การป้องกันหนอนกระทู้หอม
หนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua (Hübner) เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่ม(เฉลี่ย20 ฟองต่อกลุ่ม) ช่วงที่หนอนฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แล้วพอถึงวัย 3 ความเสียหายจะเยอะเพราะเริ่มแยกตัวออกไปกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช มักพบหนอนชนิดนี้ระบาดในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น หอมแดง องุ่น กุหลาบ หน่อไม้ฝรั่ง พริก พืชผักตระกูลกะหลำ่ ทานตะวัน ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มะเขือเทศ เป็นต้น
ความสำคัญอีกอย่างของหนอนชนิดนี้คือ หนอนชนิดนี้ดื้อยาสุด ๆ จนบางที่เรียกว่า "หนอนหนังเหนียว" นอกจากชื่อหนอนหลอดหอมหรือหนอนกระทู้หอม ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การใช้วิธีผสมผสานครับ



การใช้สารเคมีพ่นเมื่อเริ่มพบหนอนชนิดนี้ เช่น









เนื่องจากหนอนชนิดนี้มีรายงานดื้อยากรือสร้างความต้านทานมากๆ นอกจากเลือกสารที่มีประสิทธิภาพแล้วจึงควรมีการสลับกลุ่มสารตามวงจรชีวิตของหนอนกระทู้หอม สลับมาใช้สารชีวภัณฑ์บ้างโดยเฉพาะ NPV เพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในกลุ่มต่างๆของหนอนกระทู้หอม และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดได้อีกด้วยครับ
แหล่งที่มา
กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
https://www.facebook.com/photo/?fbid=413602444237704&set=a.264547575809859