ข่าวสาร
F50 โครงสร้างของพืช
24 มิถุนายน 2564
กระชายพืชสมุนไพรสู้โควิด 19

กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่นำมาปรุงเป็นอาหารและรักษาและบรรเทาอาการของโรค พืชชนิดนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการบรรเทาความรุนแรงของโรคอุบัติใหม่นั้นคือ โรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19) นั้นเอง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวน 175,703,689 คน และผู้เสียชีวิต 3,803,747 คน (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2564)

มีหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาและวิจัยพืชชนิดนี้ในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในการต่อต้านหรือยับยั้งโรคโควิด 19 โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำการศึกษาสารสกัดของกระชายและสารประกอบพฤกษเคมีแพนดูราทินเอ (Panduratin A) ซึ่งพบว่าสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสในเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินหายใจของมนุษย์ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ใน Scientific Reports “High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component Panduratin A as anti-SARS-CoV-2 agents”

นอกจากการใช้ประโยชน์จากกระชายในการต้านโควิด 19 ยังมีพืชสมุนไพรชนิดอื่นที่ได้ถูกนำมาศึกษา อาทิ ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculate) ได้รับการตีพิมพ์ Journal of Natural Products สามารถเข้าไปหาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ThaiAGRIS/posts/6017616508250309 และใบยาสูบ (Nicotiana benthamiana) ตีพิมพ์ Frontiers in Plant Science ชื่อบทความ “Development of Plant-Produced Recombinant ACE2-Fc Fusion Protein as a Potential Therapeutic Agent Against SARS-CoV-2”

บรรณานุกรม

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะเภสัชศาสตร์. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร: กระชาย [ออนไลน์]. ม.ป.ป., แหล่งที่มา: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=3 [14 มิถุนายน 2564]

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด: กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพา กระชาย [ออนไลน์]. ม.ป.ป., แหล่งที่มา: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_1.htm [14 มิถุนายน 2564]

Kanjanasirirat, P., Suksatu, A., Manopwisedjaroen, S and et al. High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component Panduratin A as anti-SARS-CoV-2 agents. Sci Rep. 10, 19963 (2020). https://doi.org/10.1038/s41598-020-77003-3

Khanit Sa-ngiamsuntorn, Ampa Suksatu, Yongyut Pewkliang and et al. Anti-SARS-CoV-2 Activity of Andrographis paniculata Extract and Its Major Component Andrographolide in Human Lung Epithelial Cells and Cytotoxicity Evaluation in Major Organ Cell Representatives. Journal of Natural Products, 84(4), 1261-1270 (2021). https://doi.org/10.1021/acs.jnatprod.0c01324

Konlavat Siriwattananon, Suwimon Manopwisedjaroen, Phongthon Kanjanasirirat and et al. Development of Plant-Produced Recombinant ACE2-Fc Fusion Protein as a Potential Therapeutic Agent Against SARS-CoV-2. Front. Plant Sci. (2021). https://doi.org/10.3389/fpls.2020.604663

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [online]. 2564, source: https://covid19.who.int/ [14 มิถุนายน 2564]


แหล่งที่มา

ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ (Thai National AGRIS Centre)
https://www.facebook.com/ThaiAGRIS/photos/a.533229856689029/6021270081218285/
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู