แจ้งเตือน
H10 ศัตรูพืช
11 กรกฎาคม 2567
ระวังหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้หอม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มอยู่บนใบพืช ปกคลุมด้วยขนสีขาว จำนวนไข่ 20-80 ฟองต่อกลุ่มไข่ เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ 200 ฟอง หนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกัดกินผิวใบบริเวณส่วนต่าง ๆ ของพืชเป็นกลุ่ม และความเสียหายรุนแรงในระยะหนอนวัย 3 ซึ่งจะแยกย้ายกัดกินทุกส่วนของพืช หากปริมาณหนอนมากความเสียหายจะรุนแรง

แนวทางป้องกันกำจัด
1. ไถพรวนและตากดินก่อนปลูก เพื่อกำจัดระยะดักแด้ที่อยู่ในดิน
2. หมั่นสำรวจแปลงหากพบกลุ่มไข่หรือตัวหนอนให้เก็บ และทำลายทันที
3. ติดกับดักแสงไฟสีม่วง (Black light) บริเวณขอบแปลง แปลงละ 1 จุด ล่อตัวเต็มวัยมาทำลายเพื่อลดการวางไข่
4. หากพบการระบาด พ่นด้วยสารคลอฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40-50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทราลินิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในพริก ปี 2560)

**** แนะนำให้พ่นสารกำจัดแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ห่างกันทุก 5 วัน ไม่เกิน 3 ครั้ง และหมุนเวียนสารตามกลไกการออกฤทธิ์ ไม่พ่นซ้ำกลุ่มเดิมในรอบ 30 วัน (1 รอบวงจรชีวิต) เพื่อชะลอความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช


แหล่งที่มา

กรมวิชาการเกษตร
https://at.doa.go.th/ew/backoffice/upload/351jul6721.pdf
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู