แจ้งเตือน
H20 โรคพืช
9 พฤศจิกายน 2565
เตือนระวัง โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ในกล้วย

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ในกล้วย เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Colletotichum musae
ลักษณะอาการของโรค อาการเริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ฉ่ำน้ำ แล้วขยายการเข้าทำลายสู่เปลือกกล้วยด้านใน ผิวเปลือกของผลกล้วยจะเป็นแผลสีน้ำตาลดำขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน นื้อเยื่อยุบตัวลง บริเวณแผลสร้างกลุ่มของโดนิเดียสีส้ม ถ้ามีความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา

 


การแพร่ระบาด เชื้อราเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในแปลงปลูกกล้วย สามารถเจริญอยู่ได้ในกล้วยตั้งแต่ ดอก ผล และเครือในแปลง และดำรงชีวิตอยู่บนกล้วยที่ตายแล้ว หรือ เศษชากพืชอื่นๆ โคนิเดียสามารถแพรโดยลมและฝน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อรา L. theo bromae เป็นสาเหตุโรคผลเน่าของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย เป็นต้น และมีพืชอาศัยจำนวนมาก ส่วนเชื้อรา C. musae สามารถเข้าทำลายแบบแฝง (latent infection) มาจากแหล่งปลูก โดยที่ผลกล้วยไม่แสดงอาการของโรค โคนิเดียของเชื้อรางอกและสร้าง (appressoria) เข้าไปอยู่ในชั้นอิพิเดอร์มิส เป็นเส้นใยพักตัว จะแสดงอาการของโรคให้เห็นเมื่อกล้วยสุก
การควบคุมโรค
1. รักษาความสะอาด เช่น เก็บเศษซากใบแห้ง ดอกที่แห้ง รวมทั้งกาบปลีแห้งทิ้ง เพราะเป็นแหล่งสะสมโรคและเป็นที่เพาะเชื้อสาเหตุของโรคขั้วหวีเน่า
2. การแยกหวีออกจากเครือ ควรตัดด้วยมีดสะอาด รอยแผลต้องเรียบไม่มีคม เพื่อป้องกันการทำความเสียหายให้กับหวีอื่น หลังเก็บเกี่ยวถึงขนส่งหรือเก็บรักษาควรใช้เวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง และอุณหภูมิที่เก็บรักษาหรือขนส่งไม่ควรสูงเกิน 16 องศาเซลเซียส
3. สารเคมีที่ใช้ได้ผล คือ น้ำคลอรีนและแคลเซียมไฮโพคลอไรต์ (calcium hypochlorite, CaCI0 ) การใช้สารเคมีกลุ่มไธอะเบนดาโซล (thiabendazole) นับว่าให้ผลดีเช่นกัน โดยใช้อัตรา 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ในน้ำอุ่น แช่นาน 2 นาทีนอกจากนี้การใช้บิโนมีล (benomy) ระหว่างฤดูปลูกในอัตรา 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตรฉีดพ่นจะช่วยป้องกันโรคหวีเน่าหลังเก็บเกี่ยวได้
4. นำผลกล้วยแช่น้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที แล้วผึ่งให้แห้งก่อนการบรรจุ


แหล่งที่มา

ก้าวไปด้วยกันกับกรมวิชาการเกษตร
https://www.facebook.com/photo?fbid=432437415731937&set=pcb.432437495731929
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู