ข่าวสาร
F01 การผลิตพืช
31 กรกฎาคม 2562
มารู้จักต้นโกโก้

โกโก้ (cocoa) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Theobroma
cacao L. เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae มีแหล่งกำเนิดในรัฐเม็กซิโก
และนำไปปลูกแพร่หลายทั่วไปในเขตร้อน โกโก้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
สูงประมาณ 3-8 เมตร เป็นพืชที่ชอบร่มเงาและต้องการความชื้นสูง
ผลของโกโก้มีลักษณะทรงรียาวออกตามกิ่งและลำต้น ผิวผลแข็งขรุขระ
มีร่องตามยาว เปลือกผลหนา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็น
สีเหลือง แดง หรือม่วงแล้วแต่พันธุ์เมล็ดเกิดเรียงเป็นแถวตามความยาว
ของผล จำนวน 5 แถว
**คุณหลวงราชนิกร นำต้นโกโก้มาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย
เมื่อ พ.ศ. 2446 และเมื่อ พ.ศ. 2495 กรมกสิกรรม (ปัจจุบันคือกรม
วิชาการเกษตร) ได้ทดลองนำมาปลูกที่สถานีกสิกรรมบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ สถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรีสถานียางคอหงส์จังหวัด
สงขลา และสวนยางนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช และปีพ.ศ. 2515
กรมกสิกรรมนำโกโก้พันธุ์ลูกผสม Upper Amazonจากประเทศมาเลเซีย
มาปลูกที่สถานีทดลองยางในช่อง จังหวัดกระบี่ ในระยะหลังตั้งแต่ พ.ศ.
2522เป็นต้นมา มีการนำพันธุ์โกโก้ทั้งในรูป ผลโกโก้(เมล็ด)กิ่งพันธุ์โกโก้
เข้ามาจากต่างประเทศเช่น จากมาเลเซีย ฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา)และ
อังกฤษ เป็นต้น
**กรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิจัยพัฒนาพันธุ์โกโก้จากพันธุ์
โกโก้ที่นำเข้ามาปลูก โดยศึกษาวิจัยต้น การปรับปรุงพันธุ์การทดสอบ
พันธุ์การตัดแต่ง การป้องกันกำจัดศัตรูพืช วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
และการแปรรูปเป็นเมล็ดแห้งจนได้พันธุ์โกโก้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สำหรับการผลิตโกโก้ ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์โกโก้ที่มีลักษณะดีเด่น
เพื่อจำหน่ายต้นพันธุ์โกโก้ให้เกษตรกรที่ตัดสินใจนำไปปลูกเช่น ศูนย์วิจัย
พืชสวนชุมพร มีศักยภาพในการผลิตเมล็ด เพื่อนำไปผลิตเป็นต้นพันธุ์
ปีละ 5 แสนถึง 1 ล้านเมล็ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
ได้นำพันธุ์โกโก้ไปส่งเสริมให้มีการปลูกในจังหวัดจันทบุรีและพื้นที่ปลูก
ได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก จากแต่ก่อนพื้นที่ปลูกโกโก้
จะอยู่เฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย
**พฤกษเคมีและประโยชน์ของโกโก้**
ในเมล็ดแห้งโกโก้มีส่วนประกอบที่เป็นสารเคมีมากกว่า 700
ชนิดรวมกัน ส่วนประกอบที่สำคัญของโกโก้คือสารเคมีกลุ่มโพลีฟีนอลส์
(Polyphenols) ซึ่งประกอบด้วยสาร : ฟลาโวนอลส์ (flavonols)
ฟลาวานอลส์ (Flavanols) ฟลาโวนส์ (flavones) ไอโซฟลาโวนส์
(isoflavones) และแอนโธซัยยานามีนส์ เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้
มีคุณสมบัติในการทำให้เกิดการต่อต้านในการเกิดสารอนุมูลอิสระ
(anti-oxidant) สารต่อต้านการเกิดการอักเสบ (anti-inflammatory)
และป้องกันการเกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย
ฟลาวานอลส์ (flavanols) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสารฟลาโว
นอยด์ (flavonoids) มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารต้านทานอนุมูลอิสระ และ
สารต้านการอักเสบ (anti-inflammatory agents) ซึ่งเกิดให้มีผลดีต่อ
ทั้งระบบการไหลเวียนเลือดและผลต่อสมองทั้งด้าน ประชา(cognition)
อารมณ์ (mood) และพฤติกรรม (behavior) สารนี้พบมากในโกโก้
ช็อกโกแลต ชาเขียว ไวน์แดง แอปเปิล ส้ม และเบอร์รี่สารฟลาโวนอยด์
มีฤทธิ์ในการลดภาวะเครียด ทำให้นอนหลับได้ง่าย ล่าสุดมีรายงาน
ทางการแพทย์มากมายที่แสดงอย่างชัดเจนว่า โกโก้มีฤทธิ์ช่วยสมองด้าน
ความจำ สามารถช่วยลดภาวการณ์ถดถอยของความจำในผู้สูงอายุ
(age-related memory deficit) ได้นั่นคือโกโก้จะมีผลช่วยด้านความจำ
และเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของเซลล์สมองในด้าน : การเรียนรู้
การรับรู้การตัดสินใจ ความนึกคิด ความคิดคำนึง ความคิดเชิงเหตุผล
ความรู้สติโดยมีชื่อเรียกรวมกันว่า ประชา (cognition) อีกด้วย
ในโกโก้นอกจากจะมีสารฟลาโวนอยด์แล้วยังมีส่วนประกอบที่
สำคัญอื่นๆอีกคือกาเฟอีน (caffeine)และธีโอโบรมีน (Theobromine)
โดยกาเฟอีนนั้นเป็นสารที่พบมากในกาแฟ และชา แต่พบในโกโก้ใน
ปริมาณที่น้อยกว่ามากสารกาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นต่อระบบประสาท
ส่วนกลาง ทำให้สมองตื่นตัว สารธีโอโบรมีน มีสูตรโครงสร้างคล้าย
กาเฟอีน ฤทธิ์ของสารตัวนี้ทำให้เกิดผลดีต่อสมอง การที่โกโก้ มีสาร
กาเฟอีนและธีโอโบรมีนร่วมกันพบว่าเป็นผลดีคือทำให้ลดโอกาสของการ
เกิดผลแทรกซ้อนจากกาเฟอีนที่ได้รับมากเกินไปด้วยสำหรับสารธีโอโบรมีน
มีคุณสมบัติในการขยายหลอดลมได้ดีจึงทำให้เกิดประโยชน์ในผู้ป่วย
โรคหืด โรคถุงลมโป่งพอง และยังมีคุณสมบัติระงับอาการไอได้ด้วย
โกโก้จึงเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจอีกด้วย
โกโก้มีผลต่ออารมณ์และจิตใจ ความรู้ความเข้าใจถึงผลดีของโกโก้และช็อกโกแลตที่มีต่อ
สุขภาพทั้งด้านร่างกายจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์นั้น เป็นที่ทราบกัน
มานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่า โกโก้มีสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำให้
สมองมีการหลั่งสารเคมีที่ดีและเกิดมีความสุขออกมาเป็นจำนวนมาก
อันได้แก่ สารโดปามีน (dopamine) และสารเซโรโทนิน (serotonin)
จึงทำให้คนเรามีอารมณ์ดีและมีความสุขหลังได้ดื่มโกโก้ดังนั้นโกโก้จึงมี
คุณสมบัติในการป้องกันและรักษาการเกิดอาการซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากทสมองขาดสารเซโรโทนิน และการดื่มโกโก้ยังทำให้สามารถยกระดับอารมณ์ของเราให้ดีขึ้น และมีความสุข เพราะมีการเพิ่มขึ้นของสารโดบามีนนั้นเอง

http://hsst.or.th/wp-content/uploads/journal/journal1-60.pdf


แหล่งที่มา

ข่าวสารสามคมพืชสวน ี ฉบับที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2560
http://hsst.or.th/wp-content/uploads/journal/journal1-60.pdf
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู