กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ รายงานการ พบ มด 𝘋𝘪𝘢𝘤𝘢𝘮𝘮𝘢 𝘢𝘴𝘴𝘢𝘮𝘦𝘯𝘴𝘦 ครั้งแรกในประเทศไทย มีบทบาทเป็นตัวห้ำ ช่วยกำจัดศัตรูพืชในทางธรรมชาติ
โดย นางสาวเนตรนภา โพธิ์ศรีทอง นักวิจัยกีฏวิทยาปฏิบัติการ และ ดร.แก้วภวิกา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกับ ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รายงานการพบมดชนิดนี้ในป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กำแพงเพชร
สำหรับมดชนิดนี้ถือเป็นชนิดที่ 6 ของสกุลนี้ ที่มีรายงานพบในประเทศไทย ลักษณะของมดดังกล่าว มีขนาดลำตัวยาว 10-11 มม. สีดำ หัว อก เอว และท้องปล้องแรกมีสันร่องคล้ายลายนิ้วมือ ส่วนเอวยาวเป็นแท่ง ด้านบนของเอวมีหนามแหลม 1 คู่
การดำรงอยู่ในระบบนิเวศ มีบทบาทเป็นตัวห้ำ กล่าวคือ กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่นแมลง ซึ่งเป็นตัวช่วยกำจัดศัตรูพืชในทางธรรมชาติ
อ้างอิงข้อมูล : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้
อ้างอิงรูปภาพ : postjung