 สัปดาห์
    - พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น คาร์บาริล หรือแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน ทุก 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์
    - ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมหรือบิวเวอร์เรีย พ่นลงดินช่วงฝนตกหรือดินชื้น
    - ใช้กับดักแสงไฟแบล็คไลท์ เพื่อตรวจจับการระบาดของตัวเต็มวัย
    - พ่นสารป้องกันกำจัดเมื่อพบการระบาด โดยเลือกใช้สารที่เหมาะสมตามคำแนะนำ
    - เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ เดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์


    อ่านต่อ
    วันที่ 17 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    ภัยจากการเกษตร
    ระวังโรคไข้ดิน
    วันที่ 10 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    🔔 แจ้งเตือนภัยการเกษตร: ระวังหนอนกระทู้ผักระบาดในพืชตระกูลกะหล่ำ

    สภาพอากาศร้อน สลับกับฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่
    ⚠️ ส่งผลให้ หนอนกระทู้ผัก มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้นในแปลงผักตระกูลกะหล่ำ เช่น
    คะน้า, กะหล่ำปลี, ผักกาดขาว, กะหล่ำดอก, บรอกโคลี ฯลฯ

    🐛 ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผัก
    - ระยะแรก: เข้าทำลายเป็นกลุ่ม
    - ระยะต่อมา: ทำลายรุนแรง กัดกินใบ ก้าน หรือเจาะเข้าหัวกะหล่ำ
    - การระบาดมักเกิดเป็นหย่อม ๆ บริเวณที่ตัวเต็มวัยวางไข่
    - แพร่ระบาดรวดเร็ว และพบได้ตลอดปี

    ✅ แนวทางป้องกันกำจัด

    วิธีเขตกรรม ไถตากดิน เก็บเศษซากพืชอาหาร → เพื่อลดดักแด้และแหล่งขยายพันธุ์

    วิธีกล เก็บกลุ่มไข่และตัวหนอน → ลดการระบาดได้อย่างปลอดภัย

    ชีวภัณฑ์

    เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt)

    - อัตรา 40–80 กรัม / น้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP)

    - หรือ 60–100 มล. / น้ำ 20 ลิตร (SC)

    - พ่นทุก 3–5 วัน ขณะพบการระบาด

    - หากระบาดรุนแรงให้พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วห่างทุก 5 วัน

    ไวรัส NPV (Nucleopolyhedrovirus)

    - อัตรา 40-50 มล. / น้ำ 20 ลิตร (SC)

    - พ่นทุก 7-10 วัน

    - หนอนขนาดเล็กควรพ่นทันที เพื่อควบคุมได้เร็ว

    - หากระบาดรุนแรง ให้พ่น 50 มล. ทุก 4 วัน ติดต่อกัน 2 ครั้ง

    สารเคมี (ใช้เมื่อจำเป็น และระบาดรุนแรง)

    คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC → 30 มล. / น้ำ 20 ลิตร

    อินดอกซาคาร์บ 15% EC → 30 มล. / น้ำ 20 ลิตร

    อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC → 20 มล. / น้ำ 20 ลิตร

    ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG → 6 กรัม / น้ำ 20 ลิตร

    คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC → 30 มล. / น้ำ 20 ลิตร

    ควรพ่นเมื่อพบการระบาด และสลับกลุ่มสารเพื่อลดการดื้อยา


    อ่านต่อ
    วันที่ 5 มิถุนายน 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    เตือนภัยการเกษตร : เตือนหนอนหัวดำมะพร้าวระบาดในช่วงอากาศร้อนและฝนตก

    ด้วยในช่วงนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนสลับกับฝนตกและฝนตกหนักบางแห่ง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ให้เฝ้าระวังการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายรุนแรงต่อผลผลิตและต้นมะพร้าวได้

    ลักษณะการทำลาย
    หนอนหัวดำมะพร้าวจะเข้าทำลายใบมะพร้าว โดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ และสร้างอุโมงค์จากเส้นใยผสมกับมูลของตัวเองเพื่อหลบซ่อน ตัวหนอนจะกัดกินผิวใบจากภายในอุโมงค์ ซึ่งหากการระบาดรุนแรง อาจขยายไปถึงก้านใบ จั่น และผลมะพร้าวได้ นอกจากนี้ หนอนหัวดำมะพร้าวอาจทำให้ทางใบหลายทางเสียหายพร้อมกัน และหากปล่อยไว้นานโดยไม่ควบคุม อาจส่งผลให้ต้นมะพร้าวยืนต้นตาย
    แนวทางป้องกันกำจัด
    กรณีพบการระบาดน้อย–ปานกลาง
    1. ทำลายแหล่งอาศัย ตัดใบที่ถูกทำลาย ย่อยสลาย ฝังกลบ หรือจมน้ำทันที เพื่อลดประชากรหนอน
    2. ใช้ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis อัตรา 80-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบต้นละ 5 ลิตร ทุก 7 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง
    3. ปล่อยแตนเบียนตัวห้ำศัตรูธรรมชาติ
    * แตนเบียน *Goniozus nephantidis* อัตรา 200 ตัว/ไร่ หรือ
    * แตนเบียน *Brachymeria nephantidis* อัตรา 120 ตัว/ไร่
    * ปล่อยในช่วงเย็น ทุก 7 วัน ติดต่อกัน 4 ครั้ง

    กรณีพบการระบาดรุนแรง
    1. ต้นมะพร้าวสูงไม่เกิน 4 เมตร พ่นสารเคมีทางใบ ใช้สารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1–2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน
    * ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    * คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร
    * สปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร *(พิษสูงต่อผึ้ง)*
    * ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร *(พิษสูงต่อกุ้ง)*
    หมายเหตุ หากจะปล่อยแตนเบียน ควรพ่นสารเคมีก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์

    2. ต้นมะพร้าวสูงเกิน 4 เมตร ความสูง 4-12 เมตร ฉีดสารเข้าลำต้น
    * อีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 5 มล./ต้น
    * อะบาเมกติน 1.8% EC อัตรา 15 มล./ต้น
     กรณีต้นมะพร้าวความสูงเกิน 12 เมตร ฉีดสารเข้าลำต้น
    * อีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 10 มล./ต้น 
    * อะบาเมกติน 1.8% EC อัตรา 30 มล./ต้น
    วิธีฉีด: เจาะรูเอียง 45 องศา 1–2 รู สูงจากพื้นดิน 0.5-1 เมตร ใส่สารเคมีแล้วอุดรูด้วยดินน้ำมัน
    > ประสิทธิภาพการควบคุมหนอนยาวนานประมาณ 90 วัน
    > ไม่แนะนำให้ใช้วิธีฉีดสารกับต้นมะพร้าวที่สูงต่ำกว่า 4 เมตร

    จึงขอให้เกษตรกรติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากพบการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ให้ดำเนินการควบคุมตามแนวทางข้างต้นทันที หากต้องการคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริการห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทยได้ที่ https://thaifarmer.lib.ku.ac.th/ หรือสอบถามผ่าน Line official ที่ @GuruKasetsart


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    🎯 เตือนภัยเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ช่วงนี้อากาศร้อนสลับฝนตกหนัก เสี่ยงโรคผลเน่าจากเชื้อรา  Phytophthora palmivora

    🔍 ลักษณะอาการ
    – จุดแผลสีน้ำตาลดำบนผล
    – แผลขยายใหญ่ตามการสุก
    – ในความชื้นสูงพบเส้นใยสีขาวบนแผล
    – ผลเน่าร่วงก่อนเก็บเกี่ยว
    – พบตั้งแต่ผลอ่อนจนถึงช่วงบ่มผล


    🛡️ แนวทางป้องกันกำจัด
    1. ตรวจ-ตัด-ทำลาย
    – ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
    – ตัดผลที่มีอาการ
    – เก็บผลเน่าร่วงหล่นไปเผาทำลายนอกแปลง
    2. พ่นสารป้องกันโรคพืช เลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง
    – เมทาแลกซิล 25% WP
    – ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP
    📌 อัตรา 30–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    📆 พ่น 1–2 ครั้ง ห่างกัน 7–10 วัน
    ⛔ หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน

    3. ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
    – ห้ามใช้เครื่องมือร่วมระหว่างต้นเป็นโรคกับต้นปกติ
    – ทำความสะอาดเครื่องมือตัดแต่งทุกครั้ง

    4. ป้องกันผลสัมผัสดิน
    – ปูพื้นด้วยวัสดุสะอาดก่อนวางผล
    – ขนย้ายระวังไม่ให้เกิดบาดแผล
    – เหมาะสำหรับแปลงที่มีปัญหาโคนเน่ารากเน่าและความชื้นสูง

    🔎 รู้หรือไม่
    โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ชนิดเดียวกับโรครากเน่าและโคนเน่า การป้องกันที่ดี คือ การจัดการเชื้อโรคตั้งแต่ในแปลงอย่างจริงจัง

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    🌿 เตือนภัยเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ระวังโรคใบติด หรือใบไหม้ (เชื้อรา Rhizoctonia solani)

    🌦️ ช่วงนี้อากาศร้อนสลับฝนตกหนาแน่นบางพื้นที่ แปลงทุเรียนระยะพัฒนาผล-เก็บเกี่ยว ระวังโรคใบติดหรือใบไหม้

    🔍 อาการที่ควรระวัง
    – เริ่มที่ใบอ่อน มีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก
    – แผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลุกลามสู่ใบปกติ
    – ความชื้นสูงทำให้เกิดเส้นใยคล้ายใยแมงมุม
    – ใบแห้ง ติดกันเป็นกระจุก ห้อยอยู่ตามกิ่ง
    – ใบร่วง จนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด
    → ต้นเสียทรง พุ่มโปร่งไม่สมบูรณ์

    🛡️ แนวทางป้องกันกำจัด
    ✂️ 1. ตัดแต่งกิ่ง
    – ให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ลดความชื้นสะสม
    – แสงแดดส่องทั่วถึง ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
    🌱 2. ควบคุมการแตกใบ
    – แปลงที่มีโรคระบาดบ่อย อย่าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง
    – ลดความเสี่ยงใบอ่อนถูกเชื้อราโจมตี
    🔎 3. ตรวจแปลง & พ่นสารป้องกัน
    – ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
    – ตัดใบและส่วนที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลง

    แนะนำสารป้องกันกำจัด (เลือกใช้ตามความเหมาะสม)
    * คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP (30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP (30–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG (20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG (10–20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ + คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ WG (10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * เฮกซะโคนาโซล 5% SC (20 มล./น้ำ 20 ลิตร)
    * เพนทิโอไพแรด 20% SC (10 มล./น้ำ 20 ลิตร)
    * ฟลูไตรอะฟอล 12.5% SC (20 มล./น้ำ 20 ลิตร)
    * ทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% WG (10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    * โทลโคลฟอส-เมทิล 50% WP (20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
    📆 พ่นทุก 7 วัน ให้ทั่วทรงพุ่ม

    💡 คำแนะนำเพิ่มเติม
    – หมั่นสังเกตอาการโรคหลังฝนตก
    – ทำความสะอาดเครื่องมือตัดแต่งทุกครั้ง
    – ใช้ร่วมกับแนวทางจัดการโรคใบจุดหรือโรคผลเน่า เพื่อการป้องกันเชื้อราหลายชนิดในฤดูฝน


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    🌾 ประกาศเตือนภัยทางการเกษตร ระวังโรครากและหัวเน่าในมันสำปะหลัง ระบาดหนักช่วงฤดูฝน

    ⚠️ สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Phytophthora meadii ที่อยู่ในดินและเศษซากพืช เชื้อสามารถสร้างสปอร์ที่ว่ายน้ำได้ จึงแพร่กระจายได้รวดเร็วในช่วงฝนตกชุก
    🔍 อาการที่ควรสังเกต
    - เริ่มพบอาการตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป
    - โคนต้นบวม มีปุ่มรากเหนือดิน
    - ใบซีดเหลือง ใบล่างเหี่ยวแห้ง
    - รากและหัวเน่า แต่ลำต้นยังดูปกติ
    - หากใช้ลำต้นที่ติดเชื้อเป็นท่อนพันธุ์ จะทำให้โรคแพร่กระจาย

    🛡 แนวทางป้องกันและควบคุมโรค
    1. เตรียมดินให้ดี ไถระเบิดชั้นดินดานและตากดิน 2 สัปดาห์
    2. ยกร่องแปลงปลูก ป้องกันน้ำขัง
    3. เลือกท่อนพันธุ์ปลอดโรค
    4. แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก (แช่ 10 นาที)
    - เมทาแลกซิล 25% WP: 20–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    - หรือฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP: 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    5. จัดระยะปลูกให้โปร่ง ลดความชื้นสะสม
    6. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
    - ถอนต้นที่ติดโรค
    - โรยปูนขาวหรือราดสารเคมีรอบจุดที่พบโรค
    7. หลังเก็บเกี่ยว เก็บเศษซากพืชไปทำลายนอกแปลง
    8. ทำความสะอาดเครื่องจักรกล ป้องกันเชื้อแพร่กระจาย
    9. ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น อ้อย ข้าวโพด ถั่ว

    🚨 แนวทางเมื่อพบการระบาดรุนแรง
    - พบโรค > 50% ของพื้นที่ ไถทิ้ง ทำลายซากพืช และตากดิน
    - พบโรค 30–50%
    - อายุ 1–3 เดือน ไถทิ้งและตากดิน
    - อายุ 4–7 เดือน หว่านปูนขาว + เร่งเก็บเกี่ยว
    - อายุ 8 เดือนขึ้นไป เร่งเก็บเกี่ยวทันที


    📌 ขอให้เกษตรกรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลัง

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    📢 ประกาศเตือนภัยเกษตรกร : ระวังการระบาดของแมลงนูนหลวงในไร่อ้อย

    สภาพอากาศในช่วงนี้มีอากาศร้อนสลับฝนตก และบางพื้นที่มีฝนตกหนัก ขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย โดยเฉพาะในช่วงอ้อยปลูกใหม่และอ้อยระยะแตกกอ ให้ระวังการระบาดของแมลงนูนหลวง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตอย่างรุนแรง

    🐛 ลักษณะการทำลาย
    - ตัวหนอนของแมลงนูนหลวงกัดกินรากอ้อย ทำให้ใบอ้อยเหลือง แห้ง และตายทั้งกอ
    - กออ้อยที่ถูกทำลายสามารถดึงขึ้นจากดินได้ง่าย
    - มักพบการระบาดเป็นหย่อม ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ดอน

    🛡 แนวทางป้องกันและกำจัด
    ✅ ระยะอ้อยปลูกใหม่
    1. ไถพรวนดินหลายครั้ง เพื่อทำลายไข่ หนอน และดักแด้
    2. จับตัวเต็มวัย โดยใช้ไม้ตีหรือเขย่าต้นไม้ช่วง 18.30–19.00 น. ต่อเนื่อง 15–20 วัน
    3. ใช้สารเคมี ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ 320 มล./ไร่ พ่นบนท่อนพันธุ์ก่อนปลูกแล้วกลบดิน
    ✅ ระยะอ้อยแตกกอ
    1. จับตัวเต็มวัย เช่นเดียวกับระยะปลูกใหม่
    2. ใช้สารเคมี ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร
    เปิดหน้าดินห่างจากกออ้อยประมาณ 8 นิ้ว พ่นสารลงร่องแล้วกลบดิน หรือใช้เครื่องผ่าตอแล้วพ่นสารลงในรอยผ่า

    📌 หมายเหตุ
    - พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังจะถูกทำลายน้อยกว่า
    - หนอนเพียง 1 ตัวต่อกอสามารถทำให้อ้อยตายทั้งกอได้


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    เตือนภัย! โรคกุ้งแห้งในพริกระบาดหนักช่วงฝนตก

    ระวังโรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งในพริกช่วงนี้ อากาศร้อนสลับฝนตก ทำให้เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici แพร่ระบาดง่าย โดยเฉพาะในแปลงปลูกพริกที่มีความชื้นสูง

    🚨 ลักษณะอาการ
    1. เริ่มจากจุดแผลช้ำเล็ก ๆ บนผลพริกที่ใกล้สุก
    2. แผลขยายใหญ่เป็นวงกลมหรือวงรี มีตุ่มดำเล็ก ๆ เรียงเป็นวงซ้อน
    3. มีเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน (กลุ่มสปอร์ของเชื้อรา)
    4. ผลพริกโค้งงอคล้ายกุ้งแห้ง
    5. ร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว

    🛡️ แนวทางป้องกันและรับมือ
    1. ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งปลอดโรค หรือแช่น้ำอุ่น 50°C นาน 20–25 นาที
    2. ปลูกแบบโปร่ง หลีกเลี่ยงความชื้นสะสม และกำจัดวัชพืชในแปลงสม่ำเสมอ
    3. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบผลเป็นโรคให้เก็บทำลายนอกแปลง
    4. พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
    อะซอกซีสโตรบิน 25% SC** 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
    แมนโคเซบ 80% WP** 40–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    โพรคลอราซ 50% WP** 20–30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    (พ่นทุก 5–7 วัน เมื่อพบการระบาด)
    5. หมุนเวียนปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อตัดวงจรของโรค


    อ่านต่อ
    วันที่ 28 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    🚨 ประกาศเตือนภัยการเกษตร: ระวังเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ระบาดในช่วงอากาศร้อนแล้ง

    📍 กลุ่มพืชเป้าหมาย: มันสำปะหลัง
    📍 ช่วงอันตราย: ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน แห้งแล้ง

    🔍 ลักษณะการเข้าทำลาย เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังพบได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
    📌 อาศัยตาม ใบ, ยอด, ตา ของพืช
    💧 ดูดน้ำเลี้ยง → ขับของเหลว → เกิด “ราดำ
    🌱 พืชสังเคราะห์แสงลดลง → ใบหงิก ยอดแห้ง ลำต้นโค้งงอ หรือพืชตาย

    🛡 แนวทางป้องกันและกำจัด

    ก่อนปลูก

    ขั้นตอน รายละเอียด
    🔁 ไถพรวนดิน ทำหลายครั้งเพื่อลดเพลี้ยแป้งในดิน
    🌱 เลือกพันธุ์สะอาด ใช้ท่อนพันธุ์ที่ไม่มีเพลี้ยติดมาด้วย
    🧪 แช่ท่อนพันธุ์ ในน้ำผสมสารเคมี 5–10 นาที (ดูตารางสารเคมีด้านล่าง)

    หลังปลูก (ช่วงอายุ 1–4 เดือน)

    ขั้นตอน รายละเอียด
    🌿 สำรวจแปลง เป็นประจำเพื่อดูการระบาด
    🔥 ถอนทำลาย ต้นที่พบเพลี้ย ควรเก็บออกและเผาทำลาย
    💨 พ่นสารเฉพาะจุด เฉพาะบริเวณที่พบการระบาด (ดูตารางด้านล่าง)

    ตารางสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้ง

    ชื่อสาร รูปแบบ อัตราการใช้ (ต่อ น้ำ 20 ลิตร)
    ไทอะมีทอกแซม 25% WG 4 กรัม
    อิมิดาโคลพริด 70% WG 4 กรัม
    ไดโนทีฟูแรน 10% WP 20–40 กรัม
    โคลไทอะนิดิน 16% SG 10 กรัม
    โพรไทโอฟอส 50% EC 50 มิลลิลิตร
    พิริมิฟอส-เมทิล 50% EC 50 มิลลิลิตร
    ไทอะมีทอกแซม/แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 24.7% ZC 10 มิลลิลิตร

    📌 ข้อแนะนำเพิ่มเติม

    • ควร สลับกลุ่มสารเคมี เพื่อลดการดื้อยา
    • หลีกเลี่ยงการพ่นยาในช่วงฝนตกหรือแดดจัด

    อ่านต่อ
    วันที่ 20 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    ประกาศเตือนภัยทางการเกษตร: ระวังไรสี่ขามะพร้าวระบาดช่วงแล้ง ‼️

    📍 พืชเป้าหมาย: มะพร้าวน้ำหอม
    📍 ช่วงระบาด: ฤดูแล้ง โดยเฉพาะช่วง มะพร้าวติดจั่น → ผลขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–25 ซม.)

    🔍 ลักษณะการเข้าทำลาย

    ไรสี่ขามะพร้าว มีขนาดเล็กมาก สีขาวใส มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ใต้กลีบเลี้ยงผลมะพร้าว ตัวเมียวางไข่ได้ 30-50 ฟอง ใช้เวลาเพียง 7-8 วัน จากไข่ → ตัวเต็มวัย เข้าทำลายตั้งแต่ผลเล็กจนผลโต

    ผลกระทบ เกิดแผลปลายผลลึกสีน้ำตาล ผลลีบเล็ก หลุดร่วง ความเสียหายสูงสุดถึง 70%

    🛡 แนวทางป้องกัน/กำจัด

    ก่อนระบาด

    🔧 วิธีการ รายละเอียด
    ✂️ ตัดช่อดอก/ผล ในสวนที่ระบาดรุนแรง
    🧹 เก็บเศษซาก เศษช่อดอก ช่อผล หรือเปลือกมะพร้าว นำไปเผาหรือฝังกลบ
    🔁 ตัดวงจร เพื่อลดการฟักตัวและกลับมาระบาดซ้ำ

    ขณะระบาด
    ๐ พ่นสารกำจัดไรช่วงระยะติดจั่นถึงผลเล็ก พ่นห่างกันทุก 7 วัน
    ๐ ❗ ไม่ควรพ่นช่วงผลใหญ่ เพราะไรซ่อนในขั้วผล
    ๐ ต้องสลับกลุ่มสารเพื่อป้องกันการดื้อยา


    🧪 ตารางสารกำจัดไรสี่ขามะพร้าว

    🧪 ชื่อสาร 💧 รูปแบบ ⚖️ อัตราการใช้ (ต่อน้ำ 20 ลิตร) 🔁 หมายเหตุ
    โพรพาร์ไกต์ 30% WP 30 กรัม -
    อะมิทราซ 20% EC 40 มล. -
    ไพริดาเบน 20% WP 10 กรัม -
    กำมะถันผง 80% WP 60 กรัม ห้ามผสมกับสารอื่น
    สไปโรมีซิเฟน 24% SC 6 มล. -
    เฮกซีไทอะซอกส์ 1.8% EC 30 มล. -
    ไซฟลูมีโทเฟน 20% SC 10 มล. -
    ทีบูเฟนไพแรด 36% EC 3 มล. -

    📌 ข้อแนะนำเพิ่มเติม
    ๐ เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในช่วงหน้าแล้ง
    ๐ หากพบระบาดหนัก ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่
    ๐ เกษตรกรควรติดตามประกาศเตือนภัยจากกรมวิชาการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ

    📞 สอบถามเพิ่มเติม
    สำนักงานเกษตรอำเภอ ศูนย์วิจัยพืชสวนใกล้บ้าน หรือสายด่วนกรมวิชาการเกษตร

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 20 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูสัตว์
    ประกาศแจ้งเตือนภัย เรื่องโรคลิชมาเนียจากริ้นฝอยทราย

    📢 ประกาศแจ้งเตือนภัยสุขภาพ ระวัง! ริ้นฝอยทรายพาหะโรคลิชมาเนีย ภัยเงียบที่อาจถึงชีวิต 

    ภาพริ้นฝอยทรายเพศเมีย ขณะกำลังดูดเลือดมนุษย์

    กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) หลังพบผู้ป่วยในประเทศไทยแล้ว 2 รายในปี 2568 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ภาพริ้นฝอยทรายเพศเมีย ขณะกำลังดูดเลือดมนุษย์

    โรคลิชมาเนีย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Leishmania spp. ซึ่งแพร่กระจายผ่านการกัดของริ้นฝอยทราย (Sand fly) แมลงขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร มักพบในบริเวณที่ชื้น รกทึบ เช่น ป่ารก ซอกหิน หรือคอกสัตว์

    อาการที่ควรระวัง ตุ่มแดง คัน หรือแผลเรื้อรังที่ไม่หาย หากเชื้อรุนแรง อาจมีภาวะซีด ตับ-ม้ามโต และอันตรายถึงชีวิต

    วิธีป้องกัน
    ✅ สวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาว โดยเฉพาะเวลากลางคืน
    ✅ ใช้ยาทากันแมลงทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
    ✅ นอนในมุ้งตาข่ายที่มีรูละเอียด
    ✅ กำจัดแหล่งหลบซ่อนของแมลงรอบบ้าน เช่น กองไม้ กอหญ้า คอกสัตว์

    ข้อควรรู้
    1. ริ้นฝอยทรายตัวเมียเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ
    2. เชื้อสามารถอยู่ในตัวแมลงได้นาน 10 วัน และฟักตัวในร่างกายมนุษย์หลังถูกกัด
    💡 แม้ตัวจะเล็ก...แต่ภัยไม่เล็ก! อย่าชะล่าใจ

    หากพบอาการผิดปกติของผิวหนังที่ไม่หายภายในระยะเวลาอันควร ควรรีบพบแพทย์ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 6 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ทรัพยากรน้ำ
    ระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่าเกณฑ์ เตือนชะลอทำนา หวั่นน้ำไม่พอ

    สถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ณ ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา พบว่าระดับน้ำเหนือเขื่อนยังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แม้จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทางตอนบนของประเทศ ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายังคงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน

    การปรับลดการระบายน้ำ เขื่อนเจ้าพระยาได้ปรับลดการระบายน้ำจาก 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงมาอยู่ที่ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อรักษาระบบนิเวศลำน้ำและผลักดันน้ำเค็มปากแม่น้ำ ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนลดลงเล็กน้อย ทำให้สามารถมองเห็นสันดอนทรายโผล่พ้นน้ำขึ้นมาจนสามารถเดินข้ามไปมาได้ในหลายจุด

    ประกาศเตือนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานราชการในพื้นที่ได้ออกประกาศเตือนเกษตรกรให้ชะลอการทำนาปลูกข้าวออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่นาข้าวจะเสียหายจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม พบว่ามีชาวนาจำนวนมากที่เริ่มไถดินเตรียมปลูกข้าวนาปีกันแล้ว เนื่องจากมั่นใจว่าฝนปีนี้จะมาตามกำหนดในเดือนพฤษภาคม


    อ่านต่อ
    วันที่ 2 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มระวังด้วงแรดมะพร้าวระบาด

    ด้วงแรดมะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros (Linnaeus)
    🔸การเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวทำให้ทางใบหัก และกัดเจาะทำลายยอดอ่อนทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม บริเวณรอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดทำให้ด้วงงวงเข้ามาวางไข่ หรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคยอดเน่าจนถึงตายได้ในที่สุด
    🔸พืชอาหาร ได้แก่ มะพร้าว พืชตระกูลปาล์ม
    🔸ฤดูการระบาด ระบาดตลอดทั้งปี โดยด้วงแรดผสมพันธ์และวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ‼️และมักพบความเสียหายในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม‼️


    🌴การป้องกันกำจัด
    1️⃣วิธีเขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ดังนี้
    🔸ฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
    🔸️เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออก โดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
    🔸หมั่นพลิกกลับกองมูลสัตว์ หรือนำใส่ถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่น และนำไปเรียงซ้อนกันไว้
    2️⃣วิธีกล
    🔸หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัด
    🔸ใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัยและนำมาทำลาย
    3️⃣ชีววิธี ทำกองล่อให้ตัวเต็มวัยมาไข่ เมื่อเจริญเป็นตัวอ่อน
    ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมโรย หรือคลุกเพื่อทำลาย
    4️⃣การใช้สารเคมี โดยเลือกสารใดสารหนึ่ง ดังนี้ ไดอะซินอน 60% EC หรือคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอหรือยอดมะพร้าว โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน ควรใช้ 1-2 ครั้งช่วงระบาด


    อ่านต่อ
    วันที่ 2 พฤษภาคม 2568
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    สวนเงาะติดผลอ่อนให้ระวังโรคราดำ

    คำแนะนำสำหรับเกษตรกรชาวสวนเงาะ ในช่วงที่อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ ขอแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ ซึ่งมักพบในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน โดยโรคราดำจะมีคราบราสีดำติดตามส่วนต่าง ๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำบนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ หากคราบราดำปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้และมีดอกร่วง หากคราบราดำปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวยและจำหน่ายไม่ได้ราคา

    แนวทางการป้องกันโรคราดำ

    1. พ่นน้ำเปล่า: หากพบโรค ให้พ่นน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่าง ๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
    2. กำจัดวัชพืช: หมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสมและทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด
    3. พ่นสารกำจัดแมลง: หากพบเพลี้ยแป้ง ให้พ่นด้วยสารกำจัดแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หลีกเลี่ยงการพ่นสารในช่วงที่ดอกเงาะบานหรือเริ่มติดผลอ่อน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสร
    4. ตัดแต่งกิ่ง: ตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้นใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ
    5. ทำความสะอาดเครื่องมือ: เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้ในแปลงที่มีการระบาด ควรนำมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

    อ่านต่อ
    วันที่ 2 พฤษภาคม 2568
แสดง 1 - 20 จาก 310
หน้า
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู