ข่าวสาร
N01 วิศวกรรมเกษตร
18 มิถุนายน 2564
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เปิดตัวหุบเขาแห่งนวัตกรรมอาหาร (Food Tech Valley)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เปิดตัวหุบเขาแห่งนวัตกรรมอาหาร (Food Tech Valley) เป็นประเทศทะเลทรายที่ผลิตอาหารชั้นแนวหน้า หมดยุคดินดำน้ำชุ่ม และในน้ำมีปลาในนามีข้าว เมื่อประเทศในทะเลทรายประกาศตัวจะเป็นประเทศเกษตรอาหาร ซึ่งในยุคนี้ขอให้มีความตั้งใจและมีเงินทุนก็ทำได้ไม่ยากครับ ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ สิงคโปร์ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นประเทศที่มีสตาร์ทอัพในเรื่องเทคโนโลยีอาหารมากที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย กลายเป็นฮับนวัตกรรมอาหาร

อาจเป็นรูปภาพของ กลางแจ้ง

เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ยูเออีได้เปิดตัว เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ (Economic Zone) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารที่สะอาด เป็นศูนย์บ่มเพาะนักวิจัย ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเมืองสมัยใหม่แบบบูรณาการ (Smart Farming City) จะมีการผลิตพืชผลมากกว่า 300 ชนิด โดยใช้เทคนิคการทำฟาร์มที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการแปรรูปอาหาร มีการใช้เทคนิคทำฟาร์มสมัยใหม่ เช่น การทำฟาร์มในแนวตั้ง (Vertical Farming) การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ (Aquaculture) และการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) เพื่อสร้างความมั่นคงในการผลิตอาหารพืชผักสด และลดการสูญเสียทรัพยากร

สำหรับโครงการ Food Tech Valley ประกอบด้วย 4 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่
1️. กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตรและวิศวกรรม จะมีฟาร์มแนวตั้งปลูกพืชที่สำคัญตลอดทั้งปี มีการวิจัยพัฒนาเรื่องนวัตกรรมด้านชีววิศวกรรม (Bioengineering) ระบบควบคุมอัตโนมัติในการดูแลพืช (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
2️. ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีธุรกิจเกษตร ช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ มีโรงงานเฉพาะทางผลิตอาหารชนิดใหม่ การบริการธุรกิจร้านอาหารแบบยั่งยืนและพอเพียง
3️. ศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ระดับโลก ศึกษาการใช้ AI ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดการพืชผลทางการเกษตร และตรวจจับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาการทำการเกษตรจากการกลั่นน้ำทะเล การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทำการเกษตร โภชนพันธุศาสตร์ หรือ Nutritional Genomics เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการ สมรรถภาพร่างกายและพันธุกรรม ทำให้ทราบถึงความต้องการสารอาหารที่จำเป็น เป็นต้น
4️. ศูนย์กลางโลจิสติกส์อัจฉริยะ จะมีระบบจัดเก็บอาหารที่ให้บริการจัดเก็บแบบอัตโนมัติ ควบคุมด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บอาหาร และใช้เทคโนโลยี Big Data มาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการขนส่ง สามารถติดตามคุณภาพอาหาร แหล่งกําเนิดอาหารและส่วนประกอบ การเก็บรักษา การส่งมอบ เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร


แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู