ข่าวสาร
A50 วิจัยเกษตร
15 ตุลาคม 2563
นักวิจัยจีนพบ "น้ำแข็งน้ำเค็ม" ช่วยชะล้างเกลือในดินเค็มได้ แถมผลผลิตข้าวทนเค็มก็เป็นที่น่าพอใจ
บทความวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่โดยยูโรเปียน เจอร์นัล ออฟ ซอยล์ไซแอนส์ (European Journal of Soil Science) เปิดเผยการค้นพบของคณะวิจัยจีน ว่าการใช้วิธีแช่แข็งน้ำเค็มไว้บนหน้าดินในช่วงฤดูหนาว แล้วรอให้ละลายอาจช่วยชะล้างความเค็มของดินได้ ทั้งยังสามารถขจัดเกลือออกจากดินได้มากกว่าน้ำแข็งที่ไม่มีเกลือผสมอยู่
 
จีนมีพื้นที่ดินเค็มด่างที่ขาดทรัพยากรน้ำจืดราว 1.5 พันล้านหมู่ (ราว 625 ล้านไร่) ดินประเภทนี้จำกัดผลผลิตทางการเกษตรและขัดขวางการเจริญเติบโตของพืชผัก ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาวิธีปรับปรุงดินที่เค็มและแห้งแล้งให้แปรสภาพเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
 
นักวิจัยจากศูนย์วิจัยทรัพยากรการเกษตร (Center for Agricultural Resources Research) สถาบันพันธุศาสตร์และชีววิทยาพัฒนาการ (Institute of Genetics and Developmental Technology) แห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ทำการทดลองโดยประเมินอัตราการแทรกซึม และการขจัดเกลือออกจากดินระหว่างที่น้ำแข็งเกลือละลายลงไปในดินเค็ม และพบว่าน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งน้ำเค็มสามารถแทรกซึมลงไปในดินเค็มได้ลึกกว่าน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งน้ำจืด
 
ก่อนหน้านี้นักวิจัยได้พัฒนาวิธีชะล้างเกลือด้วยน้ำเค็มเพื่อเพิ่มผลผลิตฝ้ายที่ปลูกในดินเค็ม โดยอาศัยการแยกเกลือกับน้ำจืดด้วยการละลายน้ำแข็งน้ำเค็ม นักวิจัยทำการทดลองในช่วงฤดูหนาว โดยใช้น้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือน้อยกว่า 15 กรัมต่อลิตร เพื่อชะล้างดินเค็มด่าง ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น น้ำเกลือจะกลายเป็นน้ำแข็งบนผิวดิน และเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ น้ำแข็งน้ำเกลือจะละลายและแทรกซึมลงไปในดินเค็มทีละน้อย การแทรกซึมอย่างต่อเนื่องของน้ำที่ละลายออกมาจะมาพร้อมกับระดับความเค็มที่สูงกว่า ทำให้น้ำจากการละลายที่มีระดับความเค็มต่ำกว่าแทรกซึมเข้าไปอย่างต่อเนื่อง น้ำฝนที่แทรกซึมตามลงไปจะชะล้างเกลือในดินออกไปได้อีก ช่วยให้รากของพืชรอดพ้นจากความเค็มของเกลือในดินได้ ซึ่งวิธีการขจัดเกลือนี้ได้ผลดีในพื้นที่ดินเค็มตามแนวชายฝั่ง นักวิจัยพบว่าปริมาณเกลือในดินยังลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 0.3 ตลอดฤดู ขณะที่ผลผลิตฝ้ายพุ่งแตะ 200 กิโลกรัมต่อหมู่
 
ทั้งนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพของการขจัดเกลือออกจากดินโดยใช้การชะล้างด้วยน้ำแข็งน้ำเค็ม
 
นอกจากนี้ ปัจจุบันการปลูกข้าวทนดินเค็มโดยการพัฒนาของทีมวิจัยและพัฒนาหยวนหลงผิง ผู้บุกเบิกข้าวพันธุ์ผสม ประสบความสำเร็จในการให้ผลผลิตตามทฤษฎีที่ 584.53 กิโลกรัมต่อหนึ่งหมู่ ( 1 หมู่ = 0.417 ไร่) โดยที่ผืนนาในตำบลปาอีอาหว่าถี อำเภอเย่ว์ผู่หู เขตคัชการ์ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ขนาด 20 เฮกตาร์ (ราว 125 ไร่) เป็นดินเค็มร้อยละ 90 และไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ข้าวทนเค็มนั้นสามารถปรับปรุงดินและลดความเค็มของดินได้ โดยทำให้ดินเค็มกลายเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

แหล่งที่มา

สำนักข่าวซินหัว
https://www.xinhuathai.com/tech/51244_20191111
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู