เตือนภัย! โรคกุ้งแห้งในพริกระบาดหนักช่วงฝนตก 🌧️
โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici พบมากในช่วงอากาศร้อนสลับฝนตก โดยเฉพาะในผลพริกที่เริ่มสุก

🔍 อาการของโรค
- จุดช้ำยุบตัวเล็กน้อยบนผลพริก
- แผลขยายเป็นวงรีหรือวงกลม มีตุ่มสีดำเรียงเป็นวง
- ในอากาศชื้นจะมีเมือกสีส้มอ่อน (กลุ่มสปอร์)
- ผลเน่า โค้งงอคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว
✅ แนวทางป้องกันและรับมือ
- เลือกเมล็ดพันธุ์ปลอดโรค หรือเก็บจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50°C นาน 20–25 นาที ก่อนนำไปเพาะ
- จัดระยะปลูกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกัน กำจัดวัชพืช ลดความชื้นในแปลง
- ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
- พบผลเป็นโรคให้เก็บทำลายนอกแปลง แล้วพ่นสารป้องกันเชื้อรา เช่น อะซอกซีสโตรบิน 25% SC 10 มล./น้ำ 20 ลิตร แมนโคเซบ 80% WP 40–50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โพรคลอราซ 50% WP 20–30 กรัม/น้ำ 20 ลิตรพ่นทุก 5-7 วัน
- ปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ระบาดหนักเพื่อตัดวงจรโรค
📌 เกษตรกรผู้ปลูกพริกทุกระยะการเจริญเติบโต ควรเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
แหล่งที่มา
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1070261768586370&set=pcb.1070262391919641