ข่าวสาร
H10 ศัตรูพืช
26 มีนาคม 2568
กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช

1.ประเภทกินตาย
พ่นสารให้ติดใบพืชแมลงมากัดกินใบพืชแล้วทำให้แมลงตาย เช่น เชื้อบีที เชื้อไวรัส NPV การใช้เหยื่อพิษกับหนู หรือสารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมต ออร์กาโนฟอสเฟต ไพรีทรอยด์ (ไซเปอร์เมทริน)

2. ประเภทสัมผัสตาย (ยาน็อค)
สารประเภทสัมผัสหรือถูกตัวตาย ควรพ่นสารให้โดนตัวแมลง สารจะซึมผ่านทางผิวหนัง ผนังลำตัว หรือเข้าทางข้อต่อ และท่อหายใจของแมลง เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเซียม ไวท์ออยล์ ปิโตรเลียมออยล์ สารกลุ่มที่ 3 ไพรีทรอยด์ (ไซเปอร์เมทริน เลมบ์ดาไซฮาโลทริน) สารกลุ่ม 10 (เฮกซี่ไทอะซอกซ์) กลุ่ม 12 (โพรพาไกต๋) กลุ่ม 15 (ลูเฟนนูรอน)

3. ประเภทสารรม (เข้าทางระบบหายใจ)
เป็นสารที่ใช้กำจัดศัตรูพืชในรูปของก๊าซ เข้าทางรูหายใจของแมลง ส่วนใหญ่ นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น เมทิลโบรไมค์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ คลอโรพิคริน

4. ประเภทดูดซึม
สารดูดซึม คือ ดูดซึมเข้าในใบพืชไม่ใช่ดูดซึมเข้าตัวแมลง หลังจากไปอยู่ในเนื้อเยื่อพืชแล้ว แมลงมากินภายหลังก็จะทำให้แมลงตาย มีหลายชนิด ได้แก่
- ชนิดดูดซึมได้เล็กน้อย เช่น ไซเปอร์เมทริน
- ชนิดดูดซึมทะลุผ่านใบ เช่น คาร์บาริล สไปนีโทแรม อะบาเมกติน ชนิดดูดซึมผ่านท่อน้ำ เช่น ฟิโพรนิล อีมาเมกตินเบนโซเอต
- ชนิดดูดซึมผ่านท่อน้ำและท่ออาหาร เช่น สไปโรเตตระแมท


แหล่งที่มา

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู