ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม
ลักษณะการทำลาย
ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำในต้นหนึ่ง ๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่าง ๆ กัน เป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่าง ๆ ในต้นทุเรียนเฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น
วิธีป้องกันกำจัด
1. หมั่นสำรวจสวนทุเรียนเป็นประจำ
2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้แสงไฟล่อ หรือใช้ตาข่ายตาถี่พันหลวม ๆ รอบต้น
3. เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
4. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตและนำไปเผาทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมการระบาด ทำความเสียหายต่อทุเรียนต้นอื่น ๆ ต่อไป
ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=933859822114510&set=a.309632461203919