หญ้าปล้องละมาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Echinochloa crusgalli, ชื่อสามัญ : Bornyardgrass, watergrass) เป็นพืชวงศ์หญ้าและพืชฤดูเดียว ขึ้นเป็นกอ สูง 1-2 เมตร ปกติไม่มีลิ้นใบ ใบเป็นเส้นตรง ยาว 10-30 เมตร ดอกเป็นดอกช่อแบบพานิเคิล ยาว 10-20 เซ็นติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยแบบ Spike 9-12 ช่อ ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ มักพบในนาและที่รกร้าง แพร่กระจายในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย แต่พบน้อยกว่าหญ้าข้าวนก
หญ้าปล้องละมานมีหลายพันธุ์ คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น ต่อมาจึงแพร่กระจายไปยังเกาหลี จีน และรัสเซีย เมล็ดรับประทานได้ โดยหุงในน้ำหรือนำไปคั่วใช้เป็นอาหารในยามขาดแคลน นำไปหมักทำเบียร์ ใช้เป็นอาหารสัตว์ ในชวานำยอดอ่อนไปรับประทานเป็นผัก โปรตีนในเมล็ดไม่มีกลูเตนจึงไม่เหมาะกับการนำไปทำขนมปัง และสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : หญ้า อายุปีเดียว เจริญเติบโตแน่นเป็นกระจุก ลำต้นตั้ง หรือทอดเอนไปตามพื้นและชูส่วนบนขึ้น ขึ้นเป็นกอ โคนต้นเอนแล้วตั้งตรง กาบใบผิวเกลี้ยง
ใบ : ใบรูปขอบขนาน
ดอก : ดอกแบบช่อกระจะ ช่อย่อย จำนวน 12–30 ช่อ เรียงบนแกน ช่อดอกแบบสลับ ลักษณะรูปไข่ ปลายเรียว แหลมเป็นรยางค์ กาบช่อย่อยเป็นเยื่อบางแผ่นล่างสั้นกว่าแผ่นบนแผ่นบนปลายเป็นรยางค์แข็ง กาบคลุมบน รูปรี เนื้อแข็ง ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ขอบเป็นเยื่อบางโอบโค้ง ปลายเป็นจะงอยแข็ง ปลายเกสรเพศเมียสีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อน
ผล : ผลสีเหลืองหรือสีน้ำตาล รูปรี ผิวเกลี้ยง
อ้างอิงข้อมูล
-
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&
view=showone&id=981 -
https://www.wiki.th-th.nina.az/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%
E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%
A1%E0%B8%B2%E0%B8%99.html -
Noda, K., Teerawatsakul, M., Prakongvongs, C., Chaiwiratnukul, L.1994.
Major weed in Thailand. Ministry of Agriculture and cooperative -
พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10: ธัญพืช. กทม.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 113 - 115