📢 เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans ซึ่งมักระบาดในสภาพอากาศเย็นตอนเช้าและมีหมอกในบางพื้นที่
🌡 สภาพอากาศที่เอื้อต่อการระบาด อากาศเย็นตอนเช้าและร้อนตอนกลางวัน โดยเฉพาะในสภาพที่มีความชื้นสูงหรือมีหมอกจะช่วยให้โรคลุกลามได้เร็ว
🔍 อาการของโรคใบไหม้
✅ เริ่มต้นที่ใบล่าง พบแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก
✅ แผลจะขยายเป็นสีน้ำตาลตรงกลาง และขอบแผลฉ่ำน้ำมีสีดำ
✅ ด้านใต้ใบพบเชื้อราสาเหตุโรคสีขาว
✅ หากโรคลุกลามจะทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลและร่วง
✅ โรคสามารถทำลายลำต้น กิ่ง และผล ทำให้ลำต้นเหี่ยวเฉา และผลเน่า
🛑 แนวทางป้องกันและกำจัด
✅ หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศ ในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค
✅ ไถพลิกดิน และตากแดด 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน
✅ ปรับระยะปลูก ให้โปร่ง และตัดแต่งใบล่างเมื่อปลูกแบบยกค้าง
✅ ควบคุมการให้น้ำ หลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น
✅ พ่นสารป้องกันโรคพืช เช่น
- ไดเมโทมอร์ฟ 50% WG อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไซมอกซานิล + แมนโคแซบ 8% + 64% WP อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- เมทาแลกซิล-เอ็ม + แมนโคเซบ 4% + 64% WG อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- โพรพิเนบ + ไอโพรวาลิคาร์บ 61.3% + 5.5% WP อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
✅ พ่นทุก 5 วัน ให้ทั่วทั้งใบและใต้ใบ สลับสารต่าง ๆ เพื่อป้องกันการดื้อยา
✅ ถอนต้นที่เป็นโรครุนแรง และนำไปทำลายนอกแปลง
✅ ทำลายซากพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาด
📌 ติดตามและปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคใบไหม้ทำลายผลผลิตมะเขือเทศ 🥒🍅