ถาม-ตอบ
อารักขาพืช
ถามเมื่อ 12 ธันวาคม 2562
ขอความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่งและการควบคุมทรงพุ่มครับ ผมเพิ่งเริ่มทำสวนมังคุดได้ 2 -3 ปี มีต้นเก่าติดที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-15 นิ้ว สูง 10-15 ม. มีกิ่งจำนวนมากและโค้งลง หลายกิ่งก็แตกด้านบนเนื่องจากคนงานปีนขึ้นไปเก็บ และทรงพุ่มทึบมาก มีตะไคร่เกาะที่ลำต้นและใบหนามาก สิ่งที่ทำไปแล้วคือ - ตัดกิ่งหลักด้านล่างออกเพื่อให้สามารถเดินเข้าไปที่โคนต้นได้สะดวก - ตัดกิ่งหลักที่ซ้อนทับกัน 5-10 กิ่ง - ตัดยอดให้ต้นเตี้ยลง - ตัดริดกิ่งแขนงด้านในที่รกออกให้เหลือเฉพาะกิ่งแขนงด้านปลายกิ่งหลัก - ริดกิ่งแขนงด้านบนออกทั้งหมด ผลก็คือ ลักษณะกิ่งหลักจะมีรูปร่างคล้ายกระบวยตักน้ำแปะติดกับลำต้น มีแสงแดดส่องเข้ามาที่ในทรงพุ่มได้พอสมควร ใบเริ่มจะเริ่มไม่มีตะไคร่มาเกาะ คำถามที่ 1 อยากถามว่า การตัดแต่งกิ่งที่ทำไปแล้ว ทำได้ถูกต้องหรือไม่ ตัดมากเกินไป หรือน้อยเกินไปหรือไม่ มีอะไรที่ต้องทำเพิ่มเติมอีกหรือไม่ คำถามที่ 2 อยากถามว่า ใบมังคุด ในกรณีที่ แสงส่องลงมาเต็มใบ เข้าใจว่าใบมังคุดสามารถสังเคราะห์แสงได้แน่นอน แต่ในกรณีที่แสงแดดส่องลงมาโดนแค่ครึ่งใบ หรือแค่บางส่วน ของใบ ใบมังคุดใบนั้นจะสังเคราะห์แสงได้ตามส่วนที่โดนแสง หรือไม่ได้เลย คำถามที่ 3 ผมฉีดไทโอยูเรียผสมกับยูเรียบางส่วน เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนในเดือนสิงหาคม-กันยายน เพื่อให้บริหารจัดการหนอนแมลงได้ง่าย แต่เพื่อนชาวสวนบอกว่า การฉีดพ่นไทโอยูเรียหรือยูเรีย จะทำให้กิ่งกรอบหักง่าย ข้อมูลนี้จริงหรือไม่ครับ มีคำถามที่ 4 ครับ ผมเห็นเพื่อนชาวสวนขูดตะไคร่ที่อาศัยอยู่ที่ลำต้นมังคุดจนสะอาดเกลี้ยงเกลา อยากถามว่า มีความจำเป็นต้องทำหรือไม่ครับ ถ้าไม่ทำได้ก็จะประหยัดต้นทุนแรงงานครับ

ตอบคำถามคุณ Worapot สำหรับคำถามข้อที่ 1-3 ได้สอบถามไปทาง รศ.ดร. รวี เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพืชสวน ท่านตอบมาเป็นเสียงดังไฟล์แนบด้านล่างนี้นะคะ ส่วนข้อที่ 4 มีความจำเป็น เพราะจะเห็นได้ว่าเมื่อตะไคร่เกาะแสดงว่ามีความชื้นค่อนข้างสูง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของใบแล้ว ยังทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อรา ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิตมังคุดด้วยค่ะ แต่วิธีการคือพ่นป้องกันด้วย Copper oxychloride ที่มีสารจับใบประสิทธิภาพสูง และควรพ่นก่อนการระบาด


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู