ข่าวสาร
L73 โรคสัตว์
17 มกราคม 2565
สายพันธุ์หมูที่ต้านทานโรคอหิวาต์แอฟริกัน
สัตว์ในวงศ์ (Family) หมูนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย แอฟริกา และยุโรป (ยกเว้นสัตว์คล้ายคลึงกับหมูที่จัดอยู่ในวงศ์ Peccaries ที่มีแหล่งกำเนิดในทวีปอเมริกา)
 
 
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "โลภของหมู 19 ชนิด มีเพียง 1 ขนิดที่ไม่ต้านทานอหิวาต์แอฟริกัน หมป่าทะเลทรายแอฟริถา Phacochoerus aethiopicus หมูแม่น้ำแดงแอฟริกา Potamochoerusporcus Bushpig Potamochoerus larvatus ห Hylochoerusmeinertzhageni Potamochoerus africanus Babyrousa babyrussa Sus salvanlus หมูบ้าน/หมูป่า Susscrofa USSW บุรุษร่วม หมูป่าอินโดจีน Sus bucculentus Catagonus wagneri หมูเครา barbatus Pecari tajacu หมูกระปมฟิลิปปินส์ Suš phillippensis Sus verrucosus Tayassu pecari Sus celebensis from BolS 2007 3:153 Sus cebifrons นิเวศเภษตร Agroecology g"
 
ในแผนภาพคือชนิด (Species) ของหมู ที่มีวิวัฒนาการมาร่วมกันเกือบ 20 ชนิด ที่ยังคงพบอยู่ในโลก
โดยหมูที่เราส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่ในสปีชีส์ Sus scrofa ซึ่งประกอบไปด้วยหมูป่า (Wild boar) และหมูบ้าน (Domestic pig) โดยหมูที่เลี้ยงเป็นการค้าทั่วไปในโลกปัจจุบันก็ถูกพัฒนาโดยการปรับปรุงสายพันธุ์มาจากหมูป่านั่นเอง
อย่างไรก็ตามหมูป่าที่คนส่วนใหญ่รู้จัก เป็นคนละชนิดกับหมูป่าอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ และมีบางส่วนที่นำมาเพาะเลี้ยงเป็นอาหารหรือสัตว์เลี้ยงแต่ยังไม่แพร่หลายเท่ากับ Sus scrofa ตัวอย่างเช่น Sus bucculentus หรือหมูป่าอินโดจีนที่มีลักษณะคล้ายกันมากๆ ซึ่งบางคนอาจจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ชนิดของหมู (ไม่รวมวงศ์ peccaries) ที่ยังคงพบอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 19 ชนิด ได้แก่
Babyrousa babyrussa – โกลเด้น บาบิรูซ่า
Babyrousa celebensis – สุลาเวสี บาบิรูซ่า
Babyrousa togeanensis – โทเกียน บาบิรูซา
Hylochoerus meinertzhageni – หมูป่ายักษ์
Phacochoerus aethiopicus – หมูป่าทะเลทราย
Phacochoerus africanus – หมูป่าแอฟริกา
Porcula salvania – หมูแคระ
ตัวอ่อน Potamochoerus – Bushpig
Potamochoerus porcus – หมูแม่น้ำแดง
Sus ahoenobarbus – หมูเคราพาลาวัน (Palawan Bearded Pig)
Sus barbatus – หมูเครา
Sus bucculentus – หมูป่าอินโดจีน หรือ หมูกระปมเวียดนาม
Sus cebifrons – หมูกระปมวิสายัน (Visayan Warty Pig)
Sus celebensis – หมูเซเลเบส (Celebes Warty Pig)
Sus heureni – Flores Warty Pig
Sus oliveri – หมูมินโดโร (Mindoro Warty pig)
Sus phillippensis – หมูกระปมฟิลิปปินส์
Sus scrofa – หมูป่า/หมูบ้าน
Sus verrucosus – Javan Warty Pig
 
น่าสังเกตว่าหมูที่เป็นโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกัน (ASF) นั้นมีเฉพาะหมูป่าและหมูบ้าน ซึ่งอยู่ในสปีชีส์ Sus scrofa เท่านั้น ในขณะที่หมูชนิดอื่น ๆ กลับไม่พบการระบาด โดยที่บางชนิดพบว่าได้รับเชื้อ ASF แต่ไม่แสดงอาการใด ๆ
 
โรค ASF นั้นถูกค้นพบมานานนับ 100 ปีในทวีปแอฟริกา แต่ไม่ได้ส่งผลให้มีการระบาดอย่างกว้างขวางดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
 
การระบาดของ ASF ในหมูจึงมีสาเหตุมาจากระบบการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบันที่เกิดจากการปรับปรุงสายพันธุ์หมูจากพันธุกรรมแคบ ๆ เฉพาะ Sus crofa บางสายพันธุ์ ให้มีอัตราการแลกเนื้อสูง ๆ ใช้อาหารสัตว์เข้มข้นขุนให้มีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น เลี้ยงอย่างหนาแน่น ไม่นับการใช้ยาปฏิชีวนะนานาชนิดเพื่อป้องกันการติดโรค
 
ระบบนิเวศของการเลี้ยงหมูแบบอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นแหล่งเพาะโรคเสียเอง และเมื่อเกิดการระบาดก็ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางดังเป็นที่ทราบกันในปัจจุบัน
 
 

แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู