แจ้งเตือน
H10 ศัตรูพืช
5 มกราคม 2566
ระวังด้วงหนวดยาวทุเรียน
ด้วงบ่าหนามจุดนูนดำหรือด้วงหนวดยาวเป็นศัตรูร้ายชนิดหนึ่งที่ทำลายต้นทุเรียนอย่างเงียบๆเผลอนิดเดียวต้นทุเรียนมีอันต้องยืนต้นตายลาจากโลกไปโดยเจ้าของไม่ทันตั้งตัว
ด้วงหนวดยาวมีพฤติกรรมชอบจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ในเวลากลางคืน โดยตัวเมียบินมาเกาะที่ต้นทุเรียนแล้วใช้ปากกัดเปลือกลำต้นให้เป็นแผลเล็กๆแล้ววางไข่บนรอยแผล และชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม
 
 
ไข่ มีลักษณะยาวรีคล้ายเมล็ดข้าวสาร สีขาวขุ่น ระยะไข่ 7-14 วัน
หนอน ฟักออกจากไข่ใหม่ๆมีสีขาวครีม เริ่มกัดกินชอนใต้เปลือกไม้และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ออกมาภายนอกเป็นระยะตามเส้นทางที่หนอนชอนไช หนอนโตเต็มที่ยาว 6-8 ซม.อายุหนอนประมาณ 280 วัน
ดักแด้ เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะเข้าเนื้อไม้แข็ง หดตัวและเข้าดักแด้อยู่ 24-29 วันจึงเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในโพรงอีก 7-8 วันจึงออกมาสู่โลกภายนอก
ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาวขนาด 4-6 ซม.ตัวผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว ส่วนตัวเมียหนวดยาวเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว ตัวเต็มวัยมีอายุ 82 วัน
การป้องกันกำจัด
วิถีเกษตรอินทรีย์
1.หมั่นสำรวจการระบาดเข้าทำลาย เมื่อพบร่องรอยการทำลายเช่นมีขุยไม้ที่คาคบหรือโคนต้นให้ใช้มีดหรือขวานเฉาะหาตัวหนอนมาทำลาย
2.ใช้อวนตาข่ายถี่พันรอบลำต้นป้องกันตัวเต็มวัยมาวางไข่
3.จับตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟทำลาย
4.ฉีดพ่นลำต้นทุเรียนด้วยใส้เดือนฝอย ในช่วงเวลาพลบค่ำเพื่อให้เข้าทำลายหนอนที่ฟักออกจากไข่
วิถีเกษตรปลอดภัย
- พ่นด้วยอิมิดาโคลพริด อัตราตามคำแนะนำที่ลำต้นทุเรียน ทุก7-14 วัน เพื่อกำจัดหนอนที่ฟักออกจากไข่

แหล่งที่มา

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=502768908668995&set=a.257770309835524
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู