ข่าวสาร
F01 การผลิตพืช
18 มกราคม 2566
ถอดรหัสงานวิจัย มก. : ผลของทิศทางของกิ่งต่อการสังเคราะห์แสงของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

ถอดรหัสงานวิจัย มก. จากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 60 สาขาพืช 
เรื่อง ผลของทิศทางของกิงต่อการสังเคราะห์แสงของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทอง : Effect of branch direction to photosynthesis in durian (Durio zibethinus L. ‘Monthong’)

ณิชกมล เอียมประเสริฐกุล พูนพิภพ เกษมทรัพย์ วีรศิลป์ สอนจรูญ คณพล จุฑามณี
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900



บทคัดย่อ
จํานวนผลผลิตทุเรียนในกิ่งทิศตะวันตกมีปริมาณตํ่ากว่ากิ่งทิศตะวันออก จึงตั้งสมมติฐานว่าเกิดจากอัตราการสังเคราะห์แสงที่แตกต่างกัน จึงเก็บข้อมูลการสังเคราะห์แสง การแลกเปลี่ยนแก๊ส และจุลภูมิอากาศของใบ 3 รูปแบบประกอบด้วย ใบอ่อนกิ่งตะวันออก (EI) ใบแก่กิ่งตะวันออก (EM) และใบแก่กิ่งตะวันตก (WM) พบว่าทรงพุ่มทั้งสองทิศมีอุณหภูมิที่ผิวใบประมาณ 30°C แต่ความชื้นสัมพัทธ์ของกิ่งตะวันออกมีค่าสูงกว่ากิ่งตะวันตก อัตราการสังเคราะห์แสงของใบ EM มีค่าสูงสุด รองลงมาคือ EI และ WM ตามลําดับ นอกจากนี้ทุเรียนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุดในช่วง 9.00–12.00 น. ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอัตราการสังเคราะห์แสงที่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองทิศเกิดจากสภาพจุลภูมิอากาศภายในต้น ดังนั้นการปรับสภาพจุลภูมิอากาศของกิ่ง อาจเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงของใบทุเรียนและปริมาณ
ผลผลิตภายในกิ่งตะวันตกได้


แหล่งที่มา

คลังความรู้ดิจิทัล มก.
https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/kucon/search_detail/result/420020
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู