ข่าวสาร
D50 กฎหมาย
26 พฤษภาคม 2565
อัตราการเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ปี 2565 นี้ กระทรวงการคลังพิจารณาจัดเก็บภาษีดังกล่าวเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่ปรับลดมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว เนื่องจากการลดภาษีในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นภาระทางการคลัง แต่การจัดเก็บยังคงเก็บอัตราเดิมตามฐานของปี 2563-2564 ไปถึงปี 2566

อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% 

  • ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

*** หากมีการทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่จะเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดิน?

  • ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงห้องชุดคอนโดมิเนียมด้วย ฉะนั้น สำหรับคนที่เช่าบ้านหรือคอนโดอยู่ หรือบ้านที่อยู่ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตัวเอง ก็ไม่ต้องเสียภาษีประเภทนี้

เสียภาษีเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร?

  • ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี

มีผู้ถือครองที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะทำเลย่านเศรษฐกิจใจกลางกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ มีการนำที่ดินมาแปลงสภาพที่ดินเพื่อให้เข้าเกณฑ์ "ที่ดินเกษตรกรรม" เพื่อลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม 10 เท่า

ซึ่งการนำที่ดินมาพัฒนาเป็นเกษตรกรรมจำเป็นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งกำหนดพืช 51 ชนิด และสัตว์อีก 9 ชนิด ถึงจะถือว่าเป็นการใช้พื้นที่เกษตรกรรม

เมื่อดู ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม

หลายคนมีคำถามว่า ที่ดิน 1ไร่ ปลูกกล้วยกี่ต้น แล้วต้นไม้อะไรบ้าง เสียภาษีที่ดินน้อย คำตอบก็คือ ปลูกพืช 51 ชนิด  ทีนี้มาแยกให้เห็นชัด ๆ ดังนี้ 

ตระกูลกล้วย 3 ชนิด

  • กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่
  • กล้วยไข่ 200 ต้น/ไร่
  • กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่

พืชชนิดอื่น

  • กระท้อนเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ทับทิม 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่
  •  กาแฟ 170 ต้น/ไร่ พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่ พันธุ์อราบิก้า 533 ต้น/ไร่
  • กานพลู 20 ต้น/ไร่ 7.กระวาน 100 ต้น/ไร่
  • โกโก้ 150-170 ต้น/ไร่
  • ขนุน 25 ต้น/ไร่
  • เงาะ 20 ต้น/ไร่
  • จำปาดะ 25 ต้น/ไร่
  • จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่
  • ชมพู่ 45 ต้น/ไร่
  • ทุเรียน 20 ต้น/ไร่
  • ท้อ 45 ต้น/ไร่
  • น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่
  • นุ่น 25 ต้น/ไร่
  • บ๊วย 45 ต้น/ไร่
  • ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่
  • ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่
  • พุทรา 80 ต้น/ไร่
  • แพสชั่นฟรุ๊ต 400 ต้น/ไร่
  • พริกไทย 400 ต้น/ไร่
  • พลู 100 ต้น/ไร่
  • มะม่วง 20 ต้น/ไร่
  • มะพร้าวแก่ 20 ต้น/ไร่
  • มะพร้าวอ่อน 20 ต้น/ไร่ 
  • มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่
  • มะละกอ (ยกร่อง) 100 ต้น/ไร่ (ไม่ยกร่อง) 175 ต้น/ไร่
  • มะนาว 50 ต้น/ไร่
  • มะปราง 25 ต้น/ไร่
  • มะขามเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่
  • มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่
  • มังคุด 16 ต้น/ไร่
  • ยางพารา 80 ต้น/ไร่
  • ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่
  • ลำไย 20 ต้น/ไร่
  • ละมุด 45 ต้น/ไร่
  • ลางสาด 45 ต้น/ไร่
  • ลองกอง 45 ต้น/ไร่
  • ส้มโอ 45 ต้น/ไร่
  • ส้มโอเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่
  • ส้มตรา 45 ต้น/ไร่
  • ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่
  • ส้มจุก 45 ต้น/ไร่
  • สตรอเบอรี่ 10,000 ต้น/ไร่
  • สาลี่ 45 ต้น/ไร่
  • สะตอ 25 ต้น/ไร่
  • หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่
  • หมาก (ยกร่อง) 100-170 ต้น/ไร่
  • พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 100 ต้น/ไร่

 

อ้างอิง : พระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 และ พระราชกฤษฎีกา กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2564


© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู