ข่าวสาร
L60 อนุกรมวิธานสัตว์
31 กรกฎาคม 2567
ความหลากหลายของ

ปลาทิลาเพีย (Tilapia) เป็นกลุ่มปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) พบกระจายพันธุ์เฉพาะทวีปแอฟริกา โดยมีชื่อเรียกสามัญรวม ๆ กันว่า “ปลาทิลาเพีย” เช่น ปลานิล (Nile Tilapia), ปลาหมอคางดำ (Blackchin Tilapia) เป็นต้น

ปลาในไทรบ์ Tilapia นั้นจะแยกเป็น 3 สกุล (Genus) สำคัญคือ
1️⃣ สกุล Oreochromis : ปลาตัวเมีย จะอมไข่เอาไว้ ซึ่งจะมีปลานิล,ปลาหมอเทศ เป็นต้น
2️⃣ สกุล Sarotherodon : ปลาตัวผู้ จะอมไข่เอาไว้ ซึ่งจะมีปลาหมอคางดำ เป็นต้น
3️⃣ สกุล Tilapia : วางไข่ไว้ตามพื้นท้องน้ำ ซึ่งจะมีปลาหมอบัตเตอร์ เป็นต้น

▶ ปลาทิลาเพีย เป็นปลาเศรษฐกิจน้ำจืดที่มีความสำคัญมากกับโลก มีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายและพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ มากมายจากชนิดพันธุ์ดั้งเดิม เช่น ปลานิลจิตรลดา ปลาทับทิม เป็นต้น

▶ ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท บางชนิดถูกนำเข้าในรูปแบบปลาสวยงามเช่น ปลาหมอบัตเตอร์ และบางชนิดถูกนำเข้ามาเพื่อการวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์ เช่น ปลาหมอคางดำ แต่ด้วยความที่เป็นปลาที่ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนกับความเค็มได้สูง สามารถกินได้ทั้งพืช สัตว์ หรือซากของสิ่งมีชีวิต สามารถย่อยอาหารได้ดีและมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว จึงกลายมาเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Alien Species)

▶ ปัจจุบันปลาหมอคางดำ กำลังระบาดและสร้างปัญหาให้กับเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ชุมพร และสงขลา เป็นต้น ซึ่งการกำจัดปลาหมอคางดำ สามารถทำได้ทั้งนำไปทำเป็นอาหารสัตว์หรือนำมาประกอบอาหารเป็นอาหารมนุษย์ เนื้อปลาหมอคางดำ และปลาทิลาเพีย อื่น ๆ มีประโยชน์ทางโภชนาการ มีสารอาหารทั้งโอเมกา 3 และโอเมกา 6

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2802609


© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู