ข่าวสาร
P06 พลังงานทดแทน
30 กันยายน 2563
มะเยาหิน ...พืชในมุมมองใหม่ ให้พลังงานทดแทน นอกเหนือจากสบู่ดำและปาล์มน้ำมัน

มะเยาหิน เป็นพืชในมุมมองใหม่ของพืชที่ให้พลังงานทดแทน นอกเหนือจากสบู่ดำและปาล์มน้ำมัน ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ  ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ข้อมูลว่ามีพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีการนำเข้ามาจากทางเหนือของประเทศลาว เรียกว่า “มะเยาหิน” มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน จึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า china wood oil หรือ kalo Nut tree จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า พืชชนิดนี้มีปลูกกันพอสมควรในลาว มีผลผลิตปีละ 200-300 ตัน โดยส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศเวียดนาม จากการนำตัวอย่างน้ำมันที่ได้ส่งไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางเชื้อเพลิงที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) พบว่า ค่าความร้อนใกล้เคียงกับสบู่ดำและปาล์มน้ำมัน

คณะวิจัยได้นำเข้ามะเยาหินมาปลูกในประเทศไทย ในปี  2551 ด้วยความร่วมมือของ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้  และสหกรณ์พืชพลังงานทดแทน ประมาณ  100 ไร่ และปลูกกระจายในภาคเหนือไม่ต่ำกว่า 500  ไร่ ปัจจุบันแปลงที่มีอายุสูงที่สุดประมาณ 2-3 ปี และให้เริ่มให้ผลผลิตในปีแรกแล้ว จากการสำรวจผลผลิตในประเทศลาวพบว่า ให้ผลผลิตสูงประมาณ  800-1,200 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า พืชชนิดนี้ นอกจากเมล็ดจะนำมาหีบน้ำมันแล้ว ยังมีร่มเงา และดอกที่สวยงาม และใบไม่ร่วงในฤดูหนาวเหมือนสบู่ดำ การตัดแต่งกิ่งยังสามารถใช้เป็นชีวมวลได้อีก และยังเป็นไปได้ที่จะปลูกเพื่อขายคาร์บอนเครดิต

ต่อมาในปี  2553 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยโครงการวิจัยประเภททุนวิจัยนวมินทร์ ด้านพลังงานทดแทน ได้สนับสนุนวิจัยให้ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินโครงการ “การศึกษาศักยภาพ ในการปลูกมะเยาหินเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมแบบครบวงจรและการส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลด้วยเทคนิคไมโครเวฟ/อตราโซนิค”

จากการศึกษาพบว่า มะเยาหินมีผลผลิตที่สูงกว่าสบู่ดำ เมล็ดสามารถนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันดีเซล และสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำยาเคลือบไม้ (แล็คเกอร์) กิ่งก้านให้ร่มเงา และยังสามารถใช้เป็นชีวมวล ระบบรากสามารถอุ้มน้ำได้ดี เปลือกหุ้มเมล็ดสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ได้ มีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมในการปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินน้ำ และใช้พัฒนาเป็นเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือนหรือชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการศึกษาศักยภาพในการปลูกมะเยาหิน เพื่อควบคุมอุณหภูมิแวดล้อมแบบครบวงจร และการผลิตไบโอดีเซลด้วยเทคนิคไมโครเวฟ/อัลตราโซนิค  ซึ่งในการศึกษาโครงการวิจัยนี้ได้สรุปรายละเอียดผลการศึกษาดังต่อไปนี้ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_159929


แหล่งที่มา

เทคโนโลยีชาวบ้าน
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_159929
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู