ข่าวสาร
K10 วิทยาการป่าไม้
20 ธันวาคม 2565
โครงการชุมชนไม้มีค่าเฟสแรกได้รับการตอบรับดี รัฐบาลพร้อมเดินหน้าโครงการฯ ระยะที่ 2
“โครงการชุมชนไม้มีค่าเฟสแรก” ปชช. นำไม้มีค่ามา “ค้ำประกัน” ได้จริง รัฐบาลพร้อมเดินหน้าโครงการฯ ระยะที่ 2 ที่ประชุม ครม.รับทราบความคืบหน้า การขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า ที่ดำเนินการตามมติ ครม. (18 ก.ย. 2561) ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการ 10 ปี เพื่อประโยชน์แก่ ปชช. ราว 2.6 ล้านครัวเรือน ให้ปลูกไม้มีค่าครัวเรือนละ 400 ต้น ได้พื้นป่าเพิ่มขึ้น 26 ล้านไร่ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1,040 ล้านบาทนั้น
ล่าสุด ผลการดำเนินโครงการดังกล่าว ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2564) มีดังนี้
• ปลดล็อกกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง :
> ออก พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับ พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 เพื่อ “ปลดล็อกไม้หวงห้าม”
> จัดทำระเบียบ คกก.พิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือปลูกไม้ยืนต้นในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ปี 65
> ผลักดันการลดภาษีและยกเว้นภาษี สำหรับไม้ ไม้แปรรูปและของทำด้วยไม้
• เพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์กล้าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ :
> แจกจ่ายให้ ปชช. รวม 243.8 ล้านกล้าไม้
> จัดทำเรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชนใน 730 ชุมชน ผลิตกล้าไม้ได้ชุมชนละ 20,000 กล้าไม้ รวม14.6 ล้านกล้าไม้
• วิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน :
> สร้างฐานข้อมูล “ชนิดไม้มีค่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และแปลงสาธิตการปลูก”
> พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินมูลค่าไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ
> พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแม่นยำทางป่าไม้ (Precision Forestry)
> การใช้ประโยชน์จากไม้ขนาดเล็ก เศษไม้ ปลายไม้ เพื่อการสร้างบ้าน อาคาร เฟอร์นิเจอร์ เชื้อเพลิงอัดเม็ด เป็นต้น
• มีชุมชนเข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมป่าครอบครัว 1,218 ราย ในพื้นที่ 15,123 ไร่ สามารถดำเนินการชุมชนไม้มีค่า คิดเป็นมูลค่า 227.74 ล้านบาท รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางอ้อมผ่านการประเมินมูลค่าระบบนิเวศสะสม (ปี 62-64) คิดเป็นมูลค่า 1,202.38 ล้านบาท รวม 1,430.12 ล้านบาท
• ประเมินมูลค่าการตลาดและแปรรูป :
> ธ.ก.ส. สร้างมูลค่าเพิ่มชุมชนไม้มีค่า 321 ชุมชน มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้และป่าไม้ราว 90 ล้านบาท
> ได้ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนประมาณ 4.68 แสนตันคาร์บอนไดออกไซด์
> สนับสนุนเกษตรกรในการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน (เบื้องต้นเฉพาะในพื้นที่เอกสารสิทธิ์) ได้ 229 ต้น และให้มูลค่าหลักประกันแก่เกษตรกรคิดเป็นมูลค่า 3.1 ล้านบาท
 
ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยว่าได้จดทะเบียนการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน (16 มี.ค. 62 - 31 ธ.ค. 64) จำนวน 1.43 แสนต้น คิดเป็นเงินค้ำประกัน 136.83 ล้านบาท และยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยเฉพาะในส่วนป่าเศรษฐกิจราว 1.07 แสนไร่
 
สำหรับแผนการดำเนินโครงการชุมชนไม้มีค่า ระยะที่ 2 (ปี 65 - 67) คาดว่าจะเกิดชุมชนไม้มีค่าเพิ่มขึ้น 4,969 ชุมชน ปชช. ได้รับผลประโยชน์ 4,650 ครัวเรือน มีต้นไม้เพิ่มขึ้น 60 ล้านต้น และพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 14,040 ไร่

แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู