ข่าวสาร
D50 กฎหมาย
30 ตุลาคม 2567
ทำความรู้จัก ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) พ.ศ. ๒๕๖๗
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) พ.ศ. ๒๕๖๗ มีเนื้อหาว่า
 
เพื่อให้การควบคุมการเผาในขั้นตอนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งบนพื้นที่ที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ.๔๔.๒) เพื่อลดการสร้างฝุ่น PM 2.5
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงออกประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) พ.ศ. ๒๕๖๗ ไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) พ.ศ. ๒๕๖๓”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ข้าวโพดเมล็ดแห้ง” หมายความว่า ข้าวโพดที่มีเมล็ด (Keme) แข็ง และมีปริมาณแป้งมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. วงศ์ Gramineae ใช้เป็นอาหาร วัตถุดิบอาหาร อาหารสัตว์หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์
“คณะพิจารณาอุทธรณ์” หมายความว่า คณะบุคคลที่แต่งตั้งโดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาการอุทธรณ์
“ผู้ตรวจประเมิน” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรมวิซาการเกษตรให้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน
 
ข้อ ๔ ผู้ที่ได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง(มกษ. ๔๔๐๒) หรือผู้ที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. ๔๔0๒) หากประสงค์ขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอรับรองฯ แนบท้าย ประกาศนี้ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหรือกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๑ – ๘ หรือกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
 
ข้อ ๕ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอรับรองตามข้อ ๔ หากเห็นว่าเอกสารและหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการนัดหมายและเข้าตรวจประเมิน ณ แปลงปลูก
 
ข้อ ๖ ในการตรวจประเมินให้ผู้ตรวจประเมินพิจารณา ดังนี้
(๑) มีการกำจัดวัชพืชและเศษวัสดุก่อนการเตรียมดินโดยไม่ใช้วิธีการเผา
(๒) ไม่พบร่องรอยการเผาในแปลงปลูกและบริเวณโดยรอบ
(๓) มีการบันทึกข้อมูลหรือแสดงหลักฐานการกำจัดวัชพืชและเศษวัสดุก่อนการเตรียมดิน
(๔) มีวิธีการกำจัดเศษเปลือก ฝักข้าวโพด หรือตอซังหลังการเก็บเกี่ยว และไมใช้วิธีการเผา
(๕) มีการบันทึกหรือแสดงหลักฐานการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
(๖) มีมาตรการป้องกันไฟลุกลามจากภายนอกแปลงปลูก
เมื่อตรวจประเมินตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ออกรายงานผลการตรวจประเมินกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ตามแบบรายงานแนบท้ายประกาศนี้
 
ข้อ ๗ เมื่อผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง(มกษ. ๔๔0๒) ตามระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช พ.ศ. ๒๕๖๖ จากกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยรับรองที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับ และผ่านการตรวจประเมินกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ออกหนังสือรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ตามแบบหนังสือรับรองฯ แนบท้ายประกาศนี้
 
ข้อ ๘ หนังสือรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5(PM 2.5 Free Plus) ให้มีอายุสองปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองฯในกรณีที่ได้การรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ภายหลังจากได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. ๔๔o๒ ให้หนังสือรับรองฯ มีอายุเท่ากับใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. ๔๔๐๒) เท่าที่เหลืออยู่
 
ข้อ ๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองที่มีความประสงค์จะขอต่ออายุการรับรอง ให้ยื่นคำขอตามแบบคำขอรับรองฯ แนบท้ายประกาศนี้ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหรือกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๑-๘ หรือกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ก่อนหนังสือรับรองฯ ฉบับเดิมสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่ามีฐานะเสมือนผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ และให้ดำเนินการผลิตต่อไปได้จนกว่าอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะสั่งไม่ต่ออายุหนังสือรับรองฯ
การตรวจประเมินเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองฯ ผู้ตรวจประเมินจะตรวจประเมินกระบวนการทั้งหมด
ตามข้อ ๖ เพื่อออกหนังสือรับรองฯ ฉบับใหม่
 
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) ต้องปฏิบัติ ดังนี้
(๑) รักษาไว้ซึ่งกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาตามข้อ ๖ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง
(๒) ให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจประเมินในการเข้าตรวจติดตาม หรือเข้าตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อร้องเรียน
 
ข้อ ๑๑ หากพบการฝ่าฝืนตามข้อ ๖ หรือถูกเพิกถอนหรือยกเลิกใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. ๔๔.๒) ให้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพิกถอนหนังสือรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus)
 
ข้อ ๑๒ หนังสือรับรองฯ จะถูกยกเลิก ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ เลิกประกอบกิจการที่ได้รับการรับรอง
(๒) ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นคนไร้ความสามารถ
(๓) ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ เสียชีวิต
(๔) ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ โอนกิจการให้บุคคลอื่น
(๕) ผู้ได้รับหนังสือรับรองฯ แจ้งขอยกเลิกการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร
 
ข้อ ๑๓ เมื่อมีการเพิกถอนหนังสือรับรองฯ ตามข้อ ๑๑ หรือยกเลิกหนังสือรับรองฯตามข้อ ๑๒ ให้ยุติการใช้หนังสือรับรองฯ และการอ้างถึงการได้รับการรับรองทั้งหมด
 
ข้อ ๑๔ กรมวิชาการเกษตรขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าตรวจติดตาม หรือเข้าตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อร้องเรียน การรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผา เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจัดการระบบ รวมถึงการเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
 
ข้อ ๑๕ การอุทธรณ์
(๑) กรณีอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่ออกหนังสือรับรองฯ หรือมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองฯ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากกรมวิชาการเกษตร โดยการยื่นอุทธรณ์ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อคณะพิจารณาอุทธรณ์
(๒) คณะพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาคำอุทธรณ์ และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์
(๓) ผลการพิจารณาของคณะพิจารณาอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗
 
**ดูรายละเอียด https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/28382.pdf

แหล่งที่มา

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=895123486100200&set=pcb.895122702766945
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู