ถาม-ตอบ
อารักขาพืช
ถามเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ผมจะปลูกคะน้า และผักปวยเล้งมีนา-เมษานี้ จะต้องระวังโรคหรือศัตรูพืชอะไรบ้างครับ

ตอบ คุณ น้าทอง สวนธรรมจัย โรคและแมลงของปวยเล้งที่สำคัญ ได้แก่ 1. แมลงศัตรูพืช ได้แก่ - หนอนกระทู้ดำ (Black cusworm) พบในช่วงฤดูร้อน สังเกตจากลำต้นล้ม เหี่ยว - เพลี้ยอ่อน พบตลอดปี และพบมากช่วงฤดูร้อน เพลี้ยอ่อนจะอยู่ตามใต้ใบและยอด ทำให้ใบหงิก - เพลี้ยไฟ พบช่วงฤดูร้อน สังเกตจากใบมีรอยหยาบสีน้ำตาลและหงิก - หนอนคืบกินใบ พบได้ตลอดปี 2. โรค ได้แก่ -โรคโคนเน่า เกิดจากการทำลายของเชื้อราในดิน สังเกตดูต้นผักจะหักล้มตายเป็นหย่อมๆ บริเวณที่เกิดโคนเน่า -โรคใบจุด พบในช่วงที่มีอากาศเย็น เกิดจากเชื้อรา Septoria sp. แผลสีน้ำตาลและมีตุ่มเล็กๆสีดำบริเวณแผล -โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Cercospora sp. อาจพบได้ทุกฤดูกาล ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาล ตรงกลางแผลเป็นสีเทา ระบาดมากในฤดูฝน -โรคราน้ำค้าง อาการเป็นแผลสีเหลือง หรือสีน้ำตาลบนใบ ใต้ใบมีสปอร์สีขาวหรือเทา 3. ไส้เดือนฝอย พบได้ทั้งปีในบางพื้นที่ สังเกตุจากต้นแคระแกร็นและมีปมที่ราก การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้ 1. ใบจุด - ใบจะเป็นจุดสีดำ รอบๆ แผลจะเป็นสีเหลือง เมื่อเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น แผลจะขยาย ( Leaf spot ) ติดกัน เกิดใบไหม้แห้งกรอบ ป้องกันโดยใช้ เทนเอ็ม + บาวีซาน อย่างละ 2 ช้อน / น้ำ 1 ปี๊บ 2. ราน้ำค้าง - บนใบจะเป็นพื้นสีเหลือง ใต้ใบจะเป็นเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก ป้องกันโดยใช้ โนมิลดิว ( Downy mildew ) + เทนเอ็ม อย่างละ 2 ช้อน ฉีดพ่น หากระบาดรุนแรงใช้ ลอนมิเนต อัตรา 1-2 ช้อน 3. โรคเน่าเละ - เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เนื้อเยื่อพืชจะยุบตัวลง แผลจะมีสีน้ำตาลอ่อน เปียกและชื้นเป็น ( Soft rot ) เมือกไหลเยิ้ม มีกลิ่นเหม็นป้องกันโดยหากพบอาการเริ่มแรกฉีดพ่นด้วย นูริช 40 ซีซี. + โคไซด์ 3 ช้อน หากรุนแรงไม่สามารถป้องกันได้ 4. โรคโคนเน่า หรือ - จะพบมากในช่วงเริ่มแตกกอเป็นต้นไป ใบที่อยู่ล่างๆ จะเหลืองและเหี่ยว ที่โคนต้นจะ โรคราเมล็ดผักกาด เป็นรอยสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ และจะพบเมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ด ( Sclerotinia rot ) ผักกาดติดอยู่บริเวณโคนต้น หากพบใช้โนมิลดิว 3 ช้อน/ปี๊บ ฉีด หรือใช้สารสกัด จุลินทรีย์พวกบาซิลัส ซับทิลิส และพวกไตรโคเดอม่า ฉีดพ่นและรดโคนต้น ทั้งนี้ปวยเล้งจะเจริญได้ดีในช่วงอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15-21 องศาเซลเซียส และต้องการความชื้นที่พอเหมาะสม โดยถ้าปลูกในพื้นที่สูงกว่า 1,200 เมตร สามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนโรคและแมลงศัตรูพืชของคะน้า ได้แก่ โรคเน่าคอดินของคะน้า เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในแปลงต้นกล้าเท่านั้น เนื่องจากการหว่านเมล็ดที่แน่นทึบ อับลม และต้นเบียดกันมาก ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคแล้วต้นกล้าจะเกิดอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายกว้างออกไปเป็นวงกลม ภายในวงกลมที่ขยายออกไปจะไม่มีต้นกล้าเหลืออยู่เลย ส่วนกล้าที่โตแล้วจะค่อยๆ เหี่ยวตายไป การป้องกันกำจัดโรคเน่าคอดินของคะน้า ไม่ควรหว่านเมล็ดคะน้าให้แน่นเกินไป ควรตากดินเพื่อกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงก่อนลงปลูกจะได้ผลดียิ่งขึ้น อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลงขณะเป็นต้นกล้า หรือยกแปลงนูนสูงเพื่อให้ระบายน้ำให้เร็วด้วย โรคราน้ำค้างของคะน้า ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ ตรงจุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้ต้นคะน้าตาย แต่ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง ทำให้ได้น้ำหนักน้อยลง การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างของคะน้า ในตอนเช้าควรรดน้ำใบต้นคะน้าเพื่อชะล้างน้ำค้างต้นเหตุให้เกิดราน้ำค้างคะน้า โรคแผลวงกลมสีน้ำตาลไหม้ ใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของลำต้นจะเป็นโรคนี้มาก ใบที่เป็นโรคจะมีแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองขนาดของแผลมีทั้งใหญ่และเล็ก บนแผลมักจะมีเชื้อราขึ้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดำ เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย การป้องกันกำจัดโรคแผลวงกลมสีน้ำตาลไหม้ การป้องกันก็คือในตอนเช้าให้รดน้ำชะล้างเชื้อราต่างๆ แต่ไม่ควรให้ชุ่มมากเพราะรากจะเน่าได้ และควรเด็ดใบที่มีแผลทิ้งออกห่างจากแปลงปลูก หนอนกระทู้ผัก ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลเข้ม มีลวดลายเต็มปีก ส่วนปีกคู่หลังสีขาวและบาง ลำตัวมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่ ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มๆ ตัวเมียวางไข่ได้ประมาณ 200-300 ฟอง หนอนจะกัดกินใบและก้านใบของคะน้า มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่ายคือ ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่างๆ กัน มีแถบสีขาวข้างลำตัวแต่ไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 3-4 เซนติเมตรเคลื่อนไหวช้า การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ผัก หมั่นตรวจดูสวนผักบ่อยๆ เมื่อพบหนอนกระทู้ฟักให้ทำลายไข่ ตัวหนอน หรือใบหรือต้นที่เจอหนอนนั้นเสีย เพราะอาจมีไข่หนอนอยู่รอบๆ บริเวณนั้น หนอนคืบกะหล่ำ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง หนอนคืบกะหล่ำเป็นหนอนที่กินจุ เข้าทำลายคะน้าในระยะที่เป็นตัวหนอน โดยจะกัดกินเนื้อใบจนขาดและมักจะเหลือเส้นใบไว้หนอนชนิดนี้เมื่อเกิดระบาดแล้วจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมาก การป้องกันกำจัดหนอนคืบกะหล่ำ ตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็กๆ หากพบให้กำจัดเสียหรือถอนต้นกำจัดเสีย


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู