ถาม-ตอบ
ถามเมื่อ 1 มกราคม 2562
โรคไวรัสมะละกอมีวิธีป้องกันและเเก้ไขอย่างไรบ้างครับ

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ทำความสะอาด กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบๆ แปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เป็นโรคให้รีบขุดถอนนำไปเผาทำลายนอกแปลงทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง การปลูกในฤดูถัดไป สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรคใกล้แปลงปลูกมะละกอที่เป็นโรค อาทิ พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว ตำลึง หงอนไก่ ลำโพง และบานไม่รู้โรย เกษตรกรควรเปลี่ยนมาปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นแทน เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ (Papaya ringspot virus-type P) ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่การป้องกันทำได้โดยการกำจัดเพลี้ยอ่อนที่เป็นพาหะของโรค หากพบเพลี้ยอ่อนให้พ่นด้วย อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิลยูจี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิลยูจี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ข้อมูลเพิ่มเติม โรคจุดวงแหวนมะละกอ หรือ Papaya ring spot (PRSV-P) เชื้อสาเหตุคือ Papaya ringspot virus-type P ลักษณะอาการ : ใบด่างเหลือง หรือใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กลง บิดเบี้ยว เนื้อใบหดหายจนเหลือแต่เส้นใบ ทำให้มีลักษณะเป็นเส้นบนก้านใบ และลำต้นมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ หรือเป็นทางยาวสีเขียวเข้ม ต้นแคระแกร็น ใบแก่ร่วงหมดจนเหลือแต่ใบยอด ผิวของผลมะละกอเกิดแผลจุดกลมเป็นวงซ้อนๆ กันกระจายทั่วทั้งผล มะละกอที่รับเชื้อตั้งแต่ระยะยังเป็นต้นอ่อนมักไม่ติดผล ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย : ใบ, กิ่งก้าน, ลำต้น, ดอก, ผล พาหะนำโรค : เพลี้ยอ่อน ได้แก่ เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii Glov.), เพลี้ยอ่อนถั่ว (A. craccivora Koch.) พืชอาศัย : มะละกอ : papaya (Carica papaya) และพืชตระกูลแตง : (Cucurbita spp.)


คำถามแนะนำสำหรับคุณ

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู