ข่าวสาร
L60 อนุกรมวิธานสัตว์
27 ตุลาคม 2563
คณะนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ค้นพบแมลงชนิดใหม่ในไทย จัดอยู่ในวงศ์ใหม่ในสกุลแมลงตีฉาบ

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ นางสาวชนาพรสุทธินันท์ นิสิตระดับปริญญาเอก และ รศ.ดร.บุญเสฐียร บุญสูง (อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ Dr. Jean-LucGattolliat สังกัด Museum of Zoology เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส (อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม) ได้ค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คือ แมลงชีปะขาวเข็ม Cymbalcloeon sartorii ที่ลำธารห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และลำธารต้นน้ำเลย อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย นับเป็นการค้นพบครั้งแรกและพบเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC-PG4-161004) และโครงการทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ รศ.ดร.บุญเสฐียร บุญสูง และ Dr. Jean-LucGattolliat สังกัด Museum of Zoology เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส

สำหรับลักษณะทั่วไปของแมลงชีปะขาว ชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิด และลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นสกุลใหม่นี้จัดอยู่ในวงศ์ Baetidae มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันอย่างเห็นได้ชัดคือ มีแผ่นเหงือกคล้ายรูปหัวใจปล้องท้องที่ 5-7 เท่านั้นและคลุมไปด้านท้องถึงปล้องที่ 9 นอกจากนี้ยังมีลักษณะโครงสร้างปาก เช่น รูปร่างริมฝีปากล่าง แตกต่างชัดเจน โดยมีลักษณะที่จัดอยู่ในกลุ่มAnteropatellata ของวงศ์ Baetidae มีความใกล้เคียงกับสกุล Baetopus อย่างไรก็ตามลักษณะรูปร่างตัว พฤติกรรม และตุ่มอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้คล้ายกับสกุล Cloeon การโบกเหงือกทั้ง 3 คู่ของตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่มีลักษณะเฉพาะจึงนำมาตั้งชื่อสกุล คือ Cymbalcloeon คล้ายกับการตีฉาบ มีอัตราการโบกเหงือกเร็วเฉลี่ยประมาณ 12 ครั้งต่อวินาที ซึ่งช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊ส แมลงชีปะขาวสกุลใหม่พบครั้งแรกและพบเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น โดยมี ชื่อสามัญทั่วไปวงศ์นี้ว่า แมลงชีปะขาวเข็มเนื่องจากลำตัวยาวเรียวและมีขนาดเล็กกว่าแมลงชีปะขาววงศ์อื่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ของแมลงชีปะขาวเข็มสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คือ Cymbalcloeon sartoriiSuttinun, Gattolliat & Boonsoong, 2020 โดย Specific epithet ตั้งชื่อเป็นเกียรติกับ Dr. Michel Sartori ผู้เชี่ยวชาญแมลงชีปะขาวระดับโลก


แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู