ข่าวสาร
E14 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
18 เมษายน 2567
มก.ส่งมอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวให้คณะรัฐบาล

ดร.อรอุบล ชมเดช ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ดร.พงศ์เทพ อัครธนกุล ผู้ทรงคุณวุฒิของศูนย์ฯ พร้อมด้วยคณะนักวิจัยในโครงการข้าวของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้แก่ ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผศ.ดร.ศรีสังวาลย์ ลายวิเศษกุล ดร.พรชัย ไพบูลย์ ดร.พรรณี ชื่นนคร นายสุนทร เหมทานนท์ และนายสุจินต์ สิทธิวนกุล รวม 9 คน เข้าร่วมพิธีส่งมอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของศูนย์ฯ แก่รัฐบาล เพื่อพิจารณาขยายผลการใช้เทคโนโลยีฯ เพื่อมุ่งยกระดับผลผลิตข้าวไทยให้สูงขึ้น เพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้รวมของประเทศเป็นหลักแสนล้านบาท กระจายสู่ครัวเรือนชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนาปรังในเขตภาคกลาง เป็นการเพิ่มรายได้เกษตรกร ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน มั่นคง ยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาล

ในการนี้ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ผศ.ดร.ธานินทร์ คงศิลา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้ส่งมอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวให้คณะรัฐบาล

โดยท่านนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ให้เกียรติมาพบปะคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะนักวิจัยข้าวของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร และมอบหมายให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานรับมอบเทคโนโลยีฯ พร้อมแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน โดยมีร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ผู้บริหาร และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมการรับมอบ ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร

เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการแปลงนา ได้แก่ การกำหนดสูตรและอัตราปุ๋ยที่ตรงตามสายพันธุ์ข้าวและเป้าหมายผลผลิต รวม 2 สูตร ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 สำหรับข้าวไวแสง (ขาวดอกมะลิ105 กข15) และปุ๋ยสูตร 25-7-14 สำหรับข้าวไม่ไวแสง (ปทุมธานี1 กข41) ร่วมกับใส่ปูนโดโลไมท์ (Dolomite) ซึ่งเป็นวัสดุเกษตรราคาถูก ที่มีธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบสูง ควบคู่กับส่งเสริมการปรับเพิ่มระยะปลูกข้าวให้ห่างขึ้น เป็นระยะระหว่างแถว 30 ซม. ให้ใบได้แดด เกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง สร้างอาหารเลี้ยงต้นและเมล็ดได้เต็มที่

ติดตามตามรับชมการแถลงข่าว ได้ทาง https://www.youtube.com/live/1Zm4sEOM8ZE?si=y8KFJd6ncCK6fuNI


แหล่งที่มา

ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
https://www.facebook.com/photo?fbid=406082298811112&set=pcb.406089755477033
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู