ข่าวสาร
F60 ชีวเคมีของพืช
22 เมษายน 2564
ตะขบป่านำมาทำยาต้านมาลาเรีย
มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากตะขบป่า สามารถกำจัดเชื้อมาลาเรีย ชนิด Plasmodium falciparum ที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ซึ่งพบได้บ่อยในประเทศไทยตามแนวชายแดนไทยพม่า-กัมพูชา และลาว 
 
อาจเป็นรูปภาพของ ธรรมชาติ และต้นไม้
 
ตะขบป่า หรือ เบนโคก ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ ถูกนำมาสกัดและทดสอบกับเชื้อมาลาเรีย ด้วยความเข้มข้น 5, 10 และ20 µM สำหรับทดสอบในหลอดทดลอง 25, 50 และ 75 mg/kg สำหรับการทดสอบในสัตว์หนูโดยป้อนวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 วัน เปรียบเทียบกับการให้ยามาตรฐาน
 
ผลการทดลองพบว่า...
> สารสกัดจากตะขบป่าสามารถยับยั้งเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ในหลอดทดลองได้ดี
> สารประกอบไกรโครไซ 2-(6-benzoyl-β-d-glucopyranosyloxy)-7-(1α, 2α, 6α-trihydroxy-3-oxocyclohex-4-enoyl)-5-hydroxybenzyl alcohol หรือ CPG ที่แยกจากสารสกัดตะขบป่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของระยะ Trophozoite ของเชื้อมาลาเรียได้
> เกี่ยวข้องกับการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิด Heme polymerization
> การทดสอบในหนู พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 and 75mg/kg พยาธิสภาพการเกิดมาลาเรียในหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

แหล่งที่มา

ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยต้านปรสิต
https:pdrcthailand.org/herb
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู