แจ้งเตือนทุกหมวดหมู่

แสดง 1 - 20 จาก 125
หน้า
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ
    วันที่ 28 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    ระวังโรคผลเน่าในสละ
    สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนชื้น ฝนตกบางแห่ง เตือนผู้ปลูกสละในระยะออกดอกและติดผล รับมือโรคผลเน่า เปลือกของผลสละจะมีสีน้ำตาล ถ้าความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวหรือขาวอมชมพูของเชื้อราเกิดขึ้น เส้นใยจะแทงทะลุเปลือกเข้าไปในผล ทำให้เปลือกเปราะ แตก เนื้อสละด้านในเน่า ผลร่วง เมื่อเชื้อราเจริญเต็มที่เส้นใยจะสร้างดอกเห็ดสีขาว เมื่อดอกบานจะปลดปล่อยสปอร์แพร่ระบาดไปสู่ผลทะลายอื่น ๆ ได้
    แนวทางป้องกันกำจัด
    1. ควรตัดแต่งทางใบที่แก่หมดสภาพ โดยเฉพาะทางใบที่อยู่ด้านล่างๆ ให้มีการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้มีความชื้นสะสมใต้ทรงพุ่มมากเกินไป
    2. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ เก็บผลที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลาย เก็บเผาทำลายเศษซากพืชและผลเป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสม
    3. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้ ไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล+ ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสาร 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อนเก็บเกี่ยวผลสละ 2 เดือน ครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก 7 วัน

    อ่านต่อ
    วันที่ 28 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    ทรัพยากรน้ำ
    เตือน เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง ช่วงวันที่ 26-31 มีนาคม 2567

    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือน เฝ้าระวัง!!! ผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง ช่วงวันที่ 26-31 มีนาคม 2567

    สทนช. ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง เนื่องจากเขื่อนจิ่งหง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) มีการระบายน้ำเพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์จะส่งผลทำให้ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ในช่วงวันที่ 26-31 มีนาคม 2567 จึงขอให้เฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากระดับน้ำเพิ่มขึ้น ดังนี้
    • บริเวณสถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทันที ประมาณ 0.5 – 0.7 ม. ในช่วงวันที่ 26-27 มีนาคม 2567
    • บริเวณสถานีเชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.3 – 0.5 ม. ในช่วงวันที่ 27-28 มีนาคม 2567
    • ตั้งแต่บริเวณสถานีหนองคาย จ.หนองคาย จนถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.3 – 0.5 ม. ในช่วงวันที่ 29-31 มีนาคม 2567


    อ่านต่อ
    วันที่ 25 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    เตือนภัยเพลี้ยไฟในมะกรูด

    ภาพถ่ายโดย JodMar

     
    สภาพอากาศที่ฝนตกบางพื้นที่ อากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรผู้ปลูกมะกรูดในทุกระยะการเติบโต เฝ้าระวังเพลี้ยไฟศัตรูตัวร้ายของมังคุด
    ลักษณะของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดที่มีลักษณะเล็กมาก มีรูปร่างเรียว ลำตัวยาวประมาณเพียง 2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนจะไม่มีปีก ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนออกไปทางเหลือง ส่วนตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลดำ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเคลื่อนที่ได้เร็วมาก ทำให้สังเกตได้ยาก
    ลักษณะของมะกรูดเมื่อถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟ
    1. ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด
    2. เพลี้ยไฟเข้าทำลายตั้งแต่มะกรูดติดผล ภายหลังกลีบดอกร่วงหมด เกิดเป็นรอยแผลบนผิวของมะกรูดเป็นทางสีเทาเงิน
    3. ระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ และใบไหม้
    วิธีป้องกันเพลี้ยไฟ
    1. สำรวจและหมั่นตรวจสอบต้นมะกรูดและสวนเป็นประจำ
    2. หากพบเจอต้นที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายจนทรุดโทรม ให้รีบทำลายทิ้งเพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไฟ

    อ่านต่อ
    วันที่ 14 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
    วันที่ 14 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    เตือนภัยการเกษตร : เพลี้ยไฟ (Thrips) ในทุเรียน

    สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน เตือนผู้ปลูกทุเรียนในระยะออกดอก ติดผล รับมือการระบาดของเพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช ในช่วงใบอ่อนหรือยอดอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ เมื่อพืชโตขึ้นก็จะถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบ ใบโค้ง แห้งหงิกงอ และไหม้

    การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแคระแกร็น ร่วงได้และในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิดอาการปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และเคระแกร็น

     

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 13 มีนาคม 2567
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    เตือนภัยการเกษตร : โรคไหม้ข้าว🌾
     
    โรคไหม้ข้าว
    🌾ระยะกล้า
    - ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล หากพบการระบาดของโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
    🌾ระยะแตกกอ
    - พบอาการได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า ใบจะมีลักษณะแผผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
    🌾ระยะออกรวง
    - หากพบเชื้อราเข้าทำลายในช่วงข้าวเริ่มออกรวง เมล็ดจะลีบ หากพบเชื้อราเข้าทำลายระยะใกล้เก็บเกี่ยว จะพบรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
     
     
     

    อ่านต่อ
    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    เตือนพี่น้องชาวนา​ ระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

    เตือนพี่น้องชาวนา​ อากาศเริ่มเปลี่ยน เตือนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลit[kfในนาข้าว หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างใกล้ชิด🌾🦗


    อ่านต่อ
    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    ระวังเพลี้ยไฟพริกในมะม่วง
    สภาพอากาศในช่วงนี้ มีแดดแรงในตอนกลางวัน เตือนผู้ปลูกมะม่วงในระยะใบอ่อน-แทงช่อดอก รับมือเพลี้ยไฟพริก ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อ และดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก การทำลายในระยะติดดอกจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล หรือทำให้ติดผลน้อย ส่วนอาการที่ปรากฏบนยอดอ่อนจะทำให้ใบที่แตกใหม่ แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับใบที่ขนาดโตแล้ว เพลี้ยไฟมักลงทำลายบริเวณใบอ่อนโดยเฉพาะหลังใบทำให้ใบม้วนงอ และปลายใบไหม้ ถ้าเป็นการทำลายที่ยอดจะรุนแรง ทำให้ยอดแห้งไม่แทงช่อใบ หรือช่อดอก
    แนวทางป้องกันกำจัด
    1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช
    2. การพ่นสารฆ่าแมลง ควรพ่นระยะติดดอกอย่างน้อย ๒ ครั้ง คือ ระยะเริ่มแทงช่อดอกและระยะเริ่มติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร) ถ้าหากพบเพลี้ยไฟระบาดรุนแรงให้พ่นซ้ำในระยะก่อนดอกบาน
    3. สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่แนะนำ คือ สไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออะบาเมกติน 1.8% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซแอนทรานิลิโพรล 10% โอดี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
    * ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้

    อ่านต่อ
    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    ความผิดปกติของพืช
    เตือนภัยการเกษตร ข้าวเมาตอซัง

    สาเหตุ H2S
    - เกิดจากการสะสมของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่าในดิน จากการย่อยสลายตอซังที่ไม่สมบูรณ์
    อาการ
    - เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่าง ๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล
    - จะพบเมื่อการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารซัลไฟด์ ไปทำลายรากข้าวทำให้เกิดอาการรากเน่าดำ รากไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน
    - ปัญหานี้มักเกิดจากการที่เกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการพักนา
    การป้องกันกำจัด
    - ระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
    - หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
    - ไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ


    อ่านต่อ
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    อุตุนิยมวิทยา
    คาดหมายฤดูร้อน ปี 2567 เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    โรคพืช
    ร้อนปนฝนให้ระวังโรคผลเน่าในทุเรียน
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    ระวังแมลงหวี่ขาวยาสูบในกะเพรา โหระพา แมงลัก
    สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกกะเพรา โหระพา แมงลัก ในระยะเก็บเกี่ยวรับมือแมลงหวี่ขาวยาสูบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ มักพบบริเวณหลังใบ ส่วนกลางของลำต้น นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ที่ให้เกิดโรคด่างเหลือง
    แนวทางป้องกัน/แก้ไข
    1. หมั่นสำรวจแปลงปลูก โดยเดินสำรวจแบบสลับฟันปลา สัปดาห์ละครั้ง
    2. ถ้าพบตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบมากกว่า 2 ตัวต่อใบ พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ซัลฟอกซาฟลอร์ 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพมีโทรซีน 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วเมื่อพบการระบาด
     

    อ่านต่อ
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    ศัตรูพืช
    ระวังหนอนกระทู้ผักและด้วงหมัดผักบุกพืชผักตระกูลกะหล่ำ

    ช่วงนี้สภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม ขอให้เฝ้าระวังการเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก

    ตัวอ่อนด้วงหมัดผักจะกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมากๆอาจจะทำให้พืชผักตายได้ โดยตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย

    วิธีลดการระบาดของด้วงหมัดผักให้ใช้วิธีเขตกรรม โดยไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน ใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ และพ่นทุก 7 วันหลังปลูก ใช้สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรฟีโนฟอส 50% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

    นอกจากด้วงหมัดผักแล้วยังต้องเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผัก โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่มในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ การเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ และมักแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดปี

    การป้องกันกำจัดให้ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้และลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์ของหนอนกระทู้ผัก และใช้วิธีกลโดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายซึ่งจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC) พ่นทุก 3-5 วัน เมื่อพบการระบาด หากมีการระบาดรุนแรงให้พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง

     

    หลังจากนั้นพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดปริมาณการระบาดใช้ชีวภัณฑ์เอ็นพีวีหนอนกระทู้ผัก อัตรา 40-50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็กจะให้ผลในการควบคุมได้รวดเร็วกรณีหนอนระบาดรุนแรงพ่นอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน

    หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพตามคำแนะนำ เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด


    อ่านต่อ
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • แจ้งเตือน
    การระบายน้ำ
    เสี่ยง! หากทำนาปรังรอบ 2 กรมชลประทาน วอนเกี่ยวข้าวแล้วพักก่อน

    กรมชลประทานจำเป็นต้องปรับการจัดสรรน้ำเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต จากนั้นจะพิจารณาปรับลดการระบายน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ จึงขอความร่วมมือเกษตรกร ไม่เพาะปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย และอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำโดยรวม

     


    อ่านต่อ
    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567
แสดง 1 - 20 จาก 125
หน้า
© 2017-2018 Office of the University Library, Kasetsart University.
forumถามกูรู