ถาม-ตอบ
เกษตรกลวิธาน
ถามเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563
คำถามเกี่ยวกับปั๊มเจ็ทท่อดูดคู่ดูดน้ำลึก บ่อน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 เมตร ความลึก 13-14 เมตร ระดับน้ำในหน้าฝนลึกจากผิวดิน 3-4 เมตร หน้าแล้ง 6-12 เมตร เดิมใช้ปั๊มหอยโข่ง 1” แต่หน้าแล้งต้องหย่อนปั๊มลงในบ่อจึงจะใช้งานได้ ต้องการเปลี่ยนเป็นปั๊มเจ็ทขนาด 1 แรงม้า ท่อดูดมีขนาด 1.25” และ 1” ท่อส่งมีขนาด 1” ระยะดูด 18-30 เมตร ระยะส่งสูงสุด 45 เมตร เพื่อจ่ายให้ถังเก็บระบบน้ำหยดสูงจากปั๊ม 4 เมตรและใช้ในบ้าน มีคำถามดังนี้ 1) ส่วนตัวคิดว่าปั๊มเจ็ทคู่น่าจะถูกออกแบบมาสำหรับดูดน้ำบาดาลที่มีความลึกตั้งแต่ 15-18 เมตรเป็นต้นไป จนถึง 30 เมตรซึ่งเป็นระยะเหมาะสม ซึ่งไม่ตรงกับบ่อน้ำที่มีอยู่ แต่ก็หาปั๊มที่เหมาะสมกับสภาพบ่อไม่ได้ ถ้าจะติดตั้งปั๊มเจ็ทคู่ตัวนี้จะสามารถใช้งานได้หรือไม่และจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง 2) หัวเจ็ทจะต้องจมลงไปใต้น้ำลึกเท่าใดจึงจะเหมาะสม (ในคู่มือไม่ได้ระบุไว้) 3) การติดตั้งฟุตวาล์วต่อกับตัวหัวเจ็ท ระยะที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด หรือควรต่อให้ติดชิดกันไปเลย(ในคู่มือไม่ได้ระบุไว้) 4) ระยะจากฟุตวาล์วถึงก้นบ่อห่างอย่างน้อยเท่าไหร่ 1 ฟุตเพียงพอหรือไม่ 5) ท่อดูด PVC 1.25” ร้านค้าไกล้บ้านไม่มีขาย ถ้าจะแปลงขนาดท่อดูดเป็น 1” หรือ 1.5” จะมีผลกับการใช้งานมากน้อยเพียงใด 6) Self-priming pump แตกต่างจากปั๊มหอยโข่งธรรมดาอย่างไร ขอบคุณมากครับ

ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพงษ์ เจษฎาธรรมสถิต ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตอบคำถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้นะคะ 1) ปั๊มเจ็ท อาศัยความเร็วของน้ำในการสร้างแรงดูดเพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นกับว่าความเร็วของน้ำมากแค่ไหน นั่นหมายถึงน้ำส่วนหนึ่งที่ปากบ่อจะต้องสูบน้ำท่อของปั๊มเจ็ท แล้วผสมกับน้ำที่จะสูบขึ้นมาอีก หากความลึกจาปากบ่อไม่มาก (ระยะดูด) ไม่ควรเกิน 10 เมตรก็จะสะดวก แต่เสียค่าพลังงานเพื่อช่วยเพิ่มแรงดูดไปส่วนหนึ่ง -- หากระยะดูดตามที่กล่าว แนะนำเป็นปั๊ม Submerse ดีกว่า -- หากต้องการระบุขนาดปั๊ม Sunmerse ต้องแจ้งด้วยว่า ต้องการสูบน้ำอัตราชม.ละ กี่ ลบ.ม. 2) หัวเจ็ท ต้องจุ่มลงใต้ผิวน้ำ ประมาณ 15 cm (สามเท่าของท่อทางดูด) 3) ฟุตวาล์วในกรณีนี้ไม่จำเป็นถ้าจะติดต้องชิดกับหัวเจ็ท 4) สามเท่าของขนาดท่อ/ฟุตวาล์ว 5) ท่อดูดและท่อส่งสามารถขยายขนาดได้ตามที่ต้องการ ท่อขนาดใหญ่จะทำให้เสียพลังงานน้อย และปริมาณน้ำจะมากขึ้น 6) ปั๊มหอยโข่ง เป็นปั๊มที่ต้องล่อน้ำก่อนสูบ คือต้องเติมน้ำในท่อดูดและในเรือนป้๊มให้เต็มก่อนเดินเครื่อง ส่วน Self-primming คือปั๊มหอยโข่งที่ไม่ต้องล่อน้ำ และทางเพจระบบรดน้ำต้นไม้ในบ้าน สปริงเกอร์ หัวน้ำหยด หัวสเปร์ Rain Bird https://www.facebook.com/fonuttaroporn/ ได้ให้คำแนะนำดังนี้ค่ะ ตามที่แจ้งมาว่าระยะดูดและส่งสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 16 เมตร ดังนั้นการเลือกปั๊มต้องเป็นปั๊มที่มี Head ไม่ต่ำกว่า 30 เมตร ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ที่ Plate pump ส่วนขนาดท่อดูด 1นิ้วจะช่วยเรื่องระยะส่งน้ำ แต่ปริมาณน้ำที่สูบได้ก็จะลดลง หากขยายทางดูดปริมาณน้ำเพิ่ม แต่ระยะส่งจะลดลง ปกติสามารถต่อตรงได้ตามภาพประกอบด้านล่าง ระยะจุ่มดูตามระดับน้ำต่ำสุดลงไปอีกไม่ต่ำกว่า 50 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Vertex circle หรือปั๊มดูดอากาศส่วนเกินลงไปในระบบ ทั้งนี้ Self priming pump เหมาะสำหรับใช้กับน้ำที่มีตะกอนเยอะ และมี Check valve กันน้ำย้อนกลับในตัว ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาถ้า Foot valve รั่วอีกที


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู