ถาม-ตอบ
การผลิตพืช
ถามเมื่อ 9 เมษายน 2564
ต้องการคำปรึกษาด้านการปลูกปาล์มฯ เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ย ต้นทุนปุ๋ยทำให้ขาดทุน ต้องการทราบว่าควรใส่ปุ๋ยอย่างไรให้ประหยัดเงินและได้ผลคะ ปัจจุบันปลูกอยู่ที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน • ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเมื่อมีการย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มมีอายุ 10 ถึง 12 เดือน) ให้ใส่ร็อกฟอสเฟตเพื่อรองก้นหลุม ประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกปี และหลังจากปลูกแล้วทุก 3 เดือน ก็ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 20-11-11+1.2 MgO ต้นละ 200 ถึง 300 กรัม และใส่อีกครั้งเมื่อปลูกและมีอายุได้ 6 เดือนในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 9 เดือนในอัตราเดิม • ปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุได้ 18 เดือนใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 400 ถึง 500 กรัม เมื่ออายุได้ 24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 0.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 0.5 กิโลกรัม • ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 800 กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม • ปีที่ 4 ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 42 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอีกในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม (สูตร 0-3-0) และปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60)อัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม • ปีที่ 5 ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม • ปีที่ 6 ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม • ปีที่ 7 ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม และครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม • ปีที่ 8 ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัมและปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กิโลกรัมครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม • ปีที่ 9 การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปี ส่วนปุ๋ยสูตรอื่นๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี ดังนี้ - ปุ๋ยสูตร 20-11-11+1.2 MgO เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก - ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี - ปุ๋ยสูตร 0-0-60 หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี - ปุ๋ยสูตร 14-14-21 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2) - ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุกๆ 2 ปี หรือทุกๆ 3 ปี ก็ได้ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้น การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ผสมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) หรือบางปีอาจจะใส่ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตด้วยเมื่อมีความจำเป็นเมื่อผสมปุ๋ยทั้ง 3 สูตรนี้เข้าด้วยกันแล้ว จะต้องรีบใส่ให้ต้นปาล์มน้ำมันทันที ในสวนปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายเป็นค่าซื้อปุ๋ยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด และในบางครั้งก็อาจจะได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า หรือเกิดการสูญเปล่า ดังนั้นในสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ จึงควรตระหนักเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ดินใบปาล์มน้ำมัน อัตราปุ๋ยและชนิดปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อจะลดการสูญเสีย เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ในการใส่ปุ๋ยให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามความผิดพลาดต่างๆ ที่มักพบโดยทั่วไป คือ - ใส่ปุ๋ยผิดวิธี การใส่ปุ๋ยในลักษณะเป็นบริเวณแคบๆ หรือกองไว้เป็นจุดๆ แทนที่จะหว่านให้ทั่วบริเวณนั้น อาจจะเป็นอันตรายกับรากและทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างและไหลบ่าได้ - เวลาในการใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความแห้งหรือเปียกเกินไป จะส่งผลต่อการสูญเสียไนโตรเจนมากที่สุด - ปริมาณใส่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในปาล์มเล็ก - ความไม่สมดุลระหว่างธาตุอาหารที่ใส่ - ใส่ไม่ถูกต้อง (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือไม่เหมาะสม) สิ่งสำคัญในการปลูกปาล์มน้ำมันคือ ตลาดรับซื้อต้องอยู่ใกล้ เพราะต้นทุนเรื่องการขนส่งค่อนข้างสูงเพราะน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับราคาผลผลิต การเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมและมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และแนะนำให้วิเคราะห์ดินก่อนปลูก การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะทำให้ไม่สิ้นเปลือง หลังจากวิเคราะห์ดินแล้วก็ใช้หลักการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดค่ะ รายละเอียดดังนี้นะคะ http://www.ssnm.info/ ทั้งนี้ บริการตรวจวิเคราะห์ดิน แนะนำที่กรมพัฒนาที่ดิน และสามารถติดตามผลผ่านทางแอปพลิเคชันได้ด้วยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ionicframework.soilmobile281474 นอกจากปริมาณธาตุอาหารในดินแล้ว คุณสมบัติทางเคมี ความเป็นกรดเป็นด่างของดินก็ค่อนข้างสำคัญ ถ้าเรานำดินไปวิเคราะห์ก็ทราบเรื่องพวกนี้ด้วย ก็จะช่วยให้เราปรับสภาพทางเคมีและกายภาพของดินให้เหมาะสมกับพืชปลูกได้เช่นกัน เพราะหากดินในสวนเรามีธาตุอาหารตกค้างสูง การปรับสภาพดินให้เหมาะสม ก็จะช่วยให้พืชดึงธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินออกมาใช้ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งการแก้ไขก็เช่น การเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน เช่นปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่สารปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อลดความเป็นกรดในดิน และปรับสภาพดินให้ปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดียิ่งขึ้นค่ะ เพราะโดยปกติแล้วการใส่แต่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวจะเพิ่มความเป็นกรดให้ดินปลูกจนดินเสื่อมคุณภาพได้ และข้อมูลเบื้องต้นของดิน ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากข้อมูลเว็บไซต์ของแต่ละท้องถิ่น สามารถนำมาประกอบการการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อกำหนดการบำรุงดิน (การใส่ปุ๋ยพืช) ได้แบบคล่าว ๆ ก่อนนำส่งดินวิเคราะห์เพื่อหาค่าวิเคราะห์ที่ละเอียดขึ้นในลำดับถัดไปค่ะ ดังเช่น ตย.ข้อมูลดินที่ ต.หนองหงส์ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช (ซึ่งไม่แน่ใจว่าเกษตรกรปลูกปาล์มฯ อยู่ที่ตำบลไหน) กลุ่มชุดดินในตำบลหนองหงส์ มีทั้งหมด 5 ชุดดิน จึงสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้หลายชนิด สภาพดินในตำบลหนองหงส์จัดได้ว่าเป็นดิน ประเภทดินเรดเยลโลว์ พอดโซลิก (Red yellow podzolic) เป็นดินซึ่งเกิดจากการสลายตัวของหินที่มีลักษณะเป็นกรด สามารถระบายน้ าได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง พบในบริเวณกว้าง ๆ ทั่วไป ใช้ประโยชน์ในการปลูกยางพาราและผลไม้ต่าง ๆ โดยสภาพดินเป็นดินบริเวณที่ราบที่มีลักษณะเป็นดินร่วนและดินร่วนปนทราย ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การท านาและปลูกผลไม้ อีกส่วนจะเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราตามสภาพที่เหมาะสม ส่วนบริเวณที่เป็นภูเขาและที่เนินสูงจะมีสภาพดินเป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือหินผุ บริเวณนี้เหมาะแก่การปลูกยางพารา เป็นต้น


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู