ข่าวสาร
F63 พันธุศาสตร์พืช
17 มีนาคม 2563
บัวผุด..เขาสก

บัวผุด..เขาสก สะดุดตาที่ดอกไม้แปลกตาชื่อ บัวผุด หรือบัวตูม ชื่อวิทยาศาสตร์ Rafflesia kerrii เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชสกุลเครือเขาน้ำ หรือ Tetrastigma เป็นไม้เลื้อย พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ในป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ลักษณะเด่นที่ดอก เป็นดอกเดียวมีขนาดใหญ่ ผุดขึ้นจากพื้นดิน

ขณะยังดอกตูมอยู่จะดูคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่ มีกลีบหนา เส้นผ่านศูนย์กลางของดอก 70-80 ซม. ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลือง เรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนของจานจะมีปุ่มคล้ายหนามแหลม จานนี้จะซ่อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง เมื่อดอกยังสดจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 10 กิโลกรัม กลีบดอกมีความหนาตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร ใช้เวลาในการเติบโตนานกว่า 9 เดือน ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ดำ เน่า ผุพังสลายไป

ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดย Dr. W.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากล เพื่อเป็นเกียรติแก่นายแพทย์ชาวไอริส Dr. A.F.G.Kerr ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2472 ถูกจัดให้เป็นดอกไม้ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ดอกบัวผุดในอุทยานแห่งชาติเขาสกมีให้ชมได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี


แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู