ข่าวสาร
P05 พลังงาน
1 เมษายน 2568
แบตเตอรี่รักษ์โลกจากเห็ด

นักวิจัยชาวสวิสได้พัฒนาแบตเตอรี่ที่ใช้เห็ดเป็นแหล่งพลังงาน โดยแบตเตอรี่นี้จะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อมีการเติมน้ำและสารอาหารลงไป แม้จะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากนัก (ประมาณ 300 ถึง 600 mV) แต่ก็เพียงพอที่จะจ่ายไฟให้กับเซ็นเซอร์ที่ใช้ในงานวิจัยด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ห่างไกล เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และความชื้นในป่า

การทำงานของแบตเตอรี่เห็ด แบตเตอรี่เห็ดเป็นเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ (Microbial fuel cell) ที่สร้างไฟฟ้าโดยใช้กระบวนการเผาผลาญของเห็ดรา (Fungi) 2 ประเภท ได้แก่
- ยีสต์ (Yeast fungus) ปล่อยอิเล็กตรอนออกมาขณะย่อยสารอาหารอย่างน้ำตาล
- ราผุสีขาว (White rot fungus) สร้างเอนไซม์ชนิดพิเศษที่ดักจับอิเล็กตรอนและนำอิเล็กตรอนออกจากเซลล์ จนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า

ตัวแบตเตอรี่ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยผสมเซลล์เห็ดราเข้ากับหมึกพิมพ์ ทำให้แบตเตอรี่นี้ไม่เป็นพิษและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทีมวิจัยยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้แบตเตอรี่เห็ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทนทานกว่าเดิม อีกทั้งยังตั้งใจจะทดลองกับเห็ดชนิดต่าง ๆ เพื่อหาชนิดที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ดีที่สุด

 

อ้างอิงภาพจาก https://kukrdb.lib.ku.ac.th/sh/2kRn9q


แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู