ข่าวสาร
J11 โลจิสติกส์ผลิตผลจากพืช
28 มิถุนายน 2565
ฟิล์มแครอท นวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารรับประทานได้
กรมวิชาการเกษตร ปั๊มนวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารรับประทานได้ วิจัยพบแครอทมีคุณสมบัติครบตอบโจทย์บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปิ๊งไอเดียผลิตเป็นฟิล์มห่อลูกอมและผลไม้กวน ประโยชน์หลายเด้ง ทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตผลทางการเกษตร ลดปัญหาขยะพลาสติก พร้อมตอบเทรนด์สุขภาพฟิล์มแครอท 1 แผ่นมีสารเบต้าแคโรทีนสูงกว่า 3,000 ไมโครกรัม
 
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดการวิจัยหาวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้เพื่อพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับห่อหุ้มอาหาร โดย กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการคัดเลือกวัตถุดิบซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ กะหล่ำปลีสีม่วง มะเขือเทศ มะม่วง และแครอท
 
 
โดยนำมาทดลองเพื่อค้นหาคุณสมบัติของผักและผลไม้ดังกล่าวที่มีลักษณะปรากฏใกล้เคียงกับฟิล์มห่อหุ้มอาหารปกติมากที่สุด และสามารถพัฒนาผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสำหรับห่อหุ้มอาหารที่รับประทานได้ด้วย ซึ่งผลจากการทดลองพบว่าแครอทเป็นพืชที่มีลักษณะปรากฏเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาวิจัยต่อยอดเป็นฟิล์มที่สามารถบริโภคได้
 
ฟิล์มจากแครอทที่พัฒนาขึ้นนี้มีความต้านทานการซึมผ่านก๊าซออกซิเจนอยู่ในระดับที่ดี จึงนำมาประยุกต์เป็นฟิล์มห่อผลิตภัณฑ์ เช่น ลูกอม และผลไม้กวน นอกจากนี้ฟิล์มแครอทยังมีคุณค่าทางทางโภชนาการและช่วยต้านการเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาออกซิเดชัน เนื่องจากฟิล์มแครอท 1 แผ่นมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 3,465 ไมโครกรัม โดยฟิล์มแครอทนี้มีอายุการใช้งานได้นานประมาณ 2 เดือน
 
ที่สำคัญงานวิจัยนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตผลทางการเกษตร ทำให้เกิดการใช้ผลิตผลทางด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ฟิล์มห่อหุ้มอาหารที่ทำจากแครอทยังมีส่วนช่วยเสริมคุณค่าทางโภชนาการเป็นการตอบ เทรนด์ด้านสุขภาพได้อีกด้วย ซึ่งคณะผู้วิจัยเตรียมที่จะนำผลงานวิจัยฟิล์มแครอทบรรจุภัณฑ์รับประทานได้ไปจดอนุสิทธิบัตรแล้ว

แหล่งที่มา

© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู