ถาม-ตอบ
ศัตรูพืช
ถามเมื่อ 10 มีนาคม 2563
ใบองุ่นโดนแมลงกินจนพรุนในตอนกลางคืนมีวิธีป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมีบ้างมั้ยครับ

น่าจะเป็นจากการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้ายนะคะ วิธีป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย - ในระยะที่องุ่นติดดอกและผลอ่อนควรหมั่นตรวจดูช่อองุ่น เมื่อพบหนอนหรือตัวผีเสื้อควรจับทิ้งทำลายเสีย เพื่อไม่ให้ลุกลามไปช่ออื่น - ใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้ายโดยเฉพาะ ทำการฉีดพ่นเช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม - ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลเฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ข้อมูลเพิ่มเติม หนอนกระทู้หอม เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญขององุ่นชนิดหนึ่ง หนอนชนิดนี้ทำความเสียหายต่อทุกส่วนขององุ่น ได้แก่ ใบ ดอก ผล ทั้งในระยะติดดอกออกผล และยอดที่เจริญสะสมอาหารจะไปเป็นดอกและผลในฤดูเพาะปลูกถัดไป หนอนกระทู้หอมเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของพืชหลายชนิด ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง แตงกวา แตงไทย กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร็อคเคอลี่ ผักคะน้า ถั่วลิสง ถั่วเขียว กระเจี๊ยบเขียว หอมแดง หอมหัวใหญ่ ถั่วฝักยาวและถั่วอื่นๆ ยาสูบ ฝ้าย กระเทียม พริกมัน มะเขือ มะระ เผือก มันเทศ ข้าวโพดหวาน และงา เป็นต้น ซึ่งเป็นหนอนที่มีความสำคัญในเขตภาคกลาง ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่การระบาดของหนอนชนิดนี้มีระบาดเกือบทั้งปี เพราะพืชดังกล่าวปลูกหมุนเวียนตลอดทั้งปี แมลงจึงมีแหล่งแพร่ลูกหลานในพืชอาหาร พืชอาศัยขยายพันธุ์ได้ตลอดปีเหล่านั้นเช่นกัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก เมื่อกางปีกออกกว้าง 2-2.5 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลแก่ปนเทา กลางปีกมีจุดสีน้ำตาลอ่อน 2 จุด ผีเสื้ออาศัยอยู่ตามใต้ใบ หรือตามพุ่มไม้ใบหญ้า มีอายุประมาณ 5-10 วัน แม่ผีเสื้อจะวางไข่ในตอนหัวค่ำหลังจากพระอาทิตย์เริ่มตกประมาณ 18-20 นาฬิกา วางไข่เป็นกลุ่มเล็กจำนวน 20-80 ฟอง พบกลุ่มไข่ส่วนมากตามด้านหลังใบ โดยพบตั้งแต่ใบอ่อน หรือใบเริ่มเข้าใบเพสลาด และใบแก่ ไข่ปกคลุมด้วยจนสีขาว เมื่ออายุไข่แก่จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ระยะไข่ 2-3 วันจะออกเป็นตัวหนอน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่จะอยู่เป็นกลุ่มและแทะผิวใบพรุนเป็นร่างแห ทำให้ใบแห้งซึ่งเป็นแหล่งสังเคราะห์แสงปรุงอาหาร เมื่อแหล่งอาหารหรือโรงครัวขนาดใหญ่ถูกทำลาย จึงไม่มีแหล่งผลิตเพื่อสะสมอาหาร จะมีผลกระทบต่อองุ่นที่กำลังติดผล ผิวเปลี่ยนสี และทำให้มีผลกระทบต่อคุณภาพและการติดผลในฤดูต่อไปด้วย(ภาษาชาวสวนองุ่นเรียกว่า มีด) และหนอนจะเคลื่อนย้ายกัดกินไปตามใบอื่นๆ หรือตามช่อดอกอื่นๆ ถ้าพบทำลายใบจะทำลายใบอ่อนทั้งหมด และทำลายใบที่มีอายุมากขึ้นเป็นลำดับ ในช่อดอกหรือผลอ่อนพบทำลายดอกและผลอ่อนทำให้เสียหาย ใบที่ถูกทำลายจะสังเกตเห็นใบแห้งตายในสวนองุ่นที่มีการทำลายมาก หนอนลอกคราบ 5 ครั้ง มี 6 วัย ขนาดหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 3 ซม. มีหลายสี ระยะหนอน 14-17 วัน หนอนเข้าดักแด้อยู่ใต้ดินบริเวณโคนต้น ลึกประมาณ 1-2 นิ้ว ระยะดักแด้ประมาณ 5-7 วัน วงจรชีวิตหนอนกระทู้หอมประมาณ 30-35 วัน ในสภาพฤดูร้อนหนาวต่างกัน เรียกว่าสภาพแวดล้อมจะมีผลต่อวงจรอายุของแมลง ทำให้อายุขัยของแมลงจะแตกต่างกันในแต่ละฤดู ในรอบวันหนึ่ง ๆ หนอนชนิดนี้จะเคลื่อนย้ายหากินตามยอดบริเวณใบอ่อนในช่วงตั้งแต่เวลาเย็นตลอดจนถึงเช้ามืด ในเวลากลางวันช่วงอากาศร้อนหนอนกระทู้หอมจะหาที่หลบซ่อนตัวบริเวณหลบแสงสว่าง เช่น ใบที่ซ้อนกัน จากข้อสังเกตนี้ การพ่นสารกำจัดแมลงจึงไม่จำเป็นที่จะต้องให้ถูกตัวโดยตรง เพราะเมื่อสารกำจัดอยู่ติดตามผิวพืชแมลงจะสัมผัสกับสารกำจัดแมลงเหล่านั้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายในแต่ละครั้ง เช่น สารกำจัดแมลงมีฤทธิ์ถูกตัวตาย หรือสารกำจัดแมลงชนิดกินตายจะถูกได้โดยการกินส่วนขององุ่น เช่น ใบองุ่นที่มีฤทธิ์สารกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ เป็นต้น ฤดูกาลระบาด การเปลี่ยนแปลงปริมาณประชากรของผีเสื้อและหนอนกระทู้หอม จากการใช้ฟีโรโมนของผีเสื้อและตรวจนับหนอนชนิดนี้ในแปลงองุ่น พบผีเสื้อชนิดนี้ตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงที่มีการตัดแต่งกิ่งและยังไม่แตกยอด พบปริมาณการเปลี่ยนแปลงสูง ประมาณ 3 ครั้ง มีระดับสูงสุดในช่วงแตกดอกและบานใหม่ 2 ครั้ง ในเดือนมกราคมและมิถุนายน ซึ่งคาดว่าในระยะดอกบานจะมีการดึงดูดผีเสื้อมากกว่าในระยะอื่น ๆ สำหรับหนอนเช่นเดียวกันจะพบใกล้ระยะที่จับได้ผีเสื้อมากในกับดักฟีโรโมน และช่วงที่จับผีเสื้อและหนอนระบาดรุนแรงในช่วงใกล้จะสิ้นฤดูฝนต่อกับหน้าแล้งซึ่งการระบาดจะสูงกว่าหน้าแล้วก่อนฤดูฝน แมลงศัตรูธรรมชาติของหนอนกระทู้หอมที่พบมีแตนเบียนหนอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apanteles sp. (Fam. Braconidae) จะวางไข่บนตัวหนอน เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนจะเข้าไปกินภายใน จนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะออกมาเข้าดักแด้สีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อนบริเวณใกล้เคียงกับตัวหนอนที่ถูกทำลายภายในด้วยตัวอ่อนของแตนเบียนและจะตายในที่สุด (จากการที่ชาวสวนองุ่นบางคนมักคิดว่าดักแด้สีขาวที่ติดอยู่ข้างตัวหนอนนั้นเป็นลูกอ่อน จึงทำการพ่นสารกำจัดแมลงกำจัด) นอกจากนี้ยังพบไวรัสเอ็นพีวี (NPV) ที่นำมาควบคุมหนอนกระทู้หอม โดยใช้ไวรัส NPV ในอัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นป้องกันและกำจัดหนอน พบว่าสามารถฆ่าหนอนได้ทุกวัย แต่ตัวใหญ่ต้องใช้เวลา 3-5 วัน โดยที่ในระยะที่ได้รับเชื้อหนอนจะหยุดการกินและไม่ทำลายใบพืช ข้อสำคัญไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และไม่กำจัดแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดอื่น ๆ ที่คอยทำลายหนอนอยู่ ในระยะองุ่นติดผลใบเต็มค้างเชื้อมีโอกาสอยู่ได้นานกว่าระยะที่องุ่นตัดแต่งกิ่งใหม่ ๆ เมื่อมีหนอนเข้ามาทำลายกัดกินใบจะได้รับเชื้อเข้าไปด้วย การป้องกันและกำจัด สามารถปฏิบัติได้หลายวิธีการดังนี้ 1. การใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอม โดยให้พ่นไวรัสเมื่อพบหนอนกระทู้หอมขนาดเล็ก ๆ สัปดาห์ละครั้ง เมื่อมีการระบาดรุนแรง (เฉลี่ยพบหนอน 1 ตัวต่อช่อ จากการสุ่มสำรวจจำนวน 200 ช่อต่อ 3 ไร่ หรือเมื่อพบผีเสื้อของหนอนกระทู้หอมมีปริมาณในกับดักเฉลี่ย 3 ตัวต่อกับดักต่อวัน) ควรพ่น 3-4 วันต่อครั้ง หลังจากนั้นเมื่อหนอนแสดงอาการถูกทำลายด้วยไวรัส NPV ควรเว้นระยะห่าง 7 วัน หรือแล้วแต่ความเหมาะสม 2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ธูริงเจนซิส (Bacillus thuringiensis) ซึ่งขายตามท้องตลาดมีชนิดและความเข้มข้นต่างกัน ควรเลือกใช้ชนิดที่มีผลดีในการกำจัด เชน เซ็นจูรี่ แบล็กโทรสะปิน และชนิดอื่น ๆ เพราะหนอนชนิดนี้มีความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้ง่าย 3. การใช้สารกำจัดแมลงกลุ่มระงับการลอกคราบ พ่น 7 วัน เมื่อสำรวจพบหนอนกระทู้หอมระบาดถึงระดับที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นแล้วแต่การระบาด ปัจจุบันสารกำจัดแมลงกลุ่มนี้นิยมใช้ และใช้ได้ดี ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปยังไม่ถึงขวบปีได้แก่ สารมิมิค ที่ใช้อัตรา 5 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร การทดสองขณะนี้ใช้ได้กับหนอนหนังเหนียวชนิดเดียว ไม่สามารถจะใช้กันหนอนขน หรือหนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน ถ้าใช้ได้ต้องใช้อัตรา 3-4 เท่าของที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งใช้แล้วไม่คุ้มกับการลงทุน สำหรับสารกำจัดแมลงทั้งกลุ่มเชื้อไวรัส NPV, เชื้อแบคทีเรีย, สารระงับการลอกคราบ, ไพรีทรอยด์ หรือออร์กาโนฟอสเฟต และอื่น ๆ ทุกครั้งหลังจากการพ่นสารกำจัดควรประเมินผลการกำจัดด้วย และใช้ในช่วงที่กับดักสารล่อเพศจับผีเสื้อชนิดนี้ได้มาก หรือระยะหนอนกระทู้หอมตัวเล็ก ๆ (วัยที่ 1 ถึงวัยที่ 3) ซึ่งสามารถกำจัดได้ง่ายกว่าหนอนวัยโต และสารแต่ละชนิดอาจมีผลต่อระยะองุ่น เช่น การติดดอกการออกผล ใบ ทั้งคุณภาพขององุ่น จึงควรระวังในเรื่องการใช้สารป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ในแต่ละครั้งด้วย 4. การใช้กับดักแสงไฟ แบล็คไลท์ (Black light) สีม่วง หรือสีน้ำทะเล ติดตั้งโดยเฉพาะบริเวณหัวร่องน้ำ เหนือน้ำวางขนานกับผิวน้ำประมาณ 1 ฟุต และเปิดไฟในช่วงหัวค่ำถึงกลางดึกจากการสำรวจพบว่ากับดักแสงไฟที่ชาวสวนนิยมใช้ล่อแมลงมากำจัด มักวางหลอดไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น คาดว่าการกำจัดจะได้บางส่วนเท่านั้น เนื่องจากผีเสื้อที่มาเล่นใกล้หลอดไฟ


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู