แจ้งเตือน
H10 ศัตรูพืช
19 เมษายน 2567
ระวังด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วง
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนชื้น เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วง ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาว เพศเมียวางไข่ในเวลากลางคืนโดยฝังไว้ใต้เปลือก หนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้เกิดยางไหล หนอนอาจควั่นเปลือกจนรอบลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้ง และยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จากขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น
แนวทางป้องกันกำจัด
1.หมั่นสำรวจตรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยสังเกตรอยแผล ซึ่งเป็นแผลเล็กและชื้น ที่ตัวเต็มวัยทำขึ้นเพื่อการวางไข่ พบให้ทำลายไข่ทิ้ง หรือถ้าพบขุยและการทำลายที่เปลือกไม้ให้ใช้มีดแกะและจับหนอนทำลาย
2.กำจัดแหล่งขยายพันธุ์โดยตัดต้นที่ถูกทำลายรุนแรง จนไม่สามารถให้ผลผลิตเผาทิ้ง
3.กำจัดตัวเต็มวัย โดยใช้ไฟส่องจับตัวเต็มวัยตามต้น ในช่วงเวลา 20.00 น. ถึงเช้ามืด หรือใช้ตาข่ายดักปลาตาถี่พันรอบต้นหลายๆทบ เพื่อดักตัวด้วง
4.กรณีที่มีการระบาดรุนแรง ควรป้องกันการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น อิมิดาคลอพริด 10% เอสเอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซทามิพริด 20% เอสพี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไธอะมีโทแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่

แหล่งที่มา

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=772339588378591&set=a.257770309835524
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู