แจ้งเตือน
H50 ความผิดปกติของพืช
22 กุมภาพันธ์ 2567
เตือนภัยการเกษตร ข้าวเมาตอซัง

สาเหตุ H2S
- เกิดจากการสะสมของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่าในดิน จากการย่อยสลายตอซังที่ไม่สมบูรณ์
อาการ
- เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่าง ๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล
- จะพบเมื่อการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารซัลไฟด์ ไปทำลายรากข้าวทำให้เกิดอาการรากเน่าดำ รากไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน
- ปัญหานี้มักเกิดจากการที่เกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการพักนา
การป้องกันกำจัด
- ระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
- หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ


แหล่งที่มา

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/02/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87.pdf
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู