ข่าวสาร
C20 การส่งเสริม
26 สิงหาคม 2563
กรมส่งเสริมการเกษตร ชู อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่

กรมส่งเสริมการเกษตร ชู อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเปิดเผยว่า อะโวคาโด (Avocado) เป็นผลไม้
เศรษฐกิจที่เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ ให้ผลผลิตเร็ว ให้ผลผลิตดก มีความหลากหลายของพันธุ์
ทำให้มีผลผลิตกระจายครอบคลุมตลอดทั้งปีเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้ค่า
พลังงานสูงแต่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ จึงเป็นที่นิยม มีปริมาณความต้องการสูงทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นทุกปี

ปัจจุบันตลาดภายในประเทศมีความต้องการสูง โดยใน 2561 มีการนำเข้าถึง 762 ตัน มูลค่า
154,399,344 บาท ขณะที่การส่งออก ประเทศไทยสามารถส่งออกเพียง 19 ตันในปี 2561 มูลค่า
763,607 บาท ขณะที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำเข้า คิดเป็นมูลค่า
2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 2560 จึงนับเป็นโอกาสของเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโด

ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมให้อะโวคาโดเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่พร้อมผลักดันให้อะโวคาโด เป็นพันธุ์พืช GI ของจังหวัดตาก ผ่านศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) สำหรับในเขตอำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีเกษตรกรให้ความสนใจและปลูกอะโวคาโดกันมากขึ้นแต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีพื้นที่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 1,369 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 800-1,200 ตันต่อ สมารถสร้างรายไดให้กับเกษตรกรที่ปลูกคิดเป็นมูลค่า 12-18 ล้านบาท ซึ่งผลผลิตที่ได้นี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และที่สำคัญอีกประการเกษตรกรประสบกับปัญหาผลผลิตมีคุณภาพต่ำเนื่องจากการผลิตและการเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกต้องและพื้นที่ส่งเสริมให้ปลูกหลักอยู่ในเขตอุทยานต้นน้ำชั้นที่หนึ่ง ไม่สามารถขยายพื้นผลิตที่ได้

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดตากกล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการขับเคลื่อนผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก จัดตั้งทีมบูรณาการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ขึ้น ซึ่งได้
ดำเนินการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแบบมืออาชีพแก่
เกษตรกรและผู้สนใจ กว่า 4,000 ราย รวมถึงการส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนจากพันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ดี 100
เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เพิ่มพื้นที่พันธุ์ดีเป็น 426 ไร่ ประมาณการผลผลิต 20 ตัน มูลค่า 7 ล้านบาท คิดเป็น 50
เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพการผลิต

ขณะเดียวกันได้จัดทำแปลงสาธิตและรวบรวมพันธุ์อะโวคาโดในพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) รวม 34 พันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์การค้า
มาตรฐาน 20 สายพันธุ์ พันธุ์ทดสอบศักยภาพทางด้านการตลาด 10 สายพันธุ์ พันธุ์เตรียมความพร้อมเป็น
สินค้า GI 4 สายพันธุ์อีกทั้งสร้างแปลงเรียนรู้ตันแบบและแปลงพ่อแม่พันธุ์ชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ เกษตรจังหวัดตาก ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงสายพันธุ์อะโวคาโดที่แนะนำให้ปลูกว่า

ถ้าเป็นในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ พันธุ์บัคคาเนียร์ (Buccaneer) ปีเตอร์สัน (Peterson) รูฮิลร์ (Ruehle) บูท 7 (Booth7) พิงค์เคอร์ตัน (Pinkerton) แฮสส์ (Hass) และ ปากช่อง 28 (Parkchong28) ขณะที่สายพันธุ์อะโวคาโดที่แนะนำให้เพาะเป็นต้นตอ ได้แก่ พันธุ์ ดุ๊ก 7 (Duke 7), บูธ 7(Booth 7), ลูลา (Lula), และโชเควท (Choquette)

สำหรับแผนการพัฒนาที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ประกอบด้วย 4 มาตรการที่สำคัญ คือ
1. การพัฒนาอะโวคาโดจากพืชหัวไร่ปลายนาสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่และมุ่งเป้าหมายการเป็นพืชเศรษฐกิจ
อุตสาหกรมในจังหวัดตาก
2.มุ่งเป้าให้เกษตรกรผลิตอะโวคาโดสายพันธ์การค้ามาตรฐาน โดยศูนย์ฯทำ
หน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดี การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ แกนนำเกษตรกรและ
เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป
3. การผลักดันให้เกิดการก่อตั้งสมาคมผู้ปลูกอะโวคาโดแห่งประเทศไทย และ
4.มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการทางวิชาการ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอะ
โวคาโดแบบมืออาชีพโดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) ตั้งเป้าเป็นศูนย์
เรียนระดับ International บนความพร้อมสูงสุด เช่น การสร้าง I- school , smart box เพื่อส่งเสริมการเรียน
รู้ผ่านทาง application ที่เกษตรกรรุ่นใหม่สมารถเข้าถึงได้ง่าย สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป อัน
จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายรพีทัศน์ กล่าวหากเกษตรกรสนใจต้องการข้อมูลและเรียนรู้เกี่ยวกับ
เทคโนโลยีการปลูกอะโวกาโดแบบมืออาชีพ สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
การเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) เลขที่ 124 หมู่ 11 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
โทร. 0-5580-6249 หรือติดตามทาง fanpage : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก -
เกษตรที่สูง


แหล่งที่มา

มติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/publicize/news_1668961
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู